ฉีดฟิลเลอร์แล้วมีปัญหา ผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามคาดหมาย ไม่ว่าจะดูล้นเกินไป หรือฉีดแล้วเกิดไม่ชอบใจ เกิดเอฟเฟคตามมา (จากฟิลเลอร์ปลอม) มาดูกันว่ามีหนทางแก้ไขอย่างไรบ้าง และวิธีที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเราคือวิธีใดค่ะ

การฉีดฟิลเลอร์ อาจจะดูว่าเป็นเรื่องง่าย ไม่ซับซ้อน แต่ในความเป็นจริงแล้ว การฉีดฟิลเลอร์นั้น ผู้ที่ฉีดจำเป็นจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับใบหน้าอย่างมาก เพราะใบหน้ามีเส้นเลือด เส้นประสาทที่เชื่อมโยงกันจำนวนมาก ทำให้การฉีดฟิลเลอร์ไม่ได้ง่ายแบบที่คิด เพราะหากฉีดผิดตำแหน่งหรือเกิดข้อผิดพลาดขึ้น ก็จะมีผลข้างเคียง ซึ่งในบางกรณีที่ร้ายแรง ก็ไม่สามารถแก้ไขได้ ในปัจจุบัน การฉีดฟิลเลอร์นั้นก็สร้างปัญหาให้กับหลายๆ คน ไม่ว่าจะเป็นการอักเสบ การไหล หรือการใช้ฟิลเลอร์ปลอมจนทำให้เกิดเอฟเฟคแย่ๆ ตามมา ซึ่งฟิลเลอร์ปลอมนั้นมี 3 แบบด้วยกัน คือ 

 

ฟิลเลอร์แบบที่ไม่สลาย
ฟิลเลอร์ชนิดนี้ เมื่อเราฉีดเข้าไปแล้ว ก็จะเกิดเอฟเฟคเป็นซิลิโคนแข็งๆ ภายใน 2-3 ปี และจะเริ่มคลำได้เป็นไตแข็งๆ ภายใน 4-5 ปี และก้อนแข็งๆ นั้นก็จะค่อยๆ เปลี่ยนรูปร่าง ทำให้จมูกผิดรูป ท้ายที่สุดก็ต้องไปผ่าตัดเพื่อขูดออกเพราะไม่สามารถฉีดให้สลายไปได้

ฟิลเลอร์แบบที่ไม่บริสุทธิ์
ฟิลเลอร์ชนิดนี้จะใกล้เคียงกับของแท้ เพียงแต่ว่ามันไม่สามารถสลายออกได้หมด และสร้างเอฟเฟคให้ร่างกายได้ นั่นก็คือพังผิดที่แสนจะขูดออกได้ยากนี่แหล่ะค่ะ เพราะเราต้องฉีดมันเรื่อยๆ ฉีดจนเป็นพังผืด ต้องไปขูดออก

ฟิลเลอร์ปลอมไม่ได้มาตรฐาน
ฟิลเลอร์ชนิดนี้ ส่วนใหญ่มักอยู่ได้ไม่นาน และเป็นฟิลเลอร์ที่ทำให้ร่างกายพังได้มากที่สุด (เกิดการอักเสบ บวมแดง เป็นหนอง)

ฉีดฟิลเลอร์แล้วไม่ได้ดั่งใจ
ภาพจาก nosejung

ผลข้างเคียงของการฉีดฟิลเลอร์

ฉีดฟิลเลอร์ผิดตำแหน่ง
อาจเกิดจากการฉีดฟิลเลอร์ลึกมากเกินไป หรือฉีดตื้นมากเกินไป

อาการบวม
จะพบมากในกรณีที่ฉีดฟิลเลอร์เพื่อเติมร่องใต้ตา แล้วเกิดการอุดตันกับทางเดินน้ำเหลือง ซึ่งผลที่ตามมาก็คือทำให้ใต้ตาดูบวม เหมือนกับมีถุงใต้ตา

ผิวไม่เรียบ
หรือเป็นก้อน ส่วนใหญ่พบในกรณีที่ฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้มหรือบริเวณใต้ตา ตื้นมากเกินไป

ฉีดแล้วเห็นเส้นเลือดฝอย
มักเกิดจากการฉีดฟิลเลอร์แล้วไปอุดตันเส้นเลือดฝอย มักจะพบจากการฉีดจมูก หรือบริเวณปลายจมูก

เนื้อบริเวณนั้นดูขยายใหญ่ขึ้น
มักเกิดจากการฉีดฟิลเลอร์หลายๆ ครั้ง จนทำให้เกิดพังผืดที่บริเวณนั้นมากขึ้นเรื่อยๆ

ซึ่งในปัจจุบัน การนำฟิลเลอร์ออกจากร่างกายนั้น สามารถทำได้หลายวิธี ทั้งการเจาะออก เลาะออก ดูดออก หรือขูดออก ซึ่งความเหมาะสมของแต่ละเคสนั้นก็อยู่ที่ความยากง่าย และความเสี่ยงหลายประการที่คุณหมอผู้รักษาจะต้องเป็นคนประเมินค่ะ

••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••

สำหรับคนที่ได้รับผลกระทบจากฟิลเลอร์ เช่น การบิดเบี้ยว อาการบวม อักเสบ เนื่องจากฟิลเลอร์ที่ฉีดไม่ได้มาตรฐาน หรือทำโดยแพทย์ที่ไม่มีความชำนาญ และอยากเข้ารับการแก้ไข ก็ต้องมองหาสถานพยาบาลและแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านนี้เป็นพิเศษด้วยนะคะ ^^

 

เนื้อหาโดย Dodeden.com

เรื่องน่าสนใจ