เนื้อหาโดย : โดดเด่นดอทคอม

เถาวัลย์เปรียง เป็นไม้เนื้อแข็ง เปลือกนอกสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลแกมสีเทา เปลือกเถาอาจมีร่องหรือคลื่นตามยาว มีช่องอากาศกระจายอยู่ทั่วไป เนื้อไม้สีออกน้ำตาลอ่อนๆ เห็นรอยวงปีไม่ชัดเจน เนื้อไม้มีรูพรุนตรงกลาง รสเฝื่อน เป็นยาสมุนไพรที่คนไทยรู้จักการใช้ประโยชน์มาเนิ่นนาน เป็นสมุนไพรที่พบทั่วไปทุกภาค

สมุนไพรเถาวัลย์เปรียง

สรรพคุณของยาที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์คือแก้อาการปวดเมื่อย ปวดหลัง ปวดเอว บำรุงกำลัง จึงมักนำมาต้มดื่มหรือนำมาดองเหล้า คนเฒ่าคนแก่ คนที่ทำงานแบกหามหนัก หรือชาวไร่ชาวนา จึงมักมีเถาวัลย์เปรียงติดบ้านไว้ต้ม แต่ส่วนมากมักจะเน้นทางยาดองเหล้ามากกว่าเพื่อใช้แก้ไขอาการปวดเมื่อยจากการ ทำงาน

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้ทำการวิจัยสมุนไพรตัวนี้จนสำเร็จ และพบว่า สรรพคุณตามที่ได้วิจัยพบนั้น สอดรับกับภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านที่ใช้ ประโยชน์ในการแก้อาการปวดเมื่อย แก้การอักเสบของกล้ามเนื้อ ผลการทดลองยังระบุว่า สารสกัดจากลำต้นมีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวด ต้านการอักเสบ สามารถใช้แทนยาแก้อักเสบแผนปัจจุบันได้ ที่สำคัญไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อร่างกายเช่นเดียวกับยาแผนปัจจุบันที่มีสารสเตียรอยด์ ถือเป็นยาสมุนไพรที่มีความปลอดภัยสูง

ผลพลอยได้จากงานวิจัยในครั้งนี้ยังพบว่า เถาวัลย์เปรียงมีสรรพคุณช่วยเพิ่ม ภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดขาว รักษาผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งสามารถต่อยอดนำไปใช้ในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มอื่น ๆ ได้ด้วย

20

ประโยชน์ของเถาวัลย์เปรียง

  1. ใช้ต้มเพื่อรับประทานเป็นยาอายุวัฒนะ ยาถ่ายกระษัย แก้กระษัย ช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง
  2. ช่วยแก้ไข้ แก้หวัด แก้ไอ
  3. ต้มรับประทานเป็นยาถ่าย แก้เสมหะพิการ โดยไม่ทำให้ถ่ายอุจจาระจึงเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคบิด โรคหวัด โรคไอ และใช้ได้ดีในเด็ก
  4. แก้โรคบิด
  5. เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะผิดปกติ แก้ปัสสาวะกระปริบกะปรอย มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยที่เป็นโรคต่อมลูกหมากโตด้วย
  6. ใช้ดองกับเหล้าเป็นยาขับระดู รักษาอาการตกขาว ขับโลหิตเสียของสตรี
  7. ใช้ต้มรับประทานเป็นยาคลายเส้น ทำให้เส้นเอ็นอ่อน และคลายตัว ช่วยรักษาเส้นเอ็นขอด เส้นเอ็นพิการ แก้อาการปวด ปวดเมื่อย ปวดหลัง ปวดเอว ปวดข้อ ข้ออักเสบ ช่วยรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม แก้อาการอักเสบของกล้ามเนื้อ หรือจะใช้เถานำมาหั่นตากแห้ง คั่วชงกับน้ำกินเป็นน้ำชา
  8. มีการใช้เถาเพื่อรักษาโรคอัมพฤกษ์และกระดูกหัก โดยการนำเถามาตำให้เป็นผงผสมกับน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันหัวครำ แล้วใช้เป็นยาทานวดบริเวณที่เป็นทุกวัน

biodiversity-172436-2

ข้อห้าม

  1. ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์
  2. ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยแผลเพปติก เนื่องจากเถาวัลย์เปรียงออกฤทธิ์คล้ายยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ จึงอาจทำให้เกิดการระคายเคืองระบบทางเดินอาหารได้

เถาวัลย์เปรียงได้ถูกจดสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทันทีที่มีการวิจัยเสร็จในปี 2550 ทำให้มันถูกนำมาสกัดเป็นยาในรูปแคปซูลเพื่อใช้รักษา ทั้งนี้เถาวัลย์เปรียงอยู่ในตระกูลพืชประเภทเถาวัลย์ พบมากตามป่า แต่สามารถนำมาปลูกได้ นับว่าเป็นความสำเร็จของนักวิจัยไทยในการวิจัยสมุนไพรไทยภายหลังจากที่ใช้เวลาศึกษาและทดลองนายหลายปี

2638340609_7e5508cf8f_b

ใครที่ต้องการหามารับประทาน โดดเด่นแนะนำว่าขอให้ศึกษาให้ดีก่อนนะคะ เพื่อจะได้มีผลดีต่อสุขภาพ บางครั้ง เราอาจจะแพ้สมุนไพรบางอย่างโดยไม่รู้ตัว เพื่อความปลอดภัยควรปรึกษาแพทย์ หรือหากมีอาการของผลข้างเคียงควรหยุดใช้ทันที

ภาพและข้อมูลจาก : คณะเภสัช มหาวิยาลัยอุบลราชธานี, สมุนไพรอภัยภูเบศร, kapook, herbdd,

เรื่องน่าสนใจ