ที่มา: Mananpat Lhin Seubbuk

จากกรณีตามสังคมออนไลน์ในช่วงนี้มักสนทนาเหตุการณ์บ้านเมือง และ ประวัติศาสตร์ โดยสมาชิกเฟสบุ๊ค คุณ Mananpat Lhin Seubbuk  ชวนคุยเรื่องประวัติศาสตร์ รัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 รัชกาลที่ 7 รัชกาลที่ 8 รัชกาลที่ 9 แล้วคำถามคลาสสิคจึงเกิดว่า “แล้วฮิวโก้พ่อเค้าคือใคร? พี่นึกว่า ปู่ฮิวโก้ คือพระอนุชา ร.6?”

 ดังนั้นจึงต้องเล่ายาวมากง่ายๆ ดังนี้ และคิดว่าต้องมีหลายคนเข้าใจเรื่องนี้แบบนั้น ( ไม่ราชาศัพท์หมดนะค่ะ เอาที่เขียนละเข้าใจ )

คุณตาทวดฮิวโก้ คือพระอนุชา ร.6 แต่เป็นพระเชษฐา ร.7  ทั้งหมดนี้เป็นพี่น้องท้องเดียวกัน คือมีพระมารดาเดียวกัน คือสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ครั้งเมื่อ ร.6 ทรงเสด็จสวรรคต (ซึ่ง ร.6 ไม่มีพระโอรส) ก็เลยต้องมีการหากษัตริย์มาสืบราชบังลังก์ต่อ…..

แต่คุณตาทวดฮิวโก้แต่งงานกับหม่อมคัทริน มีลูกออกมาเป็น “คุณตาฮิวโก้” (ตามภาพ) ตามกฎมณเฑียรบาลจึงหมดสิทธิ์ในการสืบราชบัลลังก์ต่อจาก ร.6 ทำให้ต้องตกมาอยู่ที่ ร.7

ร.7 ขึ้นเป็นกษัตริย์ ครั้งนั้นก็ทรงไม่มีพระโอรส หรือพระธิดาเลย ง่ายๆว่าไม่มีรัชทายาทในการสืบบังลังก์ตามสายเลือด

พอพระองค์ทรงสละราชบัลลังก์ ก็ทำให้ต้องมีการหากษัตริย์มาสืบราชบัลลังก์ต่ออีกครั้ง…. (โดยการต้องหาภาพประกอบมาตามข้างล่างเพื่อความเข้าใจ )

ตามสายหลักตอนนั้นพี่น้องร่วมท้อง ร.6 – ร.7 ไม่มีแล้ว (ไปหาอ่านกันเองยาวมาก) จะให้กลับมาหาคุณตาฮิวโก้ก็ไม่ได้เพราะตามจริงท่านมีแม่เป็นรัสเซีย (ตามเรื่องแคทยากับเจ้าฟ้าสยาม) ต้องเป็นสามัญชนด้วยซ้ำ แต่เพราะ ร.6 ทรงสงสารหลานคนนี้จึงแต่งตั้งเป็นเจ้าฟ้าด้วยความรักและเอ็นดู ทำให้สายนี้ต้องตกไป

ดังนั้นการสืบสันตติวงศ์จึงกลับมาสู่สายพระพันวัสสา (คือพระบรมราชเทวี=ภรรยาอีกคน ของ ร.5) นั่นคือพ่อของ ร.8-ร.9 ที่เสียไปแล้ว และอย่างที่ทราบกันคือในที่สุด … รัฐบาลในขณะนั้นก็จึงทูลเชิญ ร.8 ขึ้นครองราชบัลลังก์ ( อยากให้ทุกคนไปศึกษาประวัติศาสตร์ช่วงนี้ เพราะนับจริงๆ มันคือการกลับมาหาสายหลักดั่งที่เคยมี เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร) นั่นเอง )

สรุป คือ คุณตาฮิวโก้ก็แต่งงานกับยายฮิวโก้ คือหม่อมอาลิซะเบท มีลูกออกมาเป็น “แม่ฮิวโก้” ตามนั้นนะค่ะ ฮิวโก้สืบสายจักรพงศ์ตามแม่และคุณตา (ไม่ใช่ปู่นะจ้ะ) …. ซึ่งถ้าไม่นับว่ามีการข้ามสายเพราะเรื่องนี้ ฮิวโก้ ก็นับว่าเป็นเจ้านั่นล่ะ สายหลักด้วยไม่ผิดจ้า

