เนื้อหาโดย Dodeden.com

ส่วนใหญ่เรามักจะได้ยินแต่คําว่า IQ (Intelligence Quotient) หรือความฉลาดทางด้านสติปัญญา โดยเทียบจากอายุสมองเท่ากับอายุจริง และ EQ (Emotional Quotient) หรือความฉลาดทางอารมณ์ ซึ่งได้มีการพัฒนาแบบทดสอบที่เป็นมาตรฐานทางจิตวิทยาทั่วโลก นอกจากนี้ความฉลาดของมนุษย์ ยังมี AQ (Adversity Quotient) หรือความฉลาดในการแก้ปัญหา , SQ (Social Quotient) ความฉลาดในการเข้าสังคม, MQ (Moroll Quotient) ความฉลาดทางด้านจริยธรรม และ CG (Credive QuOfient) ความฉลาดในการริเริมสร้างสรรค์สิงใหม่ๆ ด้วยนะ

สําหรับตัวที่เชื่อมโยงกับหลักฐานทางพันธุศาสตร์มากที่สุดคือ IQ เพราะเกี่ยวกับสมองโดยตรง โดย IQ จะพัฒนาตั้งแต่ในยีนหรือจากพันธุกรรมของพ่อแม่ แล้วถ่ายทอดสู่ลูกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เพราะฉะนั้น หากพ่อแม่ฉลาด ลูกก็มีโอกาสที่จะฉลาดด้วยเช่นกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบการเลี้ยงดู และสิ่งแวดล้อมด้วย ซึ่งระดับ IQ ในคนปกติควรจะอยู่ที่ 90-110 ถ้าหากต่ำกว่าเกณฑ์นี้ ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยเพื่อกระตุ้นพัฒนาการทางสมอง ส่วน Q ตัวอื่นๆ ที่เหลือนั้น ส่วนใหญ่มักจะพัฒนามาจากการเลี้ยงดู การฝึกฝน และผ่านประสบการณ์ที่ยากลำบากมา ที่สําคัญคือต้องเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก

ตามที่เราเคยได้ยินกันมาว่า การพัฒนาด้านพฤติกรรม นิสัย และบุคลิกภาพ เพื่อกลายเป็นตัวตนของคนคนหนึ่งนั้น มักถูกหล่อหลอมมาจากพื้นฐานครอบครัว เนื่องจากเด็กๆ มักจะเลียนแบบพฤติกรรม นิสัย และการใช้อารมณ์จากพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดู แต่ถ้าอยู่ในวัยผู้ใหญ่แล้วล่ะ มีโอกาสจะปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพที่ไม่ดีบางอย่างบ้างมั้ย? คำตอบคือ การแก้ไขตั้งแต่วัยเด็กหรือก่อนอายุ 18 ปี มักจะดีกว่าและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตง่ายกว่า เนื่องจากพออายุ 18 มันก็จะหล่อหลอม กลายเป็นตัวตนหรือบุคลิกภาพถาวรของคนคนนั้นไป เพราะฉะนั้น หากสามารถแก้ไขได้ก่อนอายุ 18 ทุกอย่างจะปรับคืนมาได้ง่ายขึ้น

มีโรคอะไรบ้าง ที่เชื่อมโยงกับระดับ Q ต่ำ
ในทางจิตวิทยา แบบทดสอบความฉลาดนั้นเป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่งที่จะใช้วัดระดับความสามารถในด้านต่างๆ ของคนเราเท่านั้น อย่างไรก็ตาม Q ทุกตัวสามารถพัฒนาให้สูงขึ้นได้จากการเรียนรู้และฝึกฝนในวัยเด็ก แต่เมื่อชีวิตก้าวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่อย่างเต็มตัวแล้ว หากระดับ Q ต่ํ่ำกว่าเกณฑ์ปกติ ก็เป็นสัญญาณเตือนบอกความทุกข์ในชีวิตหรือความผิดปกติทางจิตใจ อาจต้องได้รับการวินิจฉัยว่าเข้าข่ายถึงขั้นเป็นโรคหรือไม่จากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งความผิดปกติของ IQ อย่างเดียวไม่สามารถบอกความผิดปกติทางจิตเวชได้ จะต้องตรวจซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจสภาพจิต เพื่อวินิจฉัยโดยผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับทางสมอง ปัจจุบัน Q อื่นๆ ที่เป็นหนึ่งในปัจจัยส่งผลให้เกิดโรคนั้น มักเกี่ยวข้องกับเรื่องของ EQ, AQ และ SQ ต่่ำ ซึ่งทําให้เกิดโรคทางด้านอารมณ์ พฤติกรรม อย่างเช่น โรคซึมเศร้า (Depressive Disorder) โรคไบโพลาร์หรือโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว (Bipolar Disorder) เป็นต้น

