ที่มา: aic-clinic.com

แก้ปัญหาแผลเป็น และหลุมสิว ด้วยอากาศแรงดันสูง (INTRADERMAL AIR DISSECTION) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ช่วยเลาะพังผืดใต้ผิวด้วยอากาศแรงดันสูงนั่นเอง ลองมาดูรายละเอียดกันว่า กลไกการออกฤทธิ์ขิงอุปกรณ์ที่ว่านี้เป็นอย่างไร

 

แก้ปัญหาแผลเป็น
ภาพจาก shreejiskincare.com

 

แก้ปัญหาแผลเป็น และหลุมสิว ด้วยอากาศแรงดันสูง 

ธรรมชาติของผิวหนังมนุษย์ (ไม่นับรวมถึงขั้นไขมันใต้ผิวหนัง) ประกอบด้วยผิวชั้นบนบางๆ ที่เรียกหนังกําพร้า (Epidermis) และด้านล่างซึ่งหนากว่า คือชั้นหนังแท้ (Dermis) โดยประกอบไปด้วยเซลที่มีชีวิตหลายชนิด มีหลอดเลือด และเส้นประสาทขนาดเล็ก ต่อมเหงื่อ มีรูขุมขน หรือที่เรียกว่า Adnexal structure ซึ่งมีทั้งต่อมไขมัน เซลรากผม และที่สําคัญคือ ชั้นเซลที่สามารถแบ่งตัวได้คล้าย Stem cell ที่เรียก Basal Cell Layer ซึ่งสามารถแบ่งเซลสร้างผิวหนังใหม่

 

แก้ปัญหาแผลเป็น
ภาพจาก slideplayer.com

 

ชั้น Basal Cell Layer ซึ่งรายล้อมรอบรูขุมขน ซึ่งฝังตัวในชั้นหนังแท้ และก็เรียงตัวเป็นชั้นบางๆ ที่ชั้นล่างสุดของหนังกําพร้า ที่ติดกับหนังแท้ ถือเป็นองค์ประกอบสําคัญต่อการเกิด หรือไม่เกิดแผลเป็นของผิวหนัง โดยถ้าบาดแผลหรือการบาดเจ็บที่เกิดกับผิวหนัง ไม่ทําลายชั้น Basal Cell Layer ทั้งหมด เซลในชั้นนี้ก็จะสามารถแบ่งตัวมาซ่อมแซม และทดแทนเซลที่เสียไป การเกิดแผลเป็นก็จะไม่มี แผลก็จะหายเป็นผิวปกติ

 

แก้ปัญหาแผลเป็น
ภาพจาก en.wikipedia

 

สําหรับบาดแผลที่อยู่ลึกลงไปข้างใต้ เช่น แผลผ่าตัดที่เลาะลงไปใต้ผิว หรือกรณีการดูดไขมันที่ทําไม่ดี ทําให้เกิดบาดแผลในขั้นไขมันมากๆ มันก็จะกระตุ้นร่างการให้สร้างเป็นพังผืดขึ้นมาได้ ที่เรียกว่าการเกิด Fibrosis นั้นเอง การเกิดพังผืด จึงสามารถเกิดได้ทั้งในชั้นผิวหนัง และใต้ผิวหนัง ลักษณะที่เห็นบนผิวหนังก็คือ Scar หรือแผลในนั่นเอง อาจนูน หรือยุบตัวก็ได้

ส่วนที่อยู่ใต้ผิวอาจมองไม่เห็น แต่สามารถคลำ หรือรู้สึกได้ว่าบริเวณนั้นมันแข็งๆ อาจเป็นก้อนขรุขระ ไม่เรียบเนียน นุ่มนิ่ม เหมือนผิวปกติ หรือเห็นเป็นร่องติดลึก ซึ่งพังผืดเหล่านี้ เปรียบเสมือนเส้นเอ็นที่ยึดเกาะผิวไว้กับเนื้อเยื่อข้างใต้นั้นเอง บางกรณีเช่น ร่องหว่างคิ้ว หรือร่องติดบริเวณหน้าผาก ที่จริงเกิดจากการหักพับ ของผิวบริเวณนี้นานๆ ทําให้เกิดการขาดออกซิเจนไปเลี้ยงผิวบริเวณนี้ มีการบาดเจ็บของผิวนาน จนทําให้เกิดเป็นพังผืดดึงรั้งผิวให้ลึกลงเป็นร่องถาวร (Static Line)

 

แก้ปัญหาแผลเป็น
ภาพจาก fleurdelysmedispa.com

 

