ข้อควรรู้ หากคิดทำการศัลยกรรมเสริมหน้าอก

8354883_s-267x350

การผ่าตัดเสริมเต้านมเป็นการผ่าตัดที่ทำกันมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะถุงซิลิโคนที่ใช้ในปัจจุบันมีคุณภาพดี มีความปลอดภัยสูง ไม่มีผลต่อการให้นมบุตร และจากการศึกษาในระยะยาวพบว่าซิลิโคนไม่ได้ทำให้เกิดมะเร็งเต้านมมากขึ้น กว่าเดิม
ก่อนการผ่าตัด ขั้นตอนการปรึกษาแพทย์มีความสำคัญมาก ในการพิจารณาเลือกซิลิโคน และวิธีการผ่าตัดเสริมเต้านมให้เหมาะสมกับความต้องการ  ลักษณะรูปร่าง และการใช้ชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคล  โดยข้อพิจารณามีดังนี้ ขนาดที่ต้องการ และความเหมาะสม นอกจากนี้แพทย์จะทำการประเมิณตำแหน่งของแผลที่จะทำการผ่าตัด ความยาวของแผลศัลยกรรมมีขนาดเพียง 4-5 ซม. ทำให้เกิดแผลเป็นน้อยมาก  แนวแผลผ่าตัดที่นิยมทำกันมี 3 แนว คือ
แผลผ่าตัดตามแนวฐานเต้านม
– ข้อดี คือ เข้าถึงบริเวณส่วนลึกของเต้านมได้ง่าย, แผลซ่อนอยู่ที่ขอบเต้านมด้านล่าง
– ข้อเสีย คือ จะเห็นแผลอยู่บ้างในท่านอนหงาย ในช่วงแรกหลังผ่าตัด
แผลผ่าตัดตามแนวรอบวงปานนม
– ข้อดี คือ แผลเป็นที่เกิดขึ้นจะไม่เห็นเด่นชัด
– ข้อเสีย คือ การเข้าถึงบริเวณส่วนลึกของเต้านมทำได้ยากกว่า, อาจมีอาการชาที่หัวนมหลังผ่าตัด และจะมีแผลผ่าตัดรอบบริเวณวงปานนม
   
แผลผ่าตัดที่รักแร้

– ข้อดี คือ ไม่มีแผลผ่าตัดเกิดขึ้นที่เต้านมเลย แต่เกิดขึ้นที่รักแร้แทน
– ข้อเสีย คือ มีโอกาสที่ถุงซิลิโคนเคลื่อนหรืออยู่สูงเกินไปหลังผ่าตัดได้ เพราะการเลาะช่องใต้ เต้านมหรือใต้กล้ามเนื้อหน้าอกเพื่อใส่ถุงซิลิโคน ทำได้ยากกว่าเพราะอยู่ไกลกว่าปลายนิ้วมือแพทย์จะคว้านหรือเลาะได้ถึง จะต้องใช้เครื่องมือพิเศษช่วย
ตำแหน่งที่ซิลิโคนวางอยู่ในทรวงอก 
ตำแหน่งที่แพทย์จะวาวถุงซิลิโคนในทรวงอก สามารถทำได้ 2 ตำแหน่งคือ
* วางซิลิโคนเหนือกล้ามเนื้อหน้าอก ใต้เนื้อเต้านม
* วางซิลิโคนใต้กล้ามเนื้อหน้าอก

