kamol001

ในปัจจุบันกระแสการทำศัลยกรรมตกแต่งนั้น ใครๆ ก็สามารถทำได้ง่ายๆ เพื่ออยากให้ดูดีขึ้น สวยขึ้นกว่าเดิม แต่เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าการทำศัลยกรรมนั้นจะไม่เกิดผลกระทบ  เป็นอันตรายทำให้เสียโฉม…หรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังที่เป็นข่าวอยู่บ่อยๆ  

สำหรับท่านที่กำลังมองหาหรือกำลังศึกษาข้อมูล  เพื่อเตรียมทำศัลยกรรมตกแต่งอยู่นั้น มีปัจจัยหลายอย่างที่คุณควรต้องใส่ใจคิดพิจารณาให้ดีๆ เพื่อลดผลกระทบ  ที่อาจจะเกิดจากการทำศัลยกรรมได้    ควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

1. ศัลยแพทย์ตกแต่ง   หรือคุณหมอผ่าตัด ซึ่งจะต้องผ่านการเรียนและฝึกฝนอย่างถูกต้องตามกฎ ระเบียบแพทย์สภา คือต้องเรียนจบแพทย์  6  ปี แล้วเข้าศึกษาต่อแพทย์เฉพาะทางศัลยแพทย์ตกแต่ง  ของโรงเรียนแพทย์ที่มีหลักสูตรที่ชัดเจน ใช้เวลาในการเรียนเพิ่มเติมอีกประมาณ 5 ปีตามหลักสูตรนี้ โดยจบแล้วจะได้รับวุฒิบัตรและอนุมัติบัตรสาขา ศัลยแพทย์ตกแต่งจากแพทย์สภา เท่านั้น   สามารถตรวจสอบได้จากสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย http://www.plasticsurgery.or.th/lst.php     เวลาตัดสินใจเลือก   ต้องรู้จักชื่อแพทย์ ..ที่จะทำการผ่าตัดให้เราเสมอ

แต่อย่างไรก็ตาม ในรายชื่อแพทย์ทั้งหมดไม่ได้หมายความว่าแพทย์จะมีประสบการณ์และเชี่ยวชาญเหมือนกันหมด ทุกคน ดังนั้นผู้ที่จะเข้ารับการผ่าตัด   ต้องศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมให้ละเอียด ว่าแพทย์ท่านนั้นมีประสบการณ์เพียงพอหรือไม่ อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาที่สวยหรู   บางสถานพยาบาลมีการใช้ดาราเป็นพรีเซ็นเตอร์ แต่ใช่ว่าดาราคนนั้นจะทำศัลยกรรมจากที่นั่นจริงๆ  หรือเช็คดูว่าเค้าทำอะไรจริงๆ  

2. วิสัญญีแพทย์   หรือหมอดมยา การเป็นวิสัญญีแพทย์ได้นั้นจะต้องเรียนจบแพทย์ 6 ปี แล้วไปศึกษาต่อเฉพาะทาง ทางด้านวิสัญญีแพทย์อีก 3 ปี   จะต้องได้รับวุฒิบัตรหรืออนุมัติบัตรวิสัญญีแพทย์   บทบาทของวิสัญญีแพทย์มีหน้าที่ให้ยา สลบและดูแลผู้ป่วยระหว่างการผ่าตัดให้ผู้ป่วย ปลอดภัยตลอดระยะเวลาการผ่าตัด  ซึ่งปัจจุบันนี้มีสถานพยาบาลหลายที่ขาดความรับผิดชอบ ให้พยาบาลหรือคนที่ผ่านการฝึกอบรบไม่กี่วันมาดมยาให้ผู้ป่วยแทนวิสัญญีแพทย์     ทำให้เกิดความเสี่ยงมากถึงชีวิต เหมือนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับพริ้ตตี้และชาวต่างชาติเมื่อเร็วๆ นี้   ต้องตรวจเช็คสถานพยาบาลมีความพร้อมของวิสัญญีแพทย์และเครื่องมือที่สามารถช่วยชีวิตเราได้ตลอดเวลาระหว่างการผ่าตัด

