ที่มา: Mcha-th.com

ไม่ว่าใครพอได้ยินคำว่า “สมุนไพร” อย่างแรกๆที่คงนึกถึงกันคงไม่พ้นสมุนไพร มิ้นท์หรือโรสแมรี ซึ่งคนส่วนมากคงได้ผ่านตาหรือรู้จักกันในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว บางทีสมุนไพรเหล่านี้ยังมีขาย ในร้านเฉพาะทาง หรือผสมอยู่ในใบชา อย่างในประเทศญี่ปุ่นเองก็มองว่าการนำสมุนไพรมาใช้เป็นเรื่องทันสมัยครับ 

แต่ถึงจะบอกว่าทันสมัย แต่เอาเข้าจริงชาวญี่ปุ่นมีการใช้สมุนไพรทำอะไรหลายๆอย่างมาตั้งแต่โบราณกาล ซึ่งหาพบได้ทั่วไปตามถนนหนทางครับ ในบทความนี้ทางเราได้หยิบยกสมุนไพรนามว่า “โดคุดามิ (บ้านเราเรียก คาวทอง)” มากล่าวถึงสรรพคุณให้คุณผู้อ่านได้รู้จักกันค่ะ ขึ้นชื่อว่าเป็นสมุนไพรก็จริง แต่ไม่ได้แปลว่าสมุนไพรจะหายากไปซะทุกชนิด เจ้าโดคุดามินี่มีทั่วไปทุกที่ หาได้ง่ายในประเทศญี่ปุ่นค่ะ 

109

110

เพราะไม่ว่าจะเป็นตามภูเขา หรือกระทั่งตามละแวกใกล้บ้านก็ยังมีหาง่ายขนาดนี้แปลว่า คุณผู้อ่านเองก็น่าจะหามาได้จากที่ใกล้ๆ ตัวเหมือนกับที่เราได้แสดงข้างต้นแน่นอนค่ะ ตัวใบโดคุดามิจะมีสีเขียวเข้ม รูปร่างคล้ายหัวใจ ส่วนดอกจะมีสีขาว บานในหน้าร้อนครับ พืชชนิดนี้ชอบอยู่ในที่มืดมากกว่า

ใครจะรู้ล่ะว่าเจ้าพืชที่ทุกคนต่างพยายามกำจัดทิ้งสามารถนำมาใช้เป็นสมุนไพรเพื่อการบำบัดรักษาได้ด้วย ชาวต่างชาติเองก็มีใช้สมุนไพรตัวนี้เช่นกัน ตัวชื่อสมุนไพร “โดคุดามิ” นี้จริงๆแล้วคำว่า โดคุ หมายถึง ยาพิษ แต่ไม่ได้หมายความว่าสมุนไพรนี้มีพิษนะ มันช่วยขับสารพิษออกจากร่างกายต่างหาก โดยวิธีการเตรียมสมุนไพรมาใช้บำบัดรักษาวิธีที่ง่ายที่สุดคือการนำมาทำเป็นชาค่ะ

สรรพคุณที่ได้จากสมุนไพรตัวนี้จะต่างกันไปในแต่ละคน อย่างเช่น ช่วยบรรเทาอาการท้องผูกในบางคน บางคนก็ว่าสุขภาพผิวดีขึ้นหลังจากดื่มก่อนเข้านอนทุกคืน จะกล่าวว่าสมุนไพรนี้เป็นสมุนไพรสำหรับคุณผู้หญิงก็ไม่ผิดเสียทีเดียวเพราะมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการท้องผูก และบำรุงสุขภาพผิว (แต่อย่าดื่มมากไปล่ะ อย่าลืมว่าชาเองเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ท้องผูกเสียเองด้วย)

111

 วิธีการทำชาโดคุดามิ (ชาคาวทอง)
ขั้นตอนการทำก็ไม่ยากเลยครับ ตามนี้

1. เก็บกิ่งโดคุดามิมา
2. ตัดใบโดคุดามิออกจากกิ่ง
3. ล้างให้สะอาด
4. นำมาตากแห้ง

112

พอใบแห้งจนแข็งแล้วให้ตัดเป็นชิ้นเล็กๆแล้วนำไปชงเป็นชาตามปกติ

113

เรื่องที่น่าฉงนเกี่ยวกับชาตัวนี้คือ พอนำไปตากแห้งแล้วชาจากสมุนไพรตัวนี้ กลับไม่หลงเหลือกลิ่นแบบที่มีตอนก่อนนำมาทำใบชาเลยค่ะ ต้นโดคุดามิสามารถหาได้ทั่วไปในฤดูใบไม้ผลิจนถึงฤดูใบไม้ร่วงที่ญี่ปุ่นเลย จะให้ดีควรเก็บในหน้าที่มีดอกมาทำชา ใครชอบดื่มแบบเย็นๆใส่น้ำแข็งลงไปก็ไม่เลวค่ะ

เรื่องน่าสนใจ