ติดเชื้อในกระแสเลือด คือการติดเชื้อที่เกิดขึ้นที่ตําแหน่งใดตําแหน่งหนึ่งของร่างกาย ซึ่งเชื้อดังกล่าว ได้แก่ จุลชีพต่างๆ เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา โดยการติดเชื้อที่อวัยวะต่างๆ ของร่างกาย สามารถทําให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้
เมื่อมีการติดเชื้อในกระแสเลือดแล้ว ร่างกายของเราจะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อการติดเชื้อ หรือต่อพิษของเชื้อโรค ซึ่งจะทําให้เกิดการอักเสบขึ้นทั่วบริเวณของร่างกาย หากมีความรุนแรงมาก อาจพัฒนาไปสู่ภาวะช็อก และทําให้การทํางานของอวัยวะภายในต่างๆ ล้มเหลว มีอันตรายถึงชีวิตได้ จึงจําเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
เชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทางใดบ้าง?
เชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง ไม่ว่าจะเป็นทางผิวหนัง ทางเดินหายใจ ทางเดินปัสสาวะ ทางเดินอาหาร หรือทางบาดแผล เป็นต้น โดยเฉพาะในช่วงที่ร่างกายอ่อนแอ เชื้อโรคก็จะเข้าสู่ร่างกายได้โดยง่าย
มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทําให้เกิด การติดเชื้อในกระแสเลือด?
ลักษณะอาการของการติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นอย่างไร?
ความรุนแรงของอาการเป็นอย่างไร?
การรักษาอาการติดเชื้อในกระแสเลือด
แพทย์จะวินิจฉัยจากลักษณะ และอาการของผู้ป่วยเป็นลําดับแรก จากนั้นจะทําการเจาะเลือด และตรวจสิ่งคัดหลั่งจากอวัยวะ ที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อ ด้วยการเพาะหาเชื้อ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 3-5 วัน แต่เนื่องด้วยการติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นภาวะฉุกเฉิน แพทย์จึงต้องอาศัยการวินิจฉัยเบื้องต้น และเลือกให้ยาต้าน จุลชีพที่ครอบคลุมเชื้อไว้ก่อน ซึ่งหากผู้ป่วยได้รับยาต้านจุลชีพ หรือยาปฏิชีวนะที่ตรงกับเชื้อในช่วง 1-2 ชั่วโมงแรก ผู้ป่วยจะมีโอกาสรอดชีวิตสูงมากขึ้น ใน ทางตรงกันข้าม หากได้รับยาที่ไม่ตรงกับเชื้อ หรือได้รับยาช้าเกินไป ก็จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากขึ้นเช่นกัน
เมื่อได้รับยาต้านจุลชีพแล้ว แพทย์จะทําการรักษาแบบประคับประคองไปพร้อมๆ กัน เช่น ถ้ามีภาวะไตวาย ก็ทําการฟอกไต ถ้าผู้ป่วยหายใจเองไม่ได้ ก็จะมีการให้ออกซิเจน หรือการใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือถ้ามีภาวะซีด ก็จะมีการให้เลือด โดยพิจารณาตามลักษณะอาการของผู้ป่วย
………………………………………………………………..
หากทราบว่าตัวเองมีปัจจัยเสี่ยงที่จะติดเชื้อ หรือถ้าติดเชื้อแล้วจะมีอาการรุนแรง สิ่งสําคัญคือ เราจะต้องรักษาสุขภาพของตัวเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ รวมถึงรักษาโรคประจําตัว ที่เป็นความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสเลือด เช่น ผู้ที่เป็นเบาหวาน ก็ควรควบคุมระดับน้ำตาลให้ดี ดูแลในเรื่องของอาหารการ ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รวมทั้งรักษาสุขอนามัย กินร้อนช้อนกลาง ล้างมือ หากมีอาการไข้สูง หนาวสั่น หรือมีอาการซึม หายใจเร็วผิดปกติ หรือพบความผิด ปกติที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ให้รีบมาพบแพทย์ และควรหลีกเลี่ยงการไปยังสถานที่ที่มีเชื้อโรคเยอะ สถานที่แออัด มีการระบายอากาศไม่ดี
เนื้อหาโดย Dodeden.com