กินผักเยอะเกินไปก็เสี่ยงโรคได้

fresh fruits and vegetables

หลายๆคนคงมีความเชื่อว่า “การกินผักเยอะๆ ทำให้สุขภาพดี” ซึ่งเป็นเรื่องจริงเพราะ ผักอุดมไปด้วยแร่ธาตุ และวิตามินหลายอย่างที่ร่างกายมนุษย์ต้องการ และที่ขาดไม่ได้คือ ไฟเบอร์ (Fiber) ซึ่งมีประโยชน์ในกระบวนการย่อยอาหาร และยังช่วยในการลดน้ำหนัก เพราะจะทำให้รู้สึกอิ่มเร็ว และนาน แต่อย่างไรก็ตาม การได้รับประทานไฟเบอร์มากเกินไปอาจทำให้มีความเสี่ยงต่อความผิดปกติอย่างโดยที่เราไม่รู้ตัว

1. ท้องเสีย ประโยชน์ของไฟเบอร์ที่ลืมไม่ได้คือ การเพิ่มความเร็วในระบบย่อยอาหาร แต่การรับประทานไฟเบอร์ในปริมาณมากอย่างเฉียบพลันนั้น ทำให้ร่างกายไม่มีเวลาในการปรับตัว ซึ่งส่งผลให้ความเร็วในการย่อยเร็วกว่าปกติ และนำไปสู่อาการท้องเสีย2. ท้องผูก ในกรณีที่รับไฟเบอร์มากไปโดยที่ไม่ดื่มน้ำให้เพียงพอนั้น อาจทำให้เกิดปัญหาในลำไส้ได้ ในระบบการย่อยอาหารต้องการของเหลวที่ทำให้สสารในการเคลื่อนย้ายให้สะดวกขึ้น การที่มีของเหลวไม่เพียงพอนั้น ทำให้ลำไส้ไม่สามารถทำงานได้ดี และนำไปสู่อาการท้องผูก3. เกิดแก๊ซในลำไส้  เกิดจากปฏิกิริยาของแบคทีเรียตามธรรมชาติในระบบย่อยอาหาร ซึ่งอาจจะทำให้ไม่สบายตัวขณะอยู่นอกบ้าน4. การอุดตันของลำไส้ การอุดตันนั้นอาจเกิดขึ้นเมื่อรับประทานไฟเบอร์มาก และรับประทานน้ำในปริมาณน้อยเกินไป ทำให้ไฟเบอร์ไปอุดตันในสำไล้ ซึ่งจะทำให้อาหารอื่นไม่สามารถผ่านได้ และ อาจจะนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่รุนแรงซึ่งต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

5. มะเร็งลำไส้ หลายคนอาจกำลังสงสัยว่าทำไมถึงเกิดปัญหานี้ เนื่องจากระบบย่อยอาหารของมนุษย์สามารถย่อยไฟเบอร์ได้ยาก ซึ่งช่วยในการกำจัดไขมันที่เกาะอยู่ในลำไส้โดยการปาดผิวลำไส้ให้ไขมันติดออกมา ถ้าหากได้รับไฟเบอร์มากไป อาจทำให้เกิดการเสียดสีมากเกินไป และอาจทำให้เกิดแผลในลำไส้ และนำไปสู่การเกิดมะเร็งในที่สุด

วิธีการหลีกเลี่ยงที่ดีที่สุดคือหลีกเลี่ยงการเพิ่มปริมาณการรับประทานผักอย่างรวดเร็ว ควรเพิ่มปริมาณเป็นลำดับ และการดื่มน้ำอย่างพอเพียงซึ่งอย่างน้อยไม่ควรต่ำกว่า 8 แก้ว

ชนิดของผักที่ก่อให้เกิดกรดออกซาลิก เรียงจากมากไปน้อย ( มิลลิกรัม ต่อ ผัก 100 กรัม )


