ดื้อโบท็อกซ์ สายฉีดบ่อยต้องรู้ สู้ด้วยเคล็ดลับง่ายๆ ป้องกันการเกิดสภาวะเสี่ยง ที่อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของโบฯ ที่อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุเลยค่ะ
ฉีดโบฯ ถี่เกินไปหรือปริมาณมากเกินไป ร่างกายจะตอบสนองโดยสร้างภูมิคุ้มกัน (Anti-Body) ขึ้นมาต่อต้าน ทำให้ผลลัพธ์ครั้งต่อๆ ไปมีประสิทธิภาพน้อยลง หรืออาจไม่เห็นผลเลย นอกจากนี้ การฉีดโบฯ ที่ไม่มีคุณภาพ หรือโบฯ ปลอม มักไม่มีมาตรฐานการผลิต ส่งผลต่อประสิทธิภาพของตัวยา ทำให้โบฯ เสื่อมสภาพ
โรคประจำตัวบางชนิด
เช่น โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาจมีภูมิคุ้มกันต่อโบฯ ที่สูงกว่าปกติ ส่งผลให้มีประสิทธิภาพน้อยลง
พันธุกรรม
มีบทบาทต่อการตอบสนองของร่างกายต่อโบฯ บางคนอาจมีภูมิคุ้มกันต่อโบฯ ที่สูงกว่าคนปกติ
ยาบางชนิด
เช่น ยาต้านการอักเสบ ยาแก้แพ้ อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของโบฯ
วิธีป้องกันการดื้อโบฯ คือ ฉีดโบฯ ที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานในปริมาณที่เหมาะสม โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และเว้นระยะห่างการฉีดโบท็อกซ์ให้เหมาะสม ที่สำคัญอีกเรื่องคือ การฉีดสลับยี่ห้อจะทำให้โบดื้อเร็วมาก ควรฉีดยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งยี่ห้อเดียว จนกว่าจะไม่สามารถใช้ได้
ถ้าดื้อโบฯแล้ว ต้องจัดการยังไง?
ปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุของการดื้อโบฯ และหยุดฉีดโบฯ เป็นระยะเวลา 6 – 12 เดือน นอกจากนี้ การเพิ่มปริมาณโบฯ ที่ใช้ หรือเปลี่ยนชนิดของโบฯ ก็เป็นทางเลือกที่ดี ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
การดื้อโบฯ สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ การป้องกันที่ดีที่สุด คือ ฉีดในปริมาณที่เหมาะสม โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หากเกิดภาวะดื้อโบฯ ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางผิวหนัง เพื่อหาสาเหตุและวิธีแก้ไข