ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

อย. เดินหน้าจับเว็บไซต์โฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพเกินจริง ล่าสุดจับมือ บก.ปคบ. จับ 2 เว็บไซต์ (www.multilifeshop.com) โฆษณาขายผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์นมผึ้ง (Royal Jelly) Multi Life อวด สรรพคุณรักษาโรคไมเกรน ภูมิแพ้สรรพคุณมากมาย และเว็บ (www.marmui.com) โฆษณาขายผลิตภัณฑ์ยี่ห้อ Premium อวดสรรพคุณเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

จากการตรวจสอบ ทั้ง 2 แห่ง พบผลิตภัณฑ์ตามที่โฆษณาทาง เว็บ แจ้งดําเนินคดีผู้กระทําผิดข้อหาทั้งจําและปรับ เตือนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อผลิตภัณฑ์อาหารอวดสรรพคุณ เกินจริง อ้างรักษาได้สารพัดโรค ย้ํา!ผลิตภัณฑ์อาหารไม่ใช่ยารักษาโรค ขอให้ผู้บริโภคพิจารณาถี่ถ้วนก่อนซื้อ มิฉะนั้นอาจเสียเงินโดยไม่จําเป็น และเสียโอกาสในการรักษาโรค โรคอาจกําเริบ และเป็นอันตรายได้

01

กรณีเว็บไซต์ (www.multilifeshop.com) ตรวจสอบพบโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์นมผึ้ง (Royal Jelly) Multi Life อวดสรรพคุณรักษาโรคไมเกรน ภูมิแพ้สรรพคุณมากมาย แค่กระปุกเดียวเริ่มเห็นผล พบว่ามีหัวข้อการสั่งซื้อ การจัดส่งสินค้า และช่องทางการชําระเงิน ระบุชื่อบัญชีนายพีรพงษ์ อริยกวี

ผลการตรวจสอบพบการแบ่งบรรจุผลิตภัณฑ์อาหาร ผิดกฎหมาย คือ ผลิตภัณฑ์นมผึ้ง (Royal Jelly) ยี่ห้อ Multi Life แสดงฉลากไม่ถูกต้อง กล่าวคือ ไม่แสดงเลข สารบบอาหาร และจําหน่ายผ่านทางเว็บไซต์ซึ่งมีการโฆษณาสรรพคุณอาหารโดยไม่ขออนุญาตต่อสํานักงาน คณะกรรมการอาหารและยา

02

กรณีเว็บไซต์ (www.marmui.com) ตรวจสอบพบโฆษณาผลิตภัณฑ์ยี่ห้อ Premium ใช้ข้อความว่า “ทําให้สมรรถภาพดีขึ้น เพิ่มความถี่ในการมีเพศสัมพันธ์ได้เป็น 10 เท่า ยืดระยะเวลาการมีเพศสัมพันธ์ชะลอการ หลั่งเร็ว เพิ่มปริมาณฮอร์โมนทางเพศ ช่วยในรายที่มีบุตรยาก ใช้รักษาโรคพาร์กินสันด้วย”

พบการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารได้แก่กาแฟเม็ดหมามุ่ยสําเร็จรูปชนิด ผง Premium Coffee แสดงเลขสารบบอาหารปลอม (อย.10-2-16154-0052) และพบยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน ตํารับยา 2 รายการ คือ แคปซูลเม็ดหมามุ่ย Premium และแคปซูลถังเช่าแห่งหิมาลัย100% Asia Herb ซึ่ง เจ้าของผลิตภัณฑ์รับว่าเป็นผู้ผลิตและจําหน่ายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวให้ลูกค้าทั่วไปทางเว็บไซต์และเป็นผู้โฆษณา โฆษณาขายผลิตภัณฑ์ยี่ห้อ Premium อวดสรรพคุณเพิ่มสมรรถภาพทางเพศดังกล่าวจริง

03

นพ.บุญชัย เลขาธิการฯ อย. กล่าวต่อไปว่า ผลิตภัณฑ์อาหารทุกชนิดจะไม่สามารถกล่าวอ้างรักษาโรค หรืออ้างว่ามีสรรพคุณทางยาได้ จึงขอเตือนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อผลิตภัณฑ์อาหารที่โอ้อวดสรรพคุณเกินจริง อ้าง รักษาได้สารพัดโรค เนื่องจากข้อความโฆษณาที่มีการอวดสรรพคุณในทางยาหรืออวดสรรพคุณรักษาโรค อย. จะไม่ อนุญาตให้โฆษณาแต่อย่างใด และจะมีความผิดตามกฎหมายอีกด้วย สําหรับผู้บริโภคก่อนตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ อาหาร ขอให้สังเกตฉลากของผลิตภัณฑ์ว่า มีการขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์อาหารหรือผลิตภัณฑ์ยา หากเป็น ผลิตภัณฑ์อาหาร จะแสดงเครื่องหมาย อย. บนฉลากพร้อมด้วยเลขสารบบอาหาร

เรื่องน่าสนใจ