ที่มา: มติชน

หลังจากในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงเปิดการก่อสร้างทางรถไฟครั้งแรกในสยามเมื่อ 9 มีนาคม 2434 โดยวางรางมุ่งสู่อีสานเป็นปฐมบทและตามด้วยสายเหนือ


การสร้างทางรถไฟ ขึ้นเหนือคืบหน้าเป็นช่วงๆ ตามแผนงาน ความท้าทายมาถึงจุดสูงสุด เมื่อต้องเจาะภูเขาทำอุโมงค์ เพื่อให้ทางรถไฟวิ่งลอด ปลายทางคือเมืองเชียงใหม่ บริเวณที่ต้องเจาะเพื่อให้ทางรถไฟลอด ชื่อดอยขุนตานเป็นพื้นที่ระหว่าง อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง ทะลุไปยัง อ.แม่ทา จ.ลำพูนบ้าน ขุนตานในอดีต (ปัจจุบันเป็นอุทยานแห่งชาติดอยขุนตาน)

act03270458p1

เป็นพื้นที่ทุรกันดาร ป่าไม้รกทึบ การขนส่งลำเลียงวัสดุก่อสร้างต้องใช้ช้างลากบ้าง บรรทุกเกวียนบ้าง ใช้เชือกชักรอก เครื่องจักรทุ่นแรงคงไม่ต้องพูดถึงจะ ยากลำบากแค่ไหนก็ต้องเดินหน้าต่อไป ต้องเจาะ ต้องขุด หยุดไม่ได้ สมัยก่อนการเดินทางจากเชียงใหม่มากรุงเทพฯ ต้องล่องเรือมาตามลำน้ำปิงเท่านั้น ใช้เวลานับเดือน

ถ้ำ ขุนตานเป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอดที่มีความยาวที่สุดในประเทศไทย ยาว 1,362.15 เมตร ออกแบบควบคุมการเจาะโดยวิศวกรชาวเยอรมัน ชื่อ มร.เอมิล ไฮเซน โฮเฟอร์ ซึ่งได้เข้ารับราชการในกรมรถไฟหลวงเมื่อปลายสมัย ร.5 ในช่วงนั้น กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง ได้ว่าจ้างชาวเยอรมันทำงานเป็นช่างเทคนิค และงานในหน้าที่อื่นๆ เพื่อทำงานใหญ่ที่สุดในปฐพีสยามประมาณ 250 คน


01
มร.โฮเฟอร์บันทึกไว้ในหนังสือเรื่อง GERMAN RAILROAD MAN IN SIAM โดยพรรณนาการสร้างรถไฟสายเหนือและเจาะอุโมงค์ขุนตานว่า เนื่องจากทางสายนี้วางทอดไปตามป่าดงดิบ คนงานจึงเป็นไข้มาลาเรียและอหิวาต์ตายเป็นจำนวนพันคน ซึ่งร้อยละเก้าสิบที่ตายเป็นคนจีน แม้แต่ชาวเยอรมันโดยเฉพาะ มร.โฮเฟอร์ก็เป็นไข้มาลาเรียด้วยเช่นกันใช้คนงานจีนทำงานดิน ส่วนขุดเจาะภูเขาใช้คนงานจากภาคอีสาน เนื่องจากคนจีนไม่ยอมเข้าไปทำงานในอุโมงค์ เพราะคนจีนเหล่านั้นเชื่อว่าในอุโมงค์มีภูตผีปีศาจสิงอยู่จึงมีความกลัว

นอก จากอุปสรรคดังกล่าวแล้วยังมีอุปสรรคอื่นๆ อีก เช่น เสือมาคาบเอาคนงานไปกินตลอด แม้กระทั่งม้าและล่อที่เอาไว้ขี่ใช้งาน ซึ่งเอาไปขังไว้ในคอกในเวลากลางคืนก็ได้ถูกเสือมาขโมยเอาไปด้วย ถึงกับต้องขัดห้างบนต้นไม้ดักยิงเสือในเวลากลางคืน