ส่วนการวินิจฉัย จะดูเฉพาะรายว่าผิดปกติถึงขั้นเป็นโรคมั้ย ถ้าเป็นโรค ก็ต้องพบจิตแพทย์ แต่หากมีความบกพร่องเล็กน้อย ไม่ถึงขั้นเป็นโรค การเข้ารับคําปรึกษาบําบัดจากนักจิตวิทยาก็เพียงพอแล้ว อย่างไรก็ตาม คนไข้ส่วนใหญ่ที่มาพบหมอ ไม่ได้มาด้วยเรื่องความฉลาด แต่เขาจะบอกถึงอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตัวเขามากกว่า ซึ่งจริงๆ แล้วที่มาที่ไป ก็เกิดจากความฉลาดทั้งหลายมันบกพร่องไปนั่นเอง ในทางการแพทย์พบว่าปัจจัยที่ส่งผลให้ Q ต่ำ หากไม่นับเรื่องพันธุกรรม ยังมีเรื่องของการเลี้ยงดูในวัยเด็ก สิ่งแวดล้อมรอบตัว และทางด้านชีวภาพ อย่างเช่น การใช้สารเคมีหรือสารเสพติดยังมีส่วนทําให้สมองและความสามารถในการควบคุมอารมณ์ การแก้ปัญหาต่างๆ ผิดปกติไป ซึ่งชีวิตปัจจุบันนั้น คนในสังคมเมืองต่างมีความเปราะบางมากขึ้น เครียดง่าย และวิตกกังวลสูง วัดได้จากจํานวนของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานครมีตัวเลขผู้ป่วยนอกที่มาเข้ารับบริการในโรงพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิต อยู่ในอัตราที่สูงสุดกว่าจังหวัดอื่นๆ อีกด้วย

หากในครอบครัวพบว่าคุณพ่อหรือคุณแม่ คนใดคนหนึ่งเป็นโรคไบโพลาร์ จะมีส่วนถ่ายทอดมาที่ลูกได้มากถึง 30% แต่หากเด็กได้รับการเลี้ยงดู ในสิ่งแวดล้อมและเติบโตมาอย่างดี ก็จะช่วยเพิ่มศักยภาพต่างๆ เหมือนเป็นเกราะป้องกันไม่ให้เป็นโรคนี้ได้เช่นกัน ในปัจจุบันเราพบว่าคนไข้ที่ป่วยด้วยโรคไบโพลาร์มักจะอยู่ในช่วงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น หรือช่วงที่เรียนมหาวิทยาลัยถึงเริ่มต้นวัยทํางาน โดยพบได้ทั้งชายหญิงเป็นจํานวนเท่าๆ กัน ในขณะที่โรคซึมเศร้า ผู้หญิงมีโอกาสเป็นได้มากกว่า แต่หากผู้ชายเป็นแล้วจะมีความรุนแรงของโรคมากกว่า และพบได้ตั้งแต่ผู้ป่วยวัยรุ่นตอนต้นขึ้นไป

สําหรับวิธีการรักษาทั้งสองโรคนี้ ต้องกินยาเป็นหลัก ซึ่งเป็นยาควบคุมสารสื่อประสาทในสมอง เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้เป็นปกติ และไม่ใช่ยากล่อมประสาทหรือยานอนหลับตามที่หลายคนเข้าใจ อีกทั้งต้องควบคู่ไปกับการรักษาด้านชีวภาพ สังคม และจิตใจ จะช่วยให้ผู้ป่วยหายได้เร็ว และดํารงชีวิต ได้อย่างเป็นปกติสุขมากยิ่งขึ้นค่ะ

 

เรื่องน่าสนใจ