จากความรู้ดังกล่าวทําให้การแพทย์ความงามนํามาประยุกต์ใช้ เช่น การร้อยไหม ถ้าต้องร้อยลงไปเป็นร้อยๆ เส้น ก็จะต้องใช้เข็มแทงเข้าผิวเป็นร้อยๆรู แต่ก็ไม่เกิดเป็นแผลเป็น เพราะเข็มมีขนาดเล็ก และไม่ได้ทําลายชั้น Basal Cell ทั้งหมด ไหมที่อยู่ใต้ผิว หากร้อยถูกวิธี และไม่ทําให้เกิดบาดการบาดเจ็บมาก หรือเกิดเป็นแผลใหญ่ใต้ผิว ก็จะไม่มีพังผืดเกิดใต้ผิวเช่นกัน นี่คือคําถามที่หลายๆ คนสงสัยว่า การร้อยไหมทําให้เกิดพังผืดใต้ผิวหรือไม่ คําตอบก็คือ เป็นหรือไม่เป็นก็ได้ ขึ้นอยู่กับเทคนิควิธี หรืออย่างกรณีการใช้ Fractional Laser ซึ่งเป็นเลเซอร์ที่ทําให้ผิวหนังเกิดการบาดเจ็บเป็นรูขนาดเล็กมากห่างๆ กัน ดูคล้ายเป็นตาราง ก็เพื่อกระตุ้นผิวให้เกิดการแบ่งเซลใหม่ โดยไม่ก่อให้เกิดแผลเป็นที่ผิวนั่นเอง

เทคนิควิธีการรักษาแผลเป็น ร่องติดลึก รูขุมขนกว้าง และกระตุ้นการสร้างผิวใหม่

หลักการก็คือ เลาะพังผืดที่ยึดเกาะผิวออกจากเนื้อเยื่อด้านล่าง ผิวหนังส่วนนั้นก็จะยกตัวลอยขึ้นมา คล้ายที่ผมเคยนําเสนอเรื่องการฉีดสารเดิม เต็ม Filler ให้สวยโดยการใช้เข็มปลายที่เลาะพังผืดใต้ผิวก่อนนั่นเอง แต่ต่างกันตรงที่อุปกรณ์ชนิดนี้ใช้กับผิวชั้นบน หรือในชั้นหนังแท้เลย ใน อดีตแพทย์ผิวหนังก็พยายามเลาะพังผืดแบบนี้เช่นกัน โดยการใช้เข็มคมขนาดใหญ่เป็นตัวช่วยตัดพังผืดออก ที่เรียกว่าการทํา Subcision หรือ การตัดพังผืดหลุมสิว ซึ่งไม่ค่อยได้ผล เพราะเข็มเล็กทําได้ไม่ทั่วถึง หรือถ้าใช้เข็มใหญ่มาตัดเลาะ ก็อาจสร้างพังผืดใหม่ขึ้นอีก

………………………………………………………..

ต่างกับการใช้อุปกรณ์ Intradermal Air Dissector ซึ่งใช้ความเร็วและความแรงของอากาศเป็นตัวเลาะพังผืด ผ่านเข็มขนาดที่เล็กมาก คือเบอร์ 31 G ทําให้มั่นใจได้ว่าไม่มีการทําลายผิวจนเกิดพังผืดเพิ่มขึ้น อีกทั้งชั้นผิวที่แยกออก ก็เสมือนการบาดเจ็บและเกิดการกระตุ้นให้ซ่อมแซมตัวเอง และยิ่งหากมีการใช้น้ำเลี้ยงเซลต้นกําเนิดร่วมด้วย ก็ยิ่งทําให้การแบ่งตัวสร้างเซลผิวใหม่ดียิ่งขึ้น ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ ทั้งแผลเป็น หลุมสิว ร่องติดลึก รอยแตกลายของผิว ค่อยๆ หายไป และยังทําให้รูขุมขนเล็กลง ได้ผิวใหม่พร้อมหน้าใสอีกด้วย

ศูนย์นวัตกรรมความงาม AIC (สาขาพระราม4)
ปากซอยงามดูพลี ติดภัตตาคารจันทร์เพ็ญ
1032/10-12 ชั้น1-2 ถนนพระราม4
กรุงเทพมหานคร 10120

Tel : 02 287 1200

Facebook : ศูนย์นวัตกรรมความงาม AIC

website : ศูนย์นวัตกรรมความงาม AIC

Line id : @aicclinic

เรียบเรียงเนื้อหาโดย Dodeden.com

เรื่องน่าสนใจ