‘ถุงผ้า‘ คือสิ่งแรกที่หลายคนอาจนึกถึง เมื่อพูดถึงปัญหาโลกร้อน ความเชื่อเช่นนี้ ส่งผลให้ผู้ประกอบหลายราย โดยเฉพาะร้านค้าปลีกขานรับนโยบายรักษ์โลก ด้วยการรณรงค์ให้ลูกค้าใช้ถุงผ้าซ้ำ แทนการใช้ถุงผ้าพลาสติก โดยอาจมีจุดประสงค์แอบแฝงมากกว่า การสร้างจิตสำนึกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม แต่คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจับจ่ายของผู้บริโภค
“ถุงผ้า” คือสิ่งแรกที่หลายคนอาจนึกถึง เมื่อพูดถึงปัญหาโลกร้อน ความเชื่อเช่นนี้ ส่งผลให้ผู้ประกอบหลายราย โดยเฉพาะร้านค้าปลีกขานรับนโยบายรักษ์โลก ด้วยการรณรงค์ให้ลูกค้าใช้ถุงผ้าซ้ำ แทนการใช้ถุงผ้าพลาสติก โดยอาจมีจุดประสงค์แอบแฝงมากกว่า การสร้างจิตสำนึกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม แต่คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจับจ่ายของผู้บริโภค
นี่คือสมมติฐานของศาสตราจารย์ อูมา คาร์มาร์คาร์ แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และ ไบรอัน โบลลิงเกอร์ แห่งมหาวิทยาลัยดุก ที่ร่วมกันศึกษา อิทธิพลต่อตนเองและสิ่งแวดล้อมจากการใช้ถุงผ้า ทั้งสองคนบอกว่า ผู้ที่ถือถุงผ้าไปช็อปปิง มีแนวโน้มซื้ออาหารออร์แกนิก พร้อมกับรู้สึกว่าตัวเองได้ทำเพื่อประโยชน์โลกแล้ว แต่ขณะเดียวกัน มักจะให้รางวัลตัวเองด้วยอาหารขยะ หรือ ขนมคบเคี้ยว ที่มีรสเค็ม รสหวาน และอุดมไปด้วยไขมัน
อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยเก็บผลสำรวจจากห้างสรรพสินค้าเพียงแห่งเดียวในแคลิฟอร์เนีย โดยการดูข้อมูลการจับจ่ายสินค้าผ่านบัตรสมาชิก โดยเปรียบเทียบระหว่าง นักช็อปที่ใช้ถุงผ้ากับนักช็อปที่ไม่ใช้ถุงผ้า กว่า 140,000 ครั้ง ตั้งแต่ปี 2005 ถึง 2007 ที่ผ่านมา พบว่า หลังมีมาตรการใช้ถุงผ้าทำให้สินค้า 2 หมวด ขายดีเป็นพิเศษคือ อาหารออร์แกนิก และ อาหาารขยะ-ขนมคบเคี้ยว
ทั้งนี้ ตัวแปรที่ไม่อาจควบคุมได้ คือ ความต้องการขนมคบเคี้ยวของบุตรหลาน ของผู้ปกครองที่ถือถุงผ้ามาจับจ่ายนั่นเอง แต่คงไม่ผิดถ้าจะสรุปคร่าวๆจากงานวิจัยชิ้นนี้ว่า “ถุงผ้ารักษ์โลก แต่ไม่รักเรา”