 

kamoldr.02

ในระหว่างการผ่าตัดศัลยแพทย์มีหน้าที่ทำการผ่าตัด ทีมวิสัญญีแพทย์จะคอยดูแลผู้ป่วยในระหว่างการผ่าตัดพร้อมดูแลควบคุมการหายใจของผู้ป่วย โดยอุปกรณ์ช่วยเหลือของวิสัญญีแพทย์จะมีรถดมยาพร้อมจอมอนิเตอร์ อุปกรณ์ของวิสัญญีแพทย์ และยาสำหรับช่วยชีวิตทุกชนิดในยามฉุกเฉิน เมื่อผ่าตัดเสร็จวิสัญญีแพทย์มีหน้าที่ทำให้ผู้ป่วยตื่นแบบมีสติก่อนที่จะพาไปห้องพักฟื้น เมื่อเข้าสู่ห้องพักฟื้นจะมีการดูแลผู้ป่วยแบบ PACU (Post Anesthesia Care Unit) ผู้ป่วยจำเป็นต้องอยู่ในห้องพักฟื้นประมาณ 6-8 ชม. ถึงจะสามารถกลับไปที่ห้องพักฟื้นส่วนตัวได้ นอกจากนี้จะต้องมีพยาบาลดมยา  หรือวิสัญญีพยาบาลซึ่งเรียนจบพยาบาลและผ่านการฝึกอบรมพยาบาลดมยาเพิ่มอีก 1 ปี เป็นวิสัญญีพยาบาลทำหน้าที่ช่วยวิสัญญีแพทย์  วิสัญญีพยาบาลมีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยหลังการผ่าตัด สามารถให้ยาแก้ปวด สามารถใส่ท่อหายใจให้คนไข้ในกรณีฉุกเฉินได้

 

 

 

 

วิสัญญีแพทย์

3.อุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์  ประกอบด้วย
–     อุปกรณ์เครื่องมือแพทย์สำหรับการผ่าตัดทำศัลยกรรม
–     อุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์สำหรับวิสัญญีแพทย์และพยาบาล ระหว่างการผ่าตัด
–     อุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์สำหรับช่วยชีวิตผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉิน

อุปกรณ์เครื่องมือแพทย์สำหรับการผ่าตัดทำศัลยกรรม   ต้องมีคุณภาพสูง จะช่วยให้หมอผ่าตัดทำงานง่ายขึ้นคุณภาพและผลการผ่าตัดดี     ไม่ทำให้เกิดการบอบช้ำ   ลดการเสียหายของเนื้อเยื้อและกระดูก จะลดการบอบช้ำ บวมเขียว และการคั่งของเลือด ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็ว     ถือการลดความเสี่ยงที่สำคัญด้วย

อุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์สำหรับวิสัญญีแพทย์และพยาบาล   ระหว่างการผ่าตัด เครื่องมือก็ต้องมีคุณภาพสูง เพราะจะทำให้การควบคุม ดูแล การให้ยาสลบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ หมอดมยาจะสบายใจในการควบคุมดูแล การบริหารยา   ขณะเดียวกันการเลือกใช้ยาสลบที่มีคุณภาพสูงก็ช่วยลดผลข้างเคียง (Side Effect) จากยาสลบรุ่นเก่าๆ ได้เป็นอย่างดี เช่น การคลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลียหลังการผ่าตัด ยาที่มีคุณภาพสูงจะราคาแพงแต่ผลข้างเคียงต่ำมาก

อุปกรณ์ ยาและเครื่องมือแพทย์สำหรับช่วยชีวิตผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉิน   ต้องมีประจำเสมอ เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยได้ตลอดเวลา อย่างเช่น เครื่องกระตุ้นหัวใจ เครื่องช่วยหายใจ เครื่องมอนิเตอร์ เครื่องดูดเสมหะ และรถเข็นที่มียาช่วยชีวิต

 

kamolequipment

อุปกรณ์เหล่านี้จะช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัยและลดความเสี่ยงมากยิ่งขึ้น ซึ่งตามกฎหมายแล้วอุปกรณ์เหล่านี้จำเป็นต้องมี แต่สถานพยาบาลหลายแห่งไม่ให้ความสำคัญและไม่ใส่ใจกับเรื่องนี้ ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดต้องศึกษาเรื่องนี้ให้ดี ไม่ว่าจะเป็นห้องพักฟื้นที่จำเป็นต้องมีเครื่องช่วยหายใจ, Ambubage เบื้องต้น เครื่องมือต่างๆ เช่น เครื่องดมยาสลบ เครื่องมอนิเตอร์ เครื่องดูดเสมหะ  ต้องมีความพร้อมสำหรับใช้งาน

