ที่มา: voicetv

ภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ ที่เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์สึนามิที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี 2554 ส่งผลให้เกิดการปลดปล่อยสารกัมมันรังสีครั้งรุนแรงและเป็นอันตรายมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ ชาวเมืองฟุกุชิมะ จำเป็นต้องย้ายออกจากพื้นที่ประสบภัย และทิ้งที่อยู่อาศัยมาแล้วกว่า 4 ปี

Japan Nuclear Images

ตลอด 4 ปีที่ผ่าน รัฐบาลญี่ปุ่น ระดมแรงงานในโรงงานเดิมกว่า 2 หมื่นคน กำจัดร่องรอยกัมมันตรังสีจำนวนมาก ที่เป็นอันตรายต่อการดำรงชีวิต ในพื้นที่ขนาดกว่า 100 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมทั้งพื้นที่เมือง แหล่งน้ำ และสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ล่าสุด ภารกิจทำความสะอาดที่ยากลำบาก ใกล้บรรลุผลสำเร็จแล้ว แทบไม่น่าเชื่อว่า จะสามารถกำจัดร่องรอยกัมมันตรังสี ใส่ลงในถุงดำอย่างมิดชิด ได้มากกว่า 2 ล้าน 5 แสนใบ

article_d332572061746ad6_1364438400_9j-4aaqsk

แม้พื้นที่ในเขตชุมชนของฟุกุชิมะจะปลอดร่องรอยของกากกัมมันตรังสี ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นอาจประกาศให้พื้นที่ดังกล่าว เป็นเขตที่สามารถเข้ามาอาศัยได้ แต่ยังมีข้อกังวลว่า นี่เป็นแค่การกำจัดในระยะสั้น เนื่องจาก สภาพแวดล้อมโดยรอบหลายแห่ง เช่น พื้นที่ป่าไม้ ยังคงเต็มไปด้วยปริมาณรังสีที่เป็นอันตรายต่อการดำรงชีวิต

รัฐบาล เปิดเผยว่า ฟุกุชิมะยังเผชิญกับปริมาณรังสีที่มากกว่า 20 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี สูงกว่ามาตรฐานสากลที่กำหนดไว้ 1 มิลิซีเวิร์ต ต่อปีเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ หรือ IAEA ระบุว่า ปริมาณรังสี 20 มิลิซีเวิร์ตต่อปี ไม่อันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์

เรื่องน่าสนใจ