ที่มา: si.mahidol.ac.th

เรียบเรียงเนื้อหาโดย Dodeden.com

ในเด็กเล็กจะพบว่ามีการนอนกรนได้สูงถึงร้อยละ 20 และในจํานวนนั้นมีเด็กร้อยละ 2 ที่มี “ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ” เด็กจะมีการนอนกรนเสียงดัง และมีการหยุดหายใจเป็นพักๆ มีอาการสะตุ้งตื่น หลับไม่สนิท เหงื่อออกขณะหลับ เด็กบางคนจะปัสสาวะราดบ่อยๆ อาจมีอาการขากระตก เด็กอาจจะซนผิดปกติ ดื้อ หงุดหงิดง่าย ขี้โมโห นอนตื่นสาย ปลุกยาก ง่วงนอนในตอนกลางวัน มีปัญหาการเรียน สมาธิสั้น เด็กบางรายหลับขณะเรียนทุกวัน นั่งเหม่อลอย ไม่สนใจเรียน

สาเหตุของการเกิดภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับในเด็ก พบว่าเกิดขึ้นได้หลายอย่างด้วยกัน เพราะในขณะที่หลับลึก กล้ามเนื้อทั่วร่างกายจะมีการหย่อนตัว โดยเฉพาะในช่องปากและช่องทางเดินหายใจ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทําให้เกิดภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับได้ มีดังนี้

  • มีทอลซิลและต่อมอะดินอยด์โต ขวางทางเดินหายใจ
  • โรคบางโรคที่ทําให้โครงสร้างใบหน้าแคบกว่าปกติ เช่น โรคกลุ่มอาการดาวน์, ความผิดปกติของสมองและใบหน้า กลุ่มโรคที่ทําให้กระดูกขากรรไกรล่างสั้น
  • ลิ้นไก่ยาวทําให้ช่องทางเดินหายใจ ทั้งหย่อนคล้อย สั่นพริ้วเกิดเป็นเสียงกรนได้ หรือทําให้ช่องทางเดินอากาศแคบมากกว่าปกติ
  • เด็กมีช่องจมูกที่แคบเล็ก เป็นภูมิแพ้ มีน้ำมูกไหล คัดแน่นจมูก มักจะทําให้ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจมีความรุนแรงขึ้น
  • เด็กมีภาวะน้ำหนักเกิน ส่วนสูงตกเกณฑ์ วินิจฉัยโรคอ้วน เด็กกลุ่มนี้มักมีช่องคอที่แคบเล็ก คอสั้น

ที่สําคัญ หากพบว่าเด็กมีภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ อาจทําให้เกิดอาการและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์เฉพาะทางหู คอ จมูก และกุมารแพทย์ หากเด็กมีอาการดังต่อไปนี้ได้แก่

  • เด็กเจริญเติบโตช้า ตกเกณฑ์
  • ระบบประสาท การจดจํา ช้ากว่าปกติ
  • เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว หงุดหงิด ขี้โมโห สมาธิสั้น
  • ระบบหัวใจและหลอดเลือดผิดปกติ
  • เด็กบางรายมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น ความดันโลหิตสูงในเด็ก โรคหัวใจ ส่งผลให้เกิดโรคความดันในช่องปอดที่สูง ทําให้เกิดภาวะโรคหอบหืดตามมาได้

วิธีการตรวจวินิจฉัยและการรักษาภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ เริ่มจากแพทย์จะทําการซักประวัติ ตรวจร่างกายอย่างละเอียด อาจส่งฟิล์มด้านข้างศีรษะและลําคอ เพื่อประเมินต่อมอะดินอยด์ และภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจ การนอนหลับ เพื่อวัดค่าดัชนีอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ หากตรวจพบว่ามีทอนซิลและต่อมอะดินอยด์โต จนอุดกั้นทางเดินหายใจ จะต้องทําการผ่าตัดแก้ไขเอาทอลซิลและต่อมอะดินอยด์ออก และการผ่าตัดแก้ไขอื่นๆ นอกจากนี้ยังต้องดูแลควบคุมน้ำหนัก ปรับโภชนาการของเด็ก รักษาโรคภูมิแพ้โดยการทานยา หรือร่วมกับการพ่นจมูกด้วยสเตียรอยด์ เป็นต้น

เรื่องน่าสนใจ