เนื้อหาโดย : โดดเด่นดอทคอม

ลองหยิบกระจกขึ้นมา ลองส่อง ดวงตาของตัวเองว่า ขาวสดใสหรือเปล่า? หรือ มีอาการ “ตาเหลือง” หากมีอาการดังกล่าวไม่ควรละเลยเด็ดขาด เพราะเป็นสัญญาณเตือนที่ว่าสุขภาพของเราเริ่มมีปัญหา นอกจากนี้อาการตาเหลืองบ่งบอกสาเหตุของ โรคดีซ่าน อีกด้วย

Woman eyes

หลายคนสงสัยว่าตาเหลืองเกิดจากอะไร? ตามปกติแล้วดวงตาของคนเราจะมีสีขาว แต่ถ้ากลายเป็นสีเหลือง นั่นอาจเป็นเพราะหลายสาเหตุ ได้แก่ โรคดีซ่าน, การระคายเคืองของตาขาว รวมทั้งการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นต้น

นอกจากตาเหลืองแล้ว หากยังรู้สึกมีอาการไข้ตัวร้อน อ่อนเพลีย ปวดท้อง (โดยเฉพาะปวดเฉียบตรงบริเวณชายโครงข้างขวา) ซีดเหลือง หรือปัสสาวะสีเหลืองเข้มเหมือนสีขมิ้นทุกครั้งที่ถ่ายปัสสาวะ(ถ้าสีเหมือนน้ำชา และเหลืองเป็นเพียงบางครั้ง ไม่ใช่อาการของดีซ่าน) นั่นหมายถึงคุณกำลังประสบปัญหา “โรคดีซ่าน” อย่างแน่นอน ซึ่งพบได้ในคนที่เป็นโรคเกี่ยวกับตับ ถุงน้ำดี และโรคทางเลือด ถ้าคุณมีอาการเหล่านี้ ควรรีบทำการพบแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที

Jaundice

แต่หากว่าตรวจแล้วไม่มีอาการดังกล่าว มีเพียงแค่ ตาขาวเป็นสีเหลือง ไม่สดใส แสดงว่าร่างกายของคุณพักผ่อนไม่เพียงพอ และมีการใช้งานดวงตามากเกินไปสามารถรักษาได้ด้วยการดูแลสุขภาพตนเอง ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

1. พักผ่อนให้เพียงพอ
เพราะการนอนดึก ทำให้ร่างกายขาดการพักผ่อน และเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการตาเหลืองได้ ดังนั้นการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอจะส่งผลดีต่อสุขภาพ เนื่องจากช่วยให้ร่างกายมีความสมดุล รวมทั้งส่งผลให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ

2. ดื่มน้ำเปล่ามากๆ
เนื่องจากน้ำเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของร่างกาย เมื่อร่างกายขาดน้ำอาจส่งผลต่อการทำงานของระบบต่างๆ รวมทั้งทำให้น้ำหล่อลื่นในตาแห้ง เป็นสาเหตุให้เกิดอาการตาเหลืองได้นั่นเอง

pouring water

3. รับประทานทานอาหารที่ช่วยบำรุงสายตา
อาหารเป็นสิ่งที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกายโดยตรง ดังนั้นการทานอาหารที่มีวิตามินเอและเบต้าแคโรทีนในปริมาณสูง จะช่วยบำรุงดวงตาให้แข็งแรง ซึ่งสารอาหารเหล่านี้พบได้ในผักบุ้ง แครอท ฟักทอง ตำลึง มะละกอ และผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ เป็นต้น

4. หมั่นล้างทำความสะอาดตาเป็นประจำ
จะช่วยฆ่าเชื้อโรค แบคทีเรีย รวมทั้งสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ออกจากดวงตา โดยการล้างดวงตาด้วยน้ำสะอาด หรืออาจจะใช้น้ำยาล้างตาก็ได้

โดดเด่นเชื่อว่า หากอยากมีสุขภาพที่ดีและแข็งแรง ให้ลองสังเกตร่างกายของเราดูทุกวันว่ามีอาการผิดปกติที่ไหนหรือเปล่า เพราะ บางครั้งเราอาจเป็นโรคบางอย่างโดยไม่รู้ตัว แม้จะดูแลสุขภาพตัวเองเป็นอย่างดีแล้วก็ตาม ไม่เช่นนั้นอาจสายเกินไป

ข้อมูลจาก : เกร็ดความรู้, doctor

ภาพประกอบจาก : healthmeplease,

เรื่องน่าสนใจ