ที่มา: dodeden

คว่ำหวอดอยู่ในแวดวงนาฏศิลป์มาอย่างยาวนาน สำหรับอาจารย์ “อ๊อฟสรพล ถีระวงษ์” ที่ยึดคำสอน “สิ่งที่เราทำ แม้ไม่มีใครได้รับรู้ แต่สิ่งที่รับรู้คือ ผลงาน เป็นคำพูดของ ครู อาจารย์ ที่ฝากไว้ก่อนที่ท่านจะสิ้น”

อาจารย์อ๊อฟ-สรพล ถีระวงษ์ กรรมการบริหารสมาคมนิยมไทย และกลุ่มมรดกสยาม ผู้ดูแลประสานงานด้านศิลปะวัฒนธรรมและมรดก ซึ่งอดีต เคยทำงาน กลุ่ม นาฏศิลป์ ฝ่ายพัสตราภรณ์และเครื่องโรง สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ที่มีพรสวรรค์ชั้นแนวหน้าของเมืองไทย

อาจารย์อ๊อฟ-สรพล เปิดเผยกับ เว็บไซต์โดดเด่นดอทคอมว่า สำหรับผ้าโบราณการแต่งกายไปงานศพ หรือ พระบรมศพของเจ้านาย ในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ฯ ได้ระบุตามหลักฐานโบราณประเพณีไว้ว่า เรื่องการนุ่งลายพื้นขาว ในงานศพญาติสนิธ (การนุ่งขาว ในการศพ) จากหนังสือ พระราชหัตถเลขา. ในพระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมครั้งที่สาม

14469725_1003457223097227_3447453365724487710_n

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ โปรดให้พิมพ์เมื่อปีจอ พศ 2465 ( พิมพ์ที่โรงพิมพ์โสภณพิพัฒนาธนากร ) ครั้นวันอังคารขึ้นห้าค่ำ ปีวอก โทศก ได้ให้ชักศพเจ้าพระยามหาศิริธรรมไปเข้าเมรุวัดสุวรรณาราม มีการเล่นต่างๆ สมควรดังยศเสนาบดี ครั้นวันพฤหัสบดี ขึ้นเจ็ดค่ำเดือนหกกระหม่อมฉัน (ร4) ได้ไปจุดเพลิง “ชายศรีสิทธิธงชัย” ก็ได้นุ่งขาวไปเผาด้วย

พระองค์เจ้าในพระบวรพระราชวังแผ่นดินที่ 3 นี้ เห็น “นุ่งขาวลายกันทั้งข้างหน้าข้างใน”  นับเป็น “ญาติสนิธ” กับเจ้าพระยามหาศิริธรรมนั้น ก็ชอบก็งามอยู่แล้ว

ชุดไว้อาลัยขาว – ดำ ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ฯ  นิยมนุ่งขาวไว้อาลัยเจ้านาย และนี่คือชุดประยุกต์   

14718739_1020568931386056_3482292250869081513_n

14670623_1020568908052725_3555556198570873889_n

แต่ในพวกกระหม่อมฉัน กระหม่อมฉันได้เตือนกรมหมื่นมเหศวร กรมหมื่นวิศณุนารถ  แลชายจิตราภรณ์ ให้นุ่งขาวด้วย เขาไม่ยอมเขาเถียงว่าเป็นญาติห่างๆ ดอก จึงได้นุ่งขาวไป แต่ชายศรีสิทธิธงไชย คนเดียว เป็นคนเถียงว่าห่างไม่ได้

แต่หนูตุ้ย หนูปุก สองคนในบวรพระราชวังนั้น นุ่งลายพื้นขาวห่มขาว ไปเกี่ยวอย่างไรกระหม่อมฉันแปลไม่ออก ครั้นจะถามก็จะเป็นจู้จี้ไป

การแต่งกายของบุรุษ ( ผู้ชาย ) ในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ฯ

14344763_990155367760746_4066317294958833983_n

14322547_990155334427416_8212945268039678244_n

พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ภาพจากกลุ่มมรดกสยาม

13165931_2008484369377074_5332116896901152102_n

ในปี พ.ศ. 2418 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริจะสร้างพระที่นั่ง ขึ้นอีกองค์หนึ่งเป็นท้องพระโรง จึงโปรดเกล้า ฯ ให้จ้างสถาปนิกจากสิงค์โปร์ ชื่อ มิสเตอร์ ยอน คลูนิช เป็นนายช่างหลวง ทำการออกแบบ พระที่นั่งองค์นี้

นอกจากนั้นยังโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี เป็นแม่กอง พระยาเวียงในนฤบาลเป็นผู้กำกับดูแลการทุกอย่าง และพระประดิษฐการภักดี เป็นผู้ตรวจกำกับบัญชี ทรงเสด็จมาวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันพุธที่ แรม 10 ค่ำ เวลาเช้า 2 โมง กับ 36 นาที ( ตรงกับวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2419 )

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้เปลี่ยนทรงหลังคาเป็นรูปปราสาท 3 ยอด และได้พระราชทานนามพระทีนั่งองค์นี้ว่า พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยกยอดปราสาทเมื่อวันศุกร์ แรม 10 ค่ำ เดือน 9 ปีขาล จ.ศ. 1240 ( พ.ศ. 2421 ) และได้มีการเฉลิมพระราชมณเฑียรใน พ.ศ. 2425

14591634_1003456583097291_6927904780054852680_n

13508928_929310663845217_3540692438129741641_n

0379

13310438_915408615235422_625885000577739003_n

เรื่องน่าสนใจ