คุณหมอภักดี บอกว่า โดยปกติผลกระทบจากเสียงที่ดังเกิน 80 เดซิเบลต่อประสาทหูนั้น ขึ้นอยู่กับความแรง ระยะที่หูอยู่ใกล้ และระยะเวลาว่าต่อเนื่องเป็นเวลานานเพียงใด แต่การอยู่ใกล้พื้นที่ชุมนุมที่มีคนเป่านกหวีดจำนวนมากพร้อมกันนั้น คิดว่าไม่น่าจะมีผลกระทบมากนัก เพราะความแรงของนกหวีดไม่มีความสั่นสะเทือน และไม่ได้เป่าต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
“ถ้าหากมีการเป่านกหวีดต่อเนื่องบ่อยครั้ง และเป็นระยะเวลานาน ผู้ที่อยู่ใกล้พื้นที่ชุมนุม ผู้ที่เข้าร่วมชุมนุม และผู้ที่ร่วมเป่านกหวีดด้วย ควรพกที่อุดหูไป และใส่ที่อุดหูขณะมีการเป่านกหวีดพร้อมกัน เพื่อป้องกันตัวเองจากผลกระทบที่อาจเกิดต่อประสาทหู แต่หากไม่ได้ใส่ที่อุดหูก็ขอให้ใช้ทิชชู่ชุบน้ำอุดหู หรือหากหาไม่ได้จริงๆ ก็ให้ใช้นิ้วอุดหูไปพลางๆ ก่อน ส่วนในระยะยาวแนะนำให้ใช้ที่อุดหูจะป้องกันประสาทหูได้ดีกว่า” คุณหมอภักดี แนะนำ
ส่วนผู้ที่รู้สึกว่าไม่ได้ยินชั่วคราวหรือหูอื้อหลังจากได้ยินเสียงนกหวีดนั้น อย่าเพิ่งกังวลว่าประสาทหูจะเสียถาวร บางครั้งอาจเกิดขึ้นในชั่วขณะหนึ่ง หากออกนอกพื้นที่หรือนอนหลับพักผ่อนชั่วระยะเวลาหนึ่งก็จะเป็นปกติ ทั้งนี้ ในช่วงการชุมนุม
เรียบเรียงโดยเว็บโดดเด่น
Credit : www.posttoday.com, www.komchadluek.net