การตัดกราม หรือ การผ่าตัดลดมุมกราม เป็นวิธีการปรับโครงสร้างใบหน้า สำหรับคนที่มีใบหน้าเหลี่ยม หน้าบาน หน้าใหญ่ ที่เกิดจากกระดูกขากรรไกร ให้มีใบหน้าที่เรียวเล็กลง และได้รูปมากขึ้น การตัดกรามมี 2 วิธีด้วยกัน คือ การผ่าตัดกรามในปากและการผ่าตัดกรามนอกปาก สำหรับคนที่กำลังตัดสินใจอยู่ว่าจะเลือกวิธีไหนดี มาดูกันค่ะ ว่าทั้งสองวิธีนี้มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
เป็นการเปิดแผลผ่าตัดบริเวณผิวหนังใต้มุมกรามเข้าไปที่มุมกระดูก ขากรรไกรโดยตรง แล้วใช้เครื่องมือแพทย์ที่มีลักษณะเป็นเลื่อยเล็ก ๆ ตัดแต่งกระดูกตามตำแหน่งที่ต้องการ หลังผ่าตัดอาจมีอาการบวมเล็กน้อยและไม่ต้องดูแลอะไรมาก แต่เนื่องจากวิธีนี้มีโอกาสกระทบกระเทือนต่อเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อมุมปาก อาจทำให้ปากเบี้ยวได้ชั่วคราว รวมถึงมีรอยแผลผ่าตัดบริเวณมุมกรามด้านนอกใต้ใบหู ความยาวประมาณ 2-3 ซม. ทั้งสองข้างด้วย จึงทำให้ความนิยมในการผ่าตัดวิธีนี้ลดน้อยลง อย่างไรก็ตาม โดยปกติรอยแผลผ่าตัดจะค่อย ๆ จางลง โดยใช้เวลาประมาณ 1-6 เดือนขึ้นไป ขึ้นอยู่กับสภาพผิวของแต่ละบุคคล
เป็นการเปิดแผลผ่าตัดบริเวณซอกเหงือกด้านข้างของฟันกราม แล้วเลาะแยกกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อที่ คลุมขากรรไกรไปยังมุมกระดูกขากรรไกร โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อมุมปาก จากนั้นตัดแต่งกระดูกมุมกรามโดยใช้เครื่องมือพิเศษที่สามารถเลื่อยกระดูกที่ต้องการตัดแต่งใน ซอกแคบ ๆ ได้ ซึ่งต้องอาศัยความชำนาญของศัลยแพทย์เป็นพิเศษ แต่เนื่องจากวิธีนี้สามารถ เปิดแผลผ่าตัดได้ยาวกว่า จึงสามารถตัดแต่งกระดูกได้ตลอดแนวกระดูกขากรรไกร ทำให้ ได้มุมกรามที่เรียบเนียนและโค้งมน หลังผ่าตัดอาจมีอาการบวมและมักอ้าปากไม่ได้ ประมาณ 5-10 วัน ให้ประคบเย็นในช่วง 2-3 วันแรกหลังผ่าตัด อาจมีอาการ ปวดแผลหรือหูอื้อเล็กน้อยซึ่งจะเป็นอยู่ชั่วคราวและหายไปได้เอง การผ่าตัด วิธีนี้รอยแผลผ่าตัดจะอยู่ภายในช่องปาก บริเวณเหงือกด้านข้างของ ฟันกราม จึงไม่มีรอยแผลเป็นให้เห็นภายนอก
ปัจจุบันการตัดกรามในปากเป็นวิธีที่แพทย์ส่วนใหญ่แนะนำ และคนไข้นิยม เนื่องจากไม่มีความเสี่ยงในการโดนเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อมุมปาก สามารถตัดแต่งมุมกรามได้เรียบเนียนและโค้งมนกว่า และไม่มีรอยแผลเป็นให้เห็น อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจปรับโครงสร้างใบหน้าด้วยการผ่าตัดลดมุมกรามนะคะ