เนื้อหาโดย : โดดเด่นดอทคอม
มะแว้งต้น หรือ มะแคว้ง, มะแคว้งขม, มะแคว้งคม, มะแคว้งดำ (ภาคเหนือ) แว้งคม (สงขลา, สุราษฎร์ธานี) สะกั้งแค (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) หมากแฮ้งคง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) เป็นพืชไม้พุ่ม สูง 1-1.5 เมตร ลำต้นมีขนนุ่ม ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปไข่หรือรูปขอบขนาน กว้าง 4-10 ซม. ยาว 6-12 ซม. ขอบใบเว้า ผิวใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน หลังใบสีเขียว ท้องใบสีเทา ดอกช่อ ออกตามกิ่งหรือที่ซอกใบ ดอกย่อยมีกลีบรอง กลีบดอกโคนกลีบติดกัน ปลายแยกออกเป็น 5 แฉก กลีบดอกสีม่วง ผลเป็นผลสด รูปกลม ผลดิบสีเขียวอ่อน ไม่มีลาย เมื่อสุกจะมีสีส้ม
มะแว้ง ในต้นตำราไทยใช้ผลสดแก้ไอขับเสมหะ รักษาเบาหวาน ขับปัสสาวะ มีการทดลองในสัตว์ พบว่าน้ำสกัดผลมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด แต่มีฤทธิ์น้อยและระยะเวลาการออกฤทธิ์สั้น มะแว้งต้นเป็นส่วนผสมหลัก ในยาประสะมะแว้ง ซึ่งองค์การเภสัชกรรมผลิตขึ้นตามยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ ใช้เป็นน้ำกระสายยา กวาดแก้ไอ ขับเสมหะ รับประทาน เคี้ยว แล้วกลืนทั้งน้ำและเนื้อ รับประทานบ่อยๆ แก้ไอและโรคหอบหืด
ผล นิยมรับประทานเป็นอาหารกับน้ำพริก แต่นิยมน้อยกว่ามะแว้งเครือ ลูกมะแว้งต้นมีวิตามินเอ ค่อนข้างสูง ชาวกะเหรี่ยงมักนำผลมาใส่ในแกงหรือน้ำพริก
สรรพคุณทั้งต้น
ประโชนย์ของมะแว้ง
พืชสมุนไพรพื้นบ้านของไทย เป็นยาชั้นยอด จะเห็นได้ว่า “มะแว้ง” นั้น มีสรรพคุณตั้งแต่รากไปจนถึงดอกและผล ที่สำคัญ “มะแว้ง” ยังไม่มีผลอันตรายข้างเคียงต่อร่างกาย ทุกคนสามารถรับประทานได้ ยกเว้นแต่ว่า เราควรล้างให้สะอาดก่อนนำมารับประทาน เพราะไม่ใช่อันตรายจากมะแว้งนะคะ แต่เป็นอันตรายจากยาฆ่าหญ้า หรือมลพิษที่ติดมากับผิวของมะแว้งค่ะ
ข้อมูลจาก : ความรู้เรื่องอาหารและสุขภาพ, natres, wikipedia, rspg