ชนิดและรูปร่างของซิลิโคนที่ใช้ 
     ปัจจุบันการใช้ถุงซิลิโคนเจล แบบกลม เป็นที่นิยม เนื่องจากมีความปลอดภัยและสามารถให้รูปทรงที่เป็นธรรมชาติ
การเลือกใช้ทรงหยดน้ำ tear drop (anatomical implant) จะได้ประโยชน์ และเหมาะสมในบางกรณีเท่านั้น
ภาพซ้าย เป็นการวางถุงซิลิโคนเหนือกล้ามเนื้อ จะทำให้แผลหายเร็ว ไม่เจ็บเท่ากับการวางใต้กล้ามเนื้อ แต่อาจเห็นขอบชัด
ภาพขวา เป็นการผ่าตัดใต้กล้ามเนื้อ ทำให้หน้าอกจะสวยเป็นธรรมชาติมากกว่า แต่ต้องใช้ระยะเวลาในการพักฟื้นนานกว่า
การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดเสริมหน้าอก
1. แจ้งแพทย์ทราบถึงประวัติการเจ็บป่วย การแพ้ยา โรคประจำตัว ยาและอาหารเสริมที่รับประทานอยู่ในปัจจุบันทั้งหมด
2. งดยากลุ่มแอสไพริน ,บลูเฟน ,วิตามิน อาหารเสริม และสมุนไพรทุกชนิด อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนผ่าตัด
3. หยุดสูบุหรี่อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนผ่าตัด
4. งดดื่ม สุรา แอลกอฮอล์ อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด
5. งดอาหาร น้ำ และเครื่องดื่มทุกชนิด ก่อนการผ่าตัดเป็นเวลา 6 – 8 ชั่วโมง
6. ตรวจสุขภาพ, เจาะเลือด และเอ็กซเรย์ปอด ก่อนผ่าตัด
7. ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ประมาณ 8-10 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด  สวมเสื้อผ้าที่มีกระดุมหน้า เพื่อความสะดวกต่อการสวมใส่หลังผ่าตัด
8. หลีกเลี่ยงการผ่าตัดช่วงมีประจำเดือน เพราะอาจมีปัญหาเรื่องการดูแลตัวเอง หลังผ่าตัด และเคลื่อนไหวไม่สะดวก
9. การศัลยกรรมทรวงอก (ใช้เวลาผ่าตัด 2 – 3 ชั่วโมง และ พักฟื้น 3 วัน จึงสามารถปฏิบัติงานได้)
10. ก่อนทำการผ่าตัดแพทย์จะทบทวนขนาด ตำแหน่ง และตำแหน่งของแผลก่อนทำผ่าตัดให้เช็คดูว่าตรงกับที่ต้องการหรือไม่
ขั้นตอนการเตรียมตัวหลังการผ่าตัดเสริมหน้าอก

1. เตรียมนัดผู้ที่จะมาเป็นเพื่อนในวันผ่าตัดรวมทั้งผู้ที่มาเป็นเพื่อนกลับ บ้านหรือช่วยขับรถกลับบ้าน หลังผ่าตัด 48 ชั่วโมงควรมีคนช่วยดูแลตลอดเวลาเพราะไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆได้ตามปกติ
2. ให้ทานยาตามที่แพทย์สั่ง ห้ามทานยาแอสไพริน หลังผ่าตัดอย่างน้อย 4 สัปดาห์ หรือตามแพทย์สั่ง
3. ห้ามสูบบุหรี่และงดดื่มแอลกอฮอล์ หลังผ่าตัดอย่างน้อย 4 สัปดาห์ (เป็นสาเหตุให้หน้าอกแข็ง)
4. ห้ามแผลโดนน้ำ/อาบน้ำโดยเด็ดขาดจนกว่าจะตัดไหมทั้งหมด ยกเว้นติดพลาสเตอร์ชนิดกันน้ำไว้
5. วันแรกหลังผ่าตัด แพทย์จะเอาสายระบายน้ำเหลืองออก แล้วคลายผ้าพันแผลให้หลวม ให้ใส่ชุดชั้นในแบบสปอร์ตบราหรือแบบไม่มีโครงเท่านั้น  ควรใส่บราทั้งกลางวันและกลางคืนในช่วงสัปดาห์แรกหลังผ่าตัด
6. หลังผ่าตัด7 วันจะนัดมาทำการตัดไหมและตรวจเต้านม เริ่มทำการนวดวันละ 10-15 นาที อย่างน้อย 2 หนต่อวันขณะอาบน้ำ ควรนวดคลึงเต้านมบ่อยๆอย่างน้อย 6 เดือนเพื่อป้องกันปัญหาโพรงที่ใส่ถุงนมมีการหดรัดรอบถุง ทำให้เต้านมแข็งหดเป็นก้อน
7. ไม่ควรยกของหนัก หรือออกกำลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อหน้าอก ประมาณ 2 สัปดาห์

ขอบคุณข้อมูลจาก www.yosayaclinic.com

ป้ายกำกับ:

เรื่องน่าสนใจ