ทั่วโลกเรียกร้องให้ผู้คนในแอฟริกา ระงับการบริโภคเนื้อสัตว์ป่าซึ่งเป็นที่มาของเชื้ออีโบลา แต่นักวิจัยเชื่อว่าสาเหตุที่ทำให้อีโบลาระบาดหนักมากกว่าในระยะหลังคือการ ติดเชื้อจากคนสู่คน

ผู้สื่อข่าวต่างประเทศรายงานว่า หลังจากอีโบลาระบาดอย่างรุนแรง มีเสียงเรียกร้องให้ผู้คนในแอฟริกา ระงับการบริโภคเนื้อสัตว์ป่าซึ่งเป็นที่มาของเชื้ออีโบลา แต่นักวิจัยเชื่อว่าสาเหตุที่ทำให้อีโบลาระบาดหนักมากกว่าในระยะหลังคือการ ติดเชื้อจากคนสู่คน

12

โดยเนื้อสัตว์ป่าที่ว่านี้มีทั้งเนื้อของลิงชิมแปนซี กอริลลา ค้างคาว และลิงประเภทอื่นๆ แม้แต่งู หนู ซึ่งในบางพื้นที่ที่ห่างไกล เนื้อสัตว์เหล่านี้เป็นอาหารสำคัญสำหรับชาวบ้าน นักวิจัยยอมรับกันว่า สัตว์หลายอย่างมีเชื้อโรคต่างๆอยู่ในตัว

เช่นค้างคาว ทั้งขี้ค้างคาวรวมทั้งอาหารเช่นผลไม้ที่มันกินจะติดเชื้อจากมันไปด้วย และค้างคาวสามารถส่งต่อเชื้อโรคเหล่านี้ไปยังสัตว์ชนิดอื่นได้ เช่นลิงซึ่งอาจจะเจ็บป่วยล้มตายได้เช่นกัน ขณะที่ค้างคาวจะไม่เป็นอะไร

ซึ่งนักวิจัยกล่าวว่า คนเราสามารถรับไวรัสมาจากสัตว์พวกนี้ได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านอะไร แม้ว่าการติดเชื้อจากสัตว์โดยตรงทีเดียวนั้นไม่ง่าย เพราะว่าไวรัสจะต้องสามารถเข้าไปฝังตัวในเซลล์ที่มันจะขยายตัวได้เป็นอันดับ แรก คนที่จะติดเชื้อจากสัตว์ป่าได้น่าจะเป็นคนที่ไปล่าหรือไม่ก็แล่เนื้อสัตว์ นั้นๆ ไม่ใช่คนที่กินของที่สุกแล้ว

22

แต่เนื่องจากชุมชนเหล่านี้เป็นชุมชนที่กินเนื้อสัตว์ค่อนข้างมาก การพูดถึงการห้ามล่าและกินเนื้อสัตว์เพื่อระงับการระบาดของอีโบลาจึงเป็น เรื่องเป็นไปได้ยากมาก อีกอย่างหนึ่ง คนที่ล่าและกินเนื้อสัตว์ป่ามักเชื่อว่ามันเป็นอาหารที่มีคุณภาพและเป็น เรื่องยากที่จะเปลี่ยนความคิดของพวกเขา ที่กานา มีการล่าและกินเนื้อค้างคาวกันปีละกว่าแสนตัวแต่ละปี

ขณะเดียวกันผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ไม่ใช่ว่าคนที่กินเนื้อค้างคาวแล้วจะติดเชื้ออีโบลาทุกคน เพียงแต่ว่าเนื่องจากค้างคาวและสัตว์ป่ามีเชื้ออีโบลา จึงมีผู้เชื่อกันว่าสัตว์ป่าเหล่านี้เองเป็นที่มาของการระาดของอีโบลา ซึ่งการระบาดของอีโบลาเป็นจังหวะอันดีที่ทางการในประเทศในแอฟริกาจะห้ามการ ล่าและกินเนื้อสัตว์ป่า

อีกทั้งยังคงเป็นที่สงสัยว่า ทั้งๆที่อีโบลาระบาดขนาดหนักเช่นนี้เหตุใดผู้คนจึงยังล่าและกินเนื้อสัตว์ ป่ากันอยู่ แต่นักวิจัยบอกว่า การระบาดของอีโบลาไม่ได้มาจากการกินเนื้อสัตว์มากขนาดนั้น แต่มันเริ่มต้นและมาจากกรณีเดียว คือการระบาดจากค้างคาวไปยังเด็กสองขวบคนหนึ่งหมู่บ้านในประเทศกีนิ ครอบครัวของเด็กคนนั้นไปล่าค้างคาวมาสองชนิด ซึ่งทั้งสองชนิดมีอีโบลา แต่นักวิจัยบอกว่านั่นเป็นกรณีเริ่มต้น การระบาดหลังจากนั้นเป็นการติดต่อจากคนสู่คน ซึ่งเป็นวิธีการระบาดที่รุนแรงยิ่งกว่า

ที่มา tnews

เรื่องน่าสนใจ