 

 

4. สถานที่ เป็นคลินิกหรือโรงพยาบาล ดูให้ชัดเจนมีเลขที่ใบอนุญาตสถานพยาบาลถูกต้องหรือไม่, มีใบอนุญาตสถานพยาบาลหรือไม่    หรือเป็นสถานพยาบาลเถื่อน ให้ตรวจสอบไปที่ สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข โทร. 02-590-1997 ต่อ 404 เบอร์แฟกซ์ 02-590-9997 ต่อ 405  นอกจากนี้สถานที่    ต้องสะอาด ปลอดภัย สามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็ว

การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัด   

การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดที่ดีจะช่วยลดปัญหาความเสี่ยงจากการผ่าตัดได้

  1. ต้องมีการตรวจสุขภาพก่อนการผ่าตัด ผู้ที่จะเข้ารับการผ่าตัดต้องมีสุขภาพร่ายการที่แข็งแรงไม่ป่วยเป็นโรคร้ายแรง ที่มีผลต่อการดมยาผ่าตัด การตรวจสุขภาพทำให้แพทย์ทราบว่าผู้ป่วยมีความผิดปกติอะไรบ้าง สามารถทำการผ่าตัดได้หรือไม่ ซึ่งเบื้องต้นอาจมีการตรวจเลือด ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC : Complete Blood Count), เกลือแร่หรือแร่ธาตุต่างๆ (อิเล็กโทรไลท์ : Electrolyte) ในร่างกายว่าปกติไหม อาจมีการตรวจสอบไวรัสตับอักเสบ (Hepatitis) เพื่อป้องกันทีมงาน เจ้าหน้าที่ ศัลยแพทย์ผู้ผ่าตัด และในขณะเดียวกันทางโรงพยาบาลจะได้เตรียมความพร้อมในการทำความสะอาดห้องผ่าตัดได้ดีด้วย นอกจากนี้ต้องแจ้งให้ศัลยแพทย์ทราบก่อนเพื่อจะได้ส่งตรวจหรือปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอื่นๆ ต่อไป เช่น มีโรคหัวใจ, โรคเลือดหยุดยาก จำเป็นจะต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคหัวใจหรือแพทย์เฉพาะทางสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้คนไข้ปลอดภัยต้องมีการวางแผนร่วมกัน ซึ่งสถานพยาบาลบางแห่งขาดความใส่ใจและรับผิดชอบในเรื่องนี้อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดความเสี่ยงต่อชีวิตได้ในระหว่างการเข้ารับการผ่าตัด
  2. ศึกษาสถานพยาบาลให้ดีว่า การผ่าตัดของเราต้องใช้ยาชาหรือยาสลบ และมีศัลยแพทย์และวิสัญญีแพทย์หรือไม่

ถึงเวลาแล้วหรือยัง   ที่คุณจะต้องใส่ใจให้มากกว่านี้ ทั้งศัลยแพทย์ และผู้ที่จะเป็นคนไข้    ทำอย่างไรเราถึงจะสวยได้อย่างปลอดภัย อุทาหรณ์และความสูญเสียที่เคยเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ   ผู้บริโภคก็ต้องรู้จักเลือกและคิดให้มากๆ จะได้ไม่เสียใจเหมือนเหตุการณ์ที่ผ่านมาเมื่อเร็วๆ นี้     และหวังว่าเหตุการณ์แบบนี้จะไม่เกิดขึ้นอีก ถ้าผู้บริโภคใส่ใจมากกว่านี้

 

Website: www.kamolhospital.com
Fan page: www.facebook.com/kamolcosmetichospitalthai
Instargram: Kamolhospital
E-mail: [email protected]
Call Center: 02-559-0155
YouTube: http://www.youtube.com/kamolcosmetichosp
โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่ง กมล
340 ลาดพร้าว 94 ถ.ศรีวรา วังทองหลาง กรุงเทพ 10310 โทร. 02-559-0155 แฟกซ์ 02-559-2808
เปิดทำการ 9:00 – 18:00 น. จันทร์ – อาทิตย์

 

เรื่องน่าสนใจ