ที่มา: voicetv

นักจิตวิทยาเคยค้นพบ ทฤษฎีฟื้นฟูรักษา (Attention Restoration Theory) ที่ระบุว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการแพทย์ หรือ การเล่าเรียนศึกษา จะเพิ่มสูงขึ้น เมื่อผู้คนอยู่ใกล้ธรรมชาติ และคนจะมักจะเข้าหาพื้นที่สีเขียวโดยทันที มากกว่าการอยู่ท่ามกลางตึกสูