ช่วงเวลาออกกําลังกาย ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกช่วงที่เหมาะสม เพราะในแต่ละวัน เราต่างมีกิจกรรมที่ต้องทํากันตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้น ยันตะวันตกดิน สําหรับคนที่เพิ่งเริ่มต้นหันมาออกกําลังกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพให้ดีขึ้นนั้น ข้อหนึ่งที่มือใหม่มักสงสัยคือ ควรออกกําลังกายช่วงเวลาไหนถึงจะดี เพราะไม่ว่าใครก็ตาม ย่อมต้องการผลลัพธ์ที่ดีต่อสุขภาพมากที่สุดกันทั้งนั้น

ออกกําลังกายเวลาไหน

 

ช่วงเวลาออกกําลังกาย ที่เหมาะสมเป็นผลดีต่อสุขภาพมากที่สุด !

ต้องบอกเลยว่า การออกกําลังกาย ไม่ว่าจะตอนเช้า หรือตอนเย็นก็มีประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งนั้น สามารถทํากิจกรรมได้ทั้งสองช่วงเวลา ขึ้นอยู่กับความสะดวกของเราเอง เพราะเอาเข้าจริงแล้ว แต่ละช่วงเวลาก็มีทั้งข้อดี ข้อด้อยอยู่ในตัว

อย่างในช่วงเวลาเช้าตรู่ ร่างกายพักผ่อนนอนหลับมาอย่างเต็มที่ เมื่อมีการออกกําลังกาย จึงช่วยเรื่องการเผาผลาญพลังงาน เพราะยังไม่ได้รับพลังงานเพิ่มจึงใช้ไขมันสะสมมาเผาผลาญ แต่ใช่ว่าตื่นมาแล้วจะไม่กินอะไรก่อนเลย ควรรองท้องมื้อเช้าเบาๆ อย่างขนมปังแซนวิชทูน่ากับนมถั่วเหลือง ก่อนราว 30 นาที โดยออกกําลังกายแบบคาร์ดิโอที่ไม่หนักมาก ด้วยการวิ่งจ๊อกกิ้ง ปั่นจักรยาน ประมาณ 30 นาที โดยมีข้อควรคํานึงอยู่ว่า ช่วงเช้า อุณหภูมิภายนอกและภายในร่างกายถือว่าเย็น ฉะนั้น ต้องวอร์มอัพนานหน่อย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการบาดเจ็บได้

เวิร์คเอาท์

สําหรับตอนเย็น ช่วงเวลา 16.00 – 19.00 น. นับเป็นเวลาที่เหมาะกับการออกกําลังกายมาก เนื่องจากมีพลังงานที่ตื่นมาในมื้อเช้าและกลางวัน บวกกับตลอดทั้งวันนั้น เราทํากิจกรรมต่างๆ อุณหภูมิร่างกายของคนเราจะสูงสุด ส่งผลให้กล้ามเนื้อขยายตัวและยืดหยุ่นสูง โอกาสที่จะเกิดการบาดเจ็บมีน้อย การออกกําลังกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรง สร้างกล้ามเนื้อ ฝึกความทนทาน จึงทําได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย

ในช่วงค่ำก่อน 4 ทุ่ม ยังพอออกกําลังกายได้อยู่ แต่ควรกะเวลาออกกําลังกายให้ห่างจากเวลานอนอย่างน้อย 4 ชั่วโมง เพราะร่างกายยังคงตื่นตัวจากฮอร์โมนที่หลั่งอยู่ ซึ่งอาจเป็นเหตุให้นอนดึกเกินไปได้

……………………………………………………………………………………………

ที่สุดแล้ว ถ้าอยากรู้ว่าตัวเองควรออกกําลังกายช่วงเวลาไหนดี ให้ทดลองจัดสรรเวลาที่สะดวก และเป็นไปได้มากที่สุด ตามตารางชีวิตสัก 3 สัปดาห์ แล้วประเมินตัวเอง จะช่วยให้พบคําตอบง่ายขึ้น สิ่งที่คํานึกถึง คือต้องฝึกอย่างถูกวิธี และความถี่ในการออกกําลังกาย ควรทําให้เหนื่อยระดับปานกลาง วัดจากการหายใจที่เร็วขึ้นกว่าปกติเล็กน้อย แต่ยังพูดคุยได้โดยไม่หยุดหอบ ระยะเวลาวันละ 30 นาทีในความถี่ 5 วันต่อสัปดาห์

 

 

เนื้อหาโดย Dodeden.com

เรื่องน่าสนใจ