จากเหตุการณ์นี้ทำให้เราจึงมี รัชกาลที่ 9 พ่อหลวงของพวกเรานั่นเอง

ส่วนใครอยากรู้ข้อมูลเพิ่มเติมไป วิกิพีเดีย กูเกิ้ล หาหนังสือมาอ่านเพิ่มค่ะ ถ้าสนใจเรื่องนี้แนะนำหนังสือค่ะ “เกิดวังปารุสก์” คุณตาฮิวโก้ท่านเป็นคนเขียน จะได้ข้อมูลละเอียด เรื่องประวัติศาสตร์สำคัญของไทย ทุกคนควรรู้ ควรอ่าน ควรมีเก็บไว้ … ลองอ่านเถอะค่ะสนุกและได้โลดแล่นย้อนไปในวัง แผ่นดินไทย ระบบการปกครองที่ฝังลึกจนทำให้เข้าใจเมืองไทย การปกครอง การเมือง เข้าใจอะไรเยอะมากที่ฝังรากในจิตใจคนไทยมาแสนนานค่ะ

vvvndx_hu2snh

vvvndx_jvgrc1

จุลจักร จักรพงศ์ ชื่อเล่น เล็ก มีชื่อจริงว่า ฮิวโก จุล อเล็กซานเดอร์ เลวี (อังกฤษ: Hugo Chula Alexander Levy) เกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2524 ที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นบุตรชายคนโตของหม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์ กับแอลเลน เลวี

ถือเป็นหลานตาของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ซึ่งเป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ฮิวโก้มีเชื้อสายไทย-อังกฤษ-รัสเซีย และสก็อตผ่านทางมารดา และเขายังมีน้องชายต่างบิดาหนึ่งคนคือ โดมินิก ภูวสวัสดิ์ จักรพงศ์

ในวัยเด็กฮิวโก้ได้ศึกษาที่โรงเรียนจิตรลดา จากนั้นไปเรียนต่อที่โรงเรียนชาร์เตอร์ เฮ้าส์ กรุงลอนดอน อนึ่งเนื่องจากจุลจักร จักรพงษ์ ใช้นามราชสกุลตามมารดา นามสกุลของเขาจึงไม่ใช้คำลงท้าย “ณ อยุธยา”

19102016_img_1476876239_420

6ljurl

rqmmv7-1

b2hr4s

ทั้งนี้ จอมพล สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ  ซึ่งเป็นท่านทวดของฮิวโก้นั้น

ทรงเป็นต้นราชสกุล “จักรพงษ์” เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 40 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่ 4 ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง และทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ (ท่านทวด) ทรงเสกสมรสกับพระชายาชาวรัสเซียชื่อ เอกาเทรินา (คัทริน) อิวานอฟนา เดนิตสกายา เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2449 ได้ทรงสมรสที่เมืองคอนสแตนติโนเปิล โดยที่ไม่ได้ทรงกราบทูลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ทรงทราบแต่ประการใด กับได้ทรงพาหม่อมคัทริน กลับเมืองไทยในปีเดียวกันนั้นเอง

imlys0

ในชั้นแรกทรงให้หม่อมคัทริน พักอยู่ที่เมืองสิงคโปร์เป็นการชั่วคราวก่อน ส่วนพระองค์ฯ ได้เสด็จกลับกรุงเทพฯ แต่พระองค์เดียว โดยเสด็จประทับอยู่ที่วังปารุสกวัน ครั้นต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ. 2449 ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนยศเป็นนายพันเอก และดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ

ในไม่นานก็มีข่าวลือมายังกรุงเทพฯ ว่ามีมาดามเดอพิษณุโลกอยู่ที่สิงคโปร์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนารถทราบ ทรงกริ้วเป็นที่สุด

โดยที่พระโอรสพระองค์นี้ทรงเป็นที่สนิทเสน่หาของสมเด็จพระราชบิดา และพระราชมารดาเป็นอย่างยิ่ง กลับทรงไปมีพระชายาเป็นชาวต่างชาติ ย่อมเป็นที่แสลงพระราชหฤทัย อันเนื่องด้วยพระราชประเพณีเป็นอย่างยิ่ง และเมื่อข่าวเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้ว พระองค์ฯ ก็จัดให้หม่อมคัทริน เดินทางมายังกรุงเทพฯ

ครั้นในปลายปี พ.ศ. 2450 นั้นเอง หม่อมคัทรินพระชายาของพระองค์ได้ประสูติโอรสเป็นชายพระองค์แรกและพระองค์เดียวคือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ (ท่านตา) ประสูติเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2450 ซึ่งนับเป็นพระราชนัดดาพระองค์แรกในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ

เมื่อขณะประสูติพระองค์ดำรงพระอิสริยยศเป็นหม่อมเจ้า ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าสถาปนาเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2463 พระโอรสของสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมขุนพิษณุโลกประชานารถ พระองค์นี้ได้นำความปลาบปลื้มปีติยินดีให้กับสมเด็จพระบรมราชินีนารถยิ่งนัก

ในปี พ.ศ. 2462 พระองค์ก็ได้ทรงหย่าขาดจากหม่อมคัทริน ขณะที่พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระโอรสมีพระชันษาได้ 12 ปี ได้อยู่กับพระบิดา

ncqtyg

เรื่องน่าสนใจ