นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พร้อมด้วย นพ.บัลลังก์ อุปพงษ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และ ดร.นพ.อาชวินทร์ โรจนวิวัฒน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข แถลงข่าวการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด 19 และการกลายพันธุ์ของเชื้อ ว่า โควิด 19 สายพันธ์โอมิครอน เป็นสายพันธุ์หลักของการระบาดทั่วโลก องค์การอนามัยโลกจัดให้ BA.4 และ BA.5 เป็นสายพันธุ์ที่ต้องจับตาดู (VOC-LUM) ในหลายประเทศพบสัดส่วนของ BA.5 เพิ่มขึ้น
จากการสุ่มเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิดในประเทศไทย ขณะนี้ ร้อยละ 53.79 ยังคงเป็นเชื้อ โอมิครอน BA.2 รองลงมา คือ โอมิครอน BA.4/BA.5 ร้อยละ 45.71 และร้อยละ 0.51 เป็นเชื้อโอมิครอน BA.1 วันนี้( 24 มิ.ย.65) นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พร้อมด้วย นพ.บัลลังก์ อุปพงษ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และ ดร.นพ.อาชวินทร์ โรจนวิวัฒน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข แถลงข่าวการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด 19 และการกลายพันธุ์ของเชื้อ ว่า โควิด 19 สายพันธ์โอมิครอน เป็นสายพันธุ์หลักของการระบาดทั่วโลก องค์การอนามัยโลกจัดให้ BA.4 และ BA.5 เป็นสายพันธุ์ที่ต้องจับตาดู (VOC-LUM) ในหลายประเทศพบสัดส่วนของ BA.5 เพิ่มขึ้น
จากการสุ่มเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิดในประเทศไทย ขณะนี้ ร้อยละ 53.79 ยังคงเป็นเชื้อ โอมิครอน BA.2 รองลงมา คือ โอมิครอน BA.4/BA.5 ร้อยละ 45.71 และร้อยละ 0.51 เป็นเชื้อโอมิครอน BA.1
โดยข้อมูลระหว่างวันที่ 18 – 22 มิถุนายน 2565 สุ่มพบสายพันธุ์โอมิครอน BA.4 และ BA.5 ในประเทศไทย จากการตรวจเบื้องต้น 181 ราย ซึ่งมีการตรวจยืนยันด้วยการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัว (WGS) และรายงานเข้าสู่ระบบฐานกลาง GISAID 81 ราย ส่วนใหญ่พบผู้ติดเชื้อในกรุงเทพมหานคร เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีการสุ่มตัวอย่างมาตรวจมากที่สุด ทำให้จำนวนรวมตั้งแต่ 14 พฤษภาคม – 22 มิถุนายน พบ BA.4 และ BA.5 ในประเทศไทยแล้ว 214 ราย ซึ่งต้องดูแนวโน้มไปอีก 2 – 3 สัปดาห์ต่อจากนี้ โดยจะร่วมมือกับกรมการแพทย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหากพบว่ามีผู้ป่วยติดเชื้ออาการหนักเข้ารักษาในโรงพยาบาลขอให้ส่งตัวอย่างเชื้อมาถอดรหัสพันธุกรรมที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อย่างไรก็ตาม หากต่อจากนี้มีการพบผู้ป่วยติดเชื้อที่มีอาการรุนแรงมากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญก็อาจจะต้องทำให้มีการพิจารณามาตรการบางอย่างที่เข้มขึ้น
นพ.ศุภกิจ กล่าวต่ออีกว่า BA.4 และ BA.5 มีการกลายพันธุ์ในตำแหน่ง L452R ซึ่งเป็นตำแหน่งเดียวกันกับที่พบการกลายพันธ์ในสายพันธ์เดลต้า จากข้อมูลพบว่ามีความสามารถในการแพร่เชื้อเพิ่มขึ้น และหลบภูมิคุ้มกันได้มากขึ้น ส่วนความรุนแรงยังไม่สามารถยืนยันได้ว่ารุนแรงขึ้น อย่างไรก็ตามข้อมูลจากผลวิจัยทางห้องปฏิบัติการพบว่า เชื้อ BA.4 และ BA.5 ทำลายปอดและมีอาการปอดอักเสบได้ง่ายขึ้น แต่ข้อมูลทางคลินิกยังไม่มีหลักฐานเพียงพอ
ในหลายประเทศ พบการเพิ่มจำนวนของ BA.5 เพิ่มขึ้น ส่วน BA.4 และ BA.2.1.2 มีแนวโน้มลดลง ส่วนอัตราการแพร่เร็วของสายพันธุ์ BA. 4 และ BA.5 ข้อมูลที่มีในปัจจุบัน พบชัดเจนว่าสายพันธุ์ดังกล่าวแพร่เร็วกว่าเดิม ประมาณ 1.5 เท่าเมื่อเทียบกับ BA.2 เป็นการพบในห้องปฏิบัติการ โดยพบอีกว่า แอนตี้บอดี้ทำลายเชื้อ BA. 4 และ BA.5 ได้น้อยลง ส่งผลทำให้ยารักษาบางชนิด ที่ต้องตอบสนองกับยาที่กระตุ้นภูมิคุ้มกันน้อยลงไปด้วย
ทั้งนี้ คนที่เคยติดเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์อื่นก่อนหน้านี้ อาจจะติดเชื้อซ้ำสายพันธุ์ BA .4 และ BA.5 ได้ แต่หากได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นจะทำให้ร่างกายมีภูมิสู้กับเชื้อได้ดีกว่าคนที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน ดังนั้นการมารับวัคซีนเข็มกระตุ้นเพื่อให้มีภูมิคุ้มกันสูงมากพอยังมีความจำเป็น ช่วยลดความรุนแรงของเชื้อได้ รวมถึงมาตรการการป้องกันตนเองที่เหมาะสม เช่น การสวมหน้ากากในสถานที่แออัด การล้างมือ
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวต่ออีกว่า ขออย่าตื่นตระหนกและกังวลจนเกินไป เพราะกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกระทรวงสาธารณสุขได้มีการเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการรายงานผลการตรวจเฝ้าระวังสายพันธุ์ขึ้นระบบฐานข้อมูลกลาง GISAID โดยไม่ได้มีการปกปิดข้อมูล
สนใจหาข้อมูลและปรึกษาศัลยกรรมได้ที่นี่