คีลอยด์หลังเจาะหู ภาวะนี้เกิดได้กับทุกคนหรือเปล่านะ? แล้วก้อนแบบนี้ จะใหญ่โตขึ้นได้เรื่อยๆ หรือเปล่า? และมีวิธีการรักษาอย่างไร มาหาคำตอบกันค่ะ
หลังจากเจาะหูแล้วเกิดเป็นคีลอยด์ขึ้นมา จนลุกลามเป็นก้อนใหญ่โตอย่างที่เราเคยเห็นในข่าวกันบ่อยๆ นั้น สามารถพบได้บ่อยมากในบ้านเราค่ะ ด้วยเชื้อชาติและกรรมพันธุ์ที่ค่อนข้างเซนซิทีฟ ซึ่งรูเจาะหูที่เล็กนิดเดียว แล้วเกิดเป็นคีลอยด์ก้อนใหญ่ได้นั้น ส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดจากการอักเสบ ส่งผลให้รูที่เจาะนั้นกลายเป็นก้อนที่ค่อยๆ ขยายใหญ่ขึ้นอย่างช้าๆ ซึ่งหากก้อนคีลอยด์นั้น ยังมีขนาดเล็ก สามารถรักษาด้วยการฉีดสเตียรอยด์ได้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วคุณหมอจะนัดฉีดซ้ำภายใน 1 เดือน จนกว่าจะยุบ แต่ถ้าก้อนเริ่มใหญ่มากแล้ว ใช้วิธีการฉีดไม่ได้ผล อาจจะต้องมีการผ่าตัดออกไปเลย แล้วฉีดสเตียรอยด์เดือนละครั้ง จนแน่ใจว่า ไม่ขึ้นซ้ำแน่นอน
แต่ก็มีบางรายที่ก้อนคีลอยด์กลับมาโตได้อีกหลังจากที่ผ่าตัดไปแล้ว การรักษาให้ได้ผล ก็ควรต้องรักษากับหมอศัลยกรร
ในบางราย คุณหมอก็อาจพิจารณาให้รับการรักษาด้วยเลเซอร์ที่มีความอ่อนโยนต่อผิว (Pulsed Dye Lasers) ซึ่งจะช่วยให้แผลเป็นคีลอยด์เรียบแบน และแดงน้อยลงได้ (ใช้กับคีลอยด์ที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก) ทั้งยังเป็นการรักษาที่ปลอดภัย และไม่ทำให้เจ็บมาก แต่อาจต้องทำหลายๆ ครั้ง และมีราคาค่อนข้างแพง
การรักษาด้วยความเย็นจัด
การรักษาแบบนี้ มักใช้กับคีลอยด์ที่ยังมีขนาดเล็ก เป็นการให้ก้อนคีลอยด์ได้สัมผัสกับความเย็นจากไนโตรเจนเหลว ซึ่งจะใช้วิธีการฉีดสเตียรอยด์ควบคู่กันไปด้วย จะช่วยให้คีลอยด์แบนเรียบลงได้ หากเริ่มรักษาตั้งแต่ระยะแรกๆ จะทำให้มีโอกาสหยุดการเติบโตของคีลอยด์ได้ด้วย
ฉีดอินเทอร์เฟอรอน
Interferon เป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง ที่ผลิตขึ้นโดยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ที่ช่วยกำจัดไวรัส แบคทีเรีย เชื้อโรค และสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ออกไป ซึ่งการฉีดโปรตีนตัวนี้ จะช่วยลดขนาดของคีลอยด์ได้
••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••
ในส่วนของการควบคุมอาหาร ก็มีส่วนช่วย
เนื้อหาโดย Dodeden.com