เนื้อหาโดย Dodeden.com

ดังที่องค์การอนามัยโลกได้ให้ความหมายของสุขภาพจิตว่า “ภาวะปกติสุขที่บุคคลมีความเข้าใจในศักยภาพต่างๆ ของตัวเอง สามารถรับมือกับความเครียดในชีวิต และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถช่วยเหลือสังคมได้” จากการเปลี่ยนแปลงของวัยทำให้ผู้สูงอายุมีความเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถปรับตัวได้หรือปรับตัวได้ไม่ดี อาจจะนําไปสู่ปัญหาด้านสุขภาพจิตที่พบได้บ่อย เช่น ความวิตกกังวล ซึมเศร้า ปัญหาการนอน ปัญหาความจํา รวมถึงปัญหาเรื่องเพศ ดังนั้น เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตตี บุคคลในครอบครัวควรมีส่วนร่วมในการปฏิบัติต่อผู้สูงอายุ ดังนี้ค่ะ

  • ช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตัวเองยังมีคุณค่า มีความสําคัญ เช่น การขอคําแนะนําปรึกษาในเรื่องต่างๆ การให้มีส่วนร่วมในการดูแลครอบครัวให้เหมาะสมกับสุขภาพ
  • ชักชวนพูดคุยและรับฟังถึงส่วนดี หรือเหตุการณ์ประทับใจในอตีตของผู้สูงอายุอย่างเต็มใจ ทำให้ท่านยังดีใจที่ยังมีคนชื่นชมในชีวิตของตนอยู่
  • ให้ความเคารพยกย่องและนับถืออย่างสม่ำเสมอตามขนบธรรมเนียมประเพณีเดิมของไทย เช่น ประเพณีรดน้ำดำหัวขอพรผู้สูงอายุ เนื่องในวันสงกรานต์ เป็นต้น
  • ส่งเสริมและอํานวยความสะดวกให้ผู้สูงอายุทํากิจกรรมที่สนใจต่างๆ ตามความเหมาะสม เช่น ไปวัดทําบุญ ฟังเทศน์ โดยลูกหลานควรเตรียมข้าวของต่างๆ ให้ด้วยความเต็มใจ

  • ช่วยให้ผู้สูงอายุมีโอกาสได้พบปะสังสรรค์กับญาติใกล้ชิด และเพื่อนร่วมวัยเดียวกันบ้าง ด้วยการพาไปเยี่ยมเยียนญาติ หรือชวนญาติๆ มาที่บ้าน รวมถึงพาเข้าสังคม พาไปชมรมผู้สูงอายุต่างๆ
  • ให้อภัยในความหลงลืม และความผิดพลาตที่ผู้สูงอายุกระทํา และควรแสดงความเห็นอกเห็นใจที่เหมาะสมตามสถานการณ์
  • สั่งสอนอบรมให้ลูกหลานยังคงเคารพนับถือ ไม่แสดงให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตัวเองเป็นภาระ หมดคุณค่า เป็นที่ไม่ต้องการ แต่ยังเป็นบุคคลที่เคารพนับถือของคนในครอบครัวที่อาวุโสน้อยกว่า

เพียงเท่านี้ ก็จะช่วยให้สุขภาพจิตของผู้สูงอายุในบ้านดีขึ้นได้เเล้ว และเมื่อพบความผิดปกติ การพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษา เป็นทางออกที่ดีที่สุดค่ะ

เรื่องน่าสนใจ