 1. ผักชีฝรั่ง     1,700 มิลลิกรัม
 2. มันสำปะหลัง    1,260 มิลลิกรัม
 3. ใบชะพลู  1,088 มิลลิกรัม
 4. ผักโขม    970 มิลลิกรัม
 5. ยอดพริกชี้ฟ้า    761  มิลลิกรัม
 6. หัวไชเท้า                 480 มิลลิกรัม
 7. ใบกระเจี๊ยบ      390 มิลลิกรัม
 8. ใบยอ    388 มิลลิกรัม
 9. ผักปัง    386 มิลลิกรัม
10. แพงพวย     244 มิลลิกรัม

ผู้บริโภคตะลึง ผลวิจัยสะท้านวงการ ซีพีเตือน กินผักไม่ดี มีโทษถึงตาย ผักชีฝรั่ง นำชัยคว้าตำแหน่งสุดยอดผักยมทูต

เคยได้ยังคุณพ่อคุณแม่พร่ำบอกให้พวกเรา ทานผักให้มาก ๆ เพื่อสุขภาพที่ดี และเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่กระนั้น การทานผักบางชนิด ตลอดจนการทานในปริมาณที่มากจนเกินไป อาจมีโทษต่อร่างกายได้  เพราะผักบางชนิดที่สะสมในตัวคนเรา จะนำไปสู่สภาวะปัสสะวะเป็นเลือดได้

ศูนย์ผู้บริโภคซีพีเอฟ ในเครือบริษัทเจริญโภคภัณฑ์จำกัด มหาชน พบว่า ในส่วนของใบ ยอด และต้นอ่อนของผักในหลายประเภท จะมีกรดชนิดหนึ่งในผักบางจำพวก ชื่อว่า กรดออกซาลิก ( Oxalic Acid ) ซึ่งหากรับประทานเข้าไปในร่างกายแล้ว กรดชนิดนี้ จะไปจับตัวรวมกับแร่ธาตุบางชนิด เช่น โซเดียม , แมกนีเซียม , แคลเซียม และ โปรแตสเซียม จนกลายเป็นผนึกออกซาเลตประเภทต่าง ๆ ( ชื่อเรียกจะเปลี่ยนไปตามชนิดของแร่ธาตุที่กรดไปจับตัวด้วย ) ซึ่งผนึกเหล่านี้เอง จะเป็นตัวการสำคัญให้เกิดภาวะ โรคนิ่ว ในไต และ ในกระเพาะปัสสะวะ โดยการอ้างอิงจากผลวิจัย ห้องปฏิบัติการกองโภชนาการกรมอนามัย

กรดออกซาลิกนั้น ปกติแล้วสามารถเกิดขึ้นเองได้จากกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกาย หรืออาจจะมีแคลเซียมออกซาเลต ( แคลเซียม + ออกซาลิก ) เกิดขึ้นเมื่อรับประทานวิตามินบางชนิดต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ๆ ที่พบมากคือ วิตามิน ซี

ร่างกายมีความสามารถในการขับลิ่มต่าง ๆ เหล่านี้ได้ด้วยตนเองทางการปัสสะวะ หากผนึกก้อนนั้นมีขนาดเล็ก แต่ถ้าหากว่าผนึกก้อนนั้น ๆ มีขนาดใหญ่เกินกว่าจะขับออกมาได้ เช่นขนาดเท่าเม็ดถั่ว จะสร้างความเจ็บปวดหรือความระคายเคืองต่อผู้ที่เป็นโรคนิ่วได้ อาการที่พบคือ ปวดท้องบริเวณเอว สีข้าง มาก หรือ ปัสสะวะติด ๆ ขัด ๆ  มีการติดเชื้อภายใน ตลอดจนการปัสสะวะออกมาเป็นเลือด หากผู้ป่วยกำลังทานยาละลายลิ่มเลือดสำหรับโรคหัวใจอยู่ อาจทำให้เลือดออกไม่หยุดถึงขั้นเสียชีวิตได้

ขอบคุณที่มา unlockmen.com , teenkan.com

 

 

เรื่องน่าสนใจ