วิธีการขุดเจาะในสมัยนั้นใช้แรงคนเจาะภูเขาหิน ฝังระเบิดเป็นช่วงๆ เข้าไปในภูเขาพร้อมกันทั้งสองด้าน โดยเจาะเข้าหากัน ใช้เวลา 8 ปีในการเจาะและขนดินออกมา และอีก 3 ปีสำหรับการผูกเหล็ก เทคอนกรีต ทำผนัง บุหลังคาถ้ำ กันน้ำรั่วซึม ในการสร้างทางรถไฟสายเหนือของสยาม ทำกันไป สอนกันไป ลองผิด ลองถูก คนงานที่ทำก็ไม่เคยเห็นอุโมงค์มาก่อน ในระหว่างก่อสร้างสงครามโลกครั้งที่ 1 ก็อุบัติขึ้น เหล็กก่อสร้างสะพานที่สั่งซื้อจากเยอรมนีไม่สามารถจัดส่งตามแผนงาน จึงต้องใช้ไม้เนื้อแข็งทำสะพานแทนในบางช่วง

นับว่าเป็นงานทางวิศวกรรมที่ยิ่งใหญ่ ท้าทายและยากที่สุดในแผ่นดินสยามก็ว่าได้ตัวอุโมงค์ที่เจาะแล้วมีความกว้าง 5.20 เมตร สูง 5.50 เมตรหลังจากเจาะถ้ำขุนตานมาได้ 4 ปี เรื่องตลกร้ายในสยามก็เกิดขึ้นสงคราม โลกครั้งที่ 1 ที่เกิดในยุโรป ทำให้กลุ่มวิศวกรชาวเยอรมันที่รับราชการในกรมรถไฟหลวงทั้งหมด ซึ่งกำลังขุดอุโมงค์ขุนตานอยู่ในป่าทุรกันดารของสยาม

รวมทั้ง มร.โฮเฟอร์ถูกจับเป็นเชลยศึกในฐานะชนชาติศัตรู ถูกคุมขังอยู่ในประเทศไทย 6 เดือน แล้วจึงถูกส่งต่อไปยังประเทศอินเดียอีก 2 ปี จึงได้ถูกส่งกลับเยอรมนีใน พ.ศ.2463 ต่อมาในปี พ.ศ.2472 มร.โฮเฟอร์จึงได้กลับมาไทยอีกครั้งหนึ่ง และจากนั้นก็ไม่ได้กลับประเทศเยอรมนีอีกเลย จนกระทั่งถึงแก่กรรมในปี พ.ศ.2505 ในประเทศไทย

เนื่องจาก มร.โฮเฟอร์เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเจาะถ้ำขุนตาน ทางการรถไฟแห่งประเทศไทยจึงได้บรรจุอัฐิไว้ที่หน้าผาถ้ำขุนตานทางด้านเหนือ เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้ระลึกถึงชื่อเสียงเกียรติคุณอันยิ่งใหญ่ชั่วนิจนิรันดร์ ตัวเลขที่ชาวไทยควรสนใจ คือ การก่อสร้างอุโมงค์ขุนตานเริ่มเมื่อ พ.ศ.2450 แล้วเสร็จใน พ.ศ.2461 รวมใช้เวลา 11 ปี ใช้งบประมาณแผ่นดิน 1,362,050 บาท ครับ
กล้าคิด กล้าตัดสินใจ กล้าลงมือทำ เพื่อบ้านเมือง ยังประโยชน์แก่ชนรุ่นหลัง จะมีแต่คนสรรเสริญ

สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น ชวนกันนั่งรถไฟขึ้นเหนือไปเที่ยวถ้ำขุนตานกันหน่อย ทัศนียภาพระหว่างทางก็เพลิดเพลินไม่น้อยครับ

เรื่องน่าสนใจ