โรคผิวหนัง กับการทำความเข้าใจถึงสาเหตุ และปัญหาที่เกิด เป็นที่รู้กันดีว่า ผิวหนังของคนเรานั้น เป็นเพียงเนื้อเยื่อที่แสนบอบบาง ซึ่งมีความหนาเพียง 0.05 มิลลิเมตร – 1.5 มิลลิเมตรเท่านั้น เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ส่วนนอกสุดของร่างกาย ที่ทำหน้าที่ห่อหุ้มโครงสร้าง และอวัยวะทุกอย่างไว้ ในแต่ละบริเวณ จะมีความหนาบางไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่ต้องรองรับ และขึ้นอยู่กับว่า ผิวหนังบริเวณนั้น เป็นผิวหนังส่วนใด 

 

ประเภท โรคผิวหนัง

ซึ่งโรคผิวหนังนั้น มีหลายประเภท และยังมีหลายๆ ชนิดที่แตกยอดออกไปได้อีก เช่น การเกิดสิวประเภทต่างๆ อาทิ สิวหัวช้าง สิวเป็นหนอง ไข้อีสุกอีใส สะเก็ดเงิน เป็นต้น การเกิดโรคผิวหนังนั้น มาจากความผิดปกติของเซลล์ผิวหนังในร่างกายของเรา ซึ่งจะส่งผลให้เกิดผื่นแดง หรือว่าเป็นดวงๆ ด่างๆ ขึ้นตามผิวหนังที่สีผิวไม่สม่ำเสมอได้ เป็นโรคที่ควรจะต้องพบแพทย์ และได้รับการรักษาจากหมอผิวหนังโดยตรง เพื่อที่จะได้ดูแลเนื้อเยื่อ หรือเซลล์ผิวที่อาจจะตายไปแล้วในส่วนนั้น ได้อย่างถูกต้อง แต่ถ้าหากว่าเราไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก็อาจจะส่งผลกับเราได้มากกว่าแค่โรคผิวหนัง เพราะมันจะกลายเป็นโรคที่ลามไปบนพื้นผิวหนังส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างรวดเร็วเลยล่ะ 

ซึ่งบางที เราอาจจะไม่รู้สาเหตุของการเกิดเลยด้วยซ้ำ หรืออาจไม่พบอาการจนเวลาผ่านไปยาวนานแล้ว เพิ่งมารู้ตัวอีกทีว่าเกิดภัยร้ายต่อผิวหนังของเราซะแล้ว ในปัจจุบันนี้ มีโรคผิวหนังที่เป็นอันตรายอยู่มาก เช่น โรคผิวหนังอักเสบที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งอันที่จริงแล้ว ผิวหนังของคนเรานั้น ก็มีเชื้อแบคทีเรียอาศัยอยู่เหมือนกัน เรามักเรียกกันว่าเป็นเชื้อประจำถิ่น ที่โดยปกติจะไม่ทำให้เกิดโรค แต่ถ้าร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงสภาพของผิวหนังผิดไปจากเดิม เช่น มีดบาดจนทำให้เกิดรอยแผล ตะปูตำเท้า หรืออาจจะมีโรคผิวหนังอื่นๆ อยู่ก่อน บางคนอาจจะมีสุขอนามัยที่ไม่ดี ภูมิต้านทานต่ำ ก็จะทำให้เชื้อเหล่านี้ มีโอกาสทำให้เราเกิดโรคผิวหนังได้ และโรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียที่พบมาก ได้แก่ แผลพุพอง  ซึ่งเป็นการติดเชื้อของชั้นหนังกำพร้า ส่วนใหญ่จะเกิดจากเรามีสุขอนามัยไม่ดี ซึ่งบาดแผลจะเกิดขึ้นที่ใบหน้าบริเวณ รอบๆ จมูกนั่นเอง

…………………………………………………….

บางคนทนไม่ไหว ก็ต้องแกะต้องเกาจนเป็นผื่นแดงเล็กๆ ต่อมาก็กลายเป็นตุ่มน้ำพองใส และมีน้ำเหลืองไหล พอแผลแห้ง ก็จะตกเป็นสะเก็ดเหลืองๆ เกาะที่แผล ถ้าเกิดบริเวณหนังศรีษะ เราจะเรียกว่าชันนะตุ ซึ่งถ้าหากปล่อยไว้นานแผล ก็อาจลุกลามขยายใหญ่ขึ้น และเข้าสู่กระแสเลือดได้ หากมีแผล ก็ควรล้างทำความสะอาดบาดแผล แล้วใช้ยาทาฆ่าเชื้อประมาณ 7-10 วันก็เพียงพอ ในบางรายถ้าอาการหนัก อาจจะต้องกินยาเพิ่มด้วย

 

เนื้อหาโดย Dodeden.com

เรื่องน่าสนใจ