ที่มา: dodeden

กรณีที่โลกออนไลน์พากันกระหน่ำแชร์ภาพช้างตัวหนึ่งหมอบกราบและใส่บาตรพระจนกลายเป็นที่ฮือฮาแก่ชาวเน็ต เพราะเหมือนช้างทำความเคารพ หมอบกราบพระสงฆ์นั้น วัดดังกล่าวคือสำนักสงฆ์วัดป่าอาเจียง บ้านหนองบัว ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ ที่มี  พระครู ดร.สมุห์หาญ ปัญญาธะโร เจ้าอาวาสสำนักสงฆ์ป่าอาเจียงดูแลอยู่

1473082082_14199681_912297455546648_6043600814588324005_n

ทั้งนี้ รายการต่างคนต่างคิด ทางอมรินทร์ทีวี ช่อง 34 ได้นำเอาทีมช่างภาพสารคดีมาออกรายการ โดยยืนยันว่าภาพช้างหมอบกราบและใส่บาตรพระนั้นเป็นการฝึกฝน ไม่ใช่เป็นตำนานช้างกับพระพุทธศาสนาเหมือนที่ร่ำลือกัน

ซึ่งการถ่ายทำสารคดีทุกครั้งก็ต้องมีการจัดฉากเพื่อให้ภาพออกมาสวยงาม ส่วนที่เป็นข่าวใหญ่โตนั้น เพราะช่วงแรกมีการแชร์ภาพพระกับช้างเท่านั้น จนกระทั่งมีเพจดังนำภาพเบื้องหลังมาลงในโซเชียลมีเดีย ซึ่งตนยืนยันว่าไม่ได้มีการนำเอาความศรัทธาดังกล่าวมาหากิน

302149-57b6d38f3764f

เพราะไม่มีใครมาถามตนสักคำว่าเรื่องราวดังกล่าวเป็นอย่างไร หากมีคนมาถามก่อนเรื่องก็คงไม่ใหญ่โต และหากใครนำภาพดังกล่าวไปสร้างเรื่องความศรัทธาเพื่อหารายได้ หรือ ไปบอกว่าเกิดปาฏิหาริย์ ตนก็จะเอาเรื่องด้วย สำหรับภาพที่มีการแชร์กันมากมายนั้นถูกถ่ายไว้เมื่อวันที่ 2 กันยายนที่ผ่านมานี่เอง ไม่ใช่ภาพในตำนาน

14256503_1460401433976373_1362334888_n

ด้าน พระครู ดร.สมุห์หาญ ชี้แจงว่า ตนไม่เคยนำเอาภาพดังกล่าวมาโฆษณาเพื่อเรียกศรัทธา หรือ บอกว่าเกิดปาฏิหาริย์ และทางวัดก็จะไม่ทำเรื่องแบบนี้เด็ดขาด ขณะที่สัตวแพทย์ระบุว่า ช้างเป็นสัตว์ที่ต้องระมัดระวัง เพราะหากช้างเกิดความรำคาญหรือเจอคนเยอะๆ ก็จะทำอันตรายคนได้ ซึ่งภาพที่ออกมาตนดูแล้วก็คิดว่าเป็นการฝึกฝนเหมือนการแสดงทั่วๆ ไป แน่นอน ไม่ใช่ปาฏิหาริย์

สำหรับช้างในภาพที่แชร์กัน คือ พลายมงคล อายุ 9 ปี, พลายยอดรัก อายุ 15 ปี และพังกำไลพร้อมด้วยลูกช้าง ซึ่งเจ้าช้างพลายมงคลนี่เองได้ถูกฝึกฝนให้แสดงความสามารถอย่างที่เห็นในภาพเท่านั้น และไม่ได้ส่งเสียงร้องคล้ายกับสาธุหลังได้รับพรจากพระสงฆ์เหมือนที่ร่ำลือกัน

14269824_1460401490643034_2124304052_n

เรื่องน่าสนใจ