รักษาหลุมสิวด้วยเลเซอร์ เป็นที่นิยมมานานแล้ว เพราะสิวไม่ใช่เรื่องของวัยรุ่น ซึ่งนอกจากจะเกิดขึ้นที่ใบหน้าแล้ว อาจพบได้ที่หน้าอก ลําตัว หลัง ต้นแขน และการที่มีความเชื่ออย่างผิดๆ ว่าเป็นเรื่องของธรรมชาติ ไม่ต้องดูแลรักษาอะไร ทําให้การดูแลป้องกันไม่ถูกต้องเพียงพอ เพราะเมื่อเกิดเป็นสิว นอกจากจะทําให้เราขาดความมั่นใจ อารมณ์ไม่มั่นคงแล้ว ยังมีผู้พบว่าคนเป็นสิวมากๆ มักจะไม่ค่อยได้รับการพิจารณาให้เข้าทํางาน เนื่องจากงานหลาย ๆ ประเภท ไม่เพียงต้องการ ความรู้ความสามารถ หากยังต้องอาศัยบุคลิกรูปร่างหน้าตาเป็นส่วนประกอบสําคัญด้วย

เลเซอร์ตัวใหม่ๆ ในการรักษาหลุมสิว มีหลายประเภท แต่ละประเภทก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป รวมไปถึงความเหมาะสมสำหรับการรักษาด้วย เราลองมาดูกันค่ะว่า เลเซอร์รักษาสิวนั้น แตกต่างกันอย่างไรบ้าง

รักษาหลุมสิวด้วยเลเซอร์ มีกี่ประเภท และมีข้อดีอย่างไรบ้างนะ ?

รักษาหลุมสิวด้วยเลเซอร์
ภาพจาก : iksds.com

Fractional Photothermolysis

คือการใช้แสงเลเซอร์เจาะรูผิวหนังเล็กๆ ขนาดกว้างประมาณ 20-50 ไมครอน ซึ่งเล็กกว่ารูขุมขน การเจาะรูเล็กๆ ที่ผิวหนังโดยขนาดของรูที่เล็กและลึก ทําให้เกิดการสร้างคอลลาเจนใหม่ ดันเซลล์เม็ดสีให้หลุดออก จึงทําให้ผิวหนังบริเวณที่ทําเกิดการสร้างผิวใหม่ที่สมบูรณ์และรอยหลุมสิวมีขนาดเล็กลง

 

E Matrix

เป็นเครื่องมือที่ใช้พลังงานจากคลื่นวิทยุ ( radiofrequency) ซึ่งพลังงานจาก E Matrix จะไปทําให้ผิวหนังเกิดเป็นรูเล็กๆ จํานวนมาก โดยภายหลังจากการที่ผิวหนังถูกเจาะรูจะทําให้เกิดกระบวนการสร้างคอลลาเจนใหม่ ช่วยสร้างเซลล์ผิวใหม่ ซึ่งทําให้หลุมสิวตื้นขึ้น

 

Blue light therapy

เป็นการรักษาโดยใช้แสงสีน้ำเงิน ชนิดความเข้มข้นสูงในช่วงแคบๆ ( narrow band ) ซึ่งได้รับการยอมรับจาก FDA ของอเมริกา เป็นตัวที่รู้จักกันดีว่าใช้รักษาสิว กลไกของการออกฤทธิ์ เชื่อว่าสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียสิว (P.acne) และใช้รักษาสิวอักเสบ ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาชนิดอื่น blue light ในปัจจุบัน โดยทั่วไป จะรักษา 8 ครั้ง ในช่วงระยะเวลา 4 อาทิตย์ ใช้เวลา 15 นาทีในแต่ละครั้ง เฉลี่ยอาทิตย์ละ 2 ครั้ง ผลข้างเคียงน้อย อาจจะมีรอยคล้ำเพิ่มขึ้นชั่วคราว หรือ บวมบริเวณที่ได้รับการรักษา และผิวแห้ง

ALA and light therapy

การรักษานี้มี 2 ขั้นตอน คือใช้น้ำยา 5-aminolevulinic acid (ALA) ทาบริเวณผิวหนังที่จะใช้รักษา ALA เป็นสารที่จะเพิ่มความไวต่อแสง ใช้รักษาสิว โดยทาทิ้งไว้บนผิวหนัง 15 ถึง 60 นาที ระยะเวลาขึ้นกับความรุนแรงของสิว แล้วเช็ดน้ำยา ALA ออก และรักษาด้วยแสง เนื่องจาก ALA ทํา ให้ผิวหนังไวต่อแสงมากขึ้น เราจึงควรใช้ครีมกันแดดเป็นเวลา 48 ชั่วโมงหลังการรักษา

••••••••••••••••

จากงานวิจัยพบว่า การรักษาสิวด้วยแสงสีน้ำเงินหรือสีแดง หลังจากทา ALA มีประสิทธิภาพมาก อย่างไรก็ตาม แสงสีแดง อาจทําให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่ต้องการ เช่น ผิวคล้ำลงชั่วคราว หรือมีรูขุมขนอักเสบ สําหรับการใช้แสงสีน้ำเงินนั้น อาจสรุปได้ว่า เหมาะสมกับการรักษาสิวมากกว่า แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เพื่อประสิทธิภาพในการรักษาที่ดีขึ้น ควรปรึกษาคุณหมอ เพื่อหาแนวทางในการรักษาที่เหมาะสมต่อไปค่ะ

 

เนื้อหาโดย Dodeden.com

เรื่องน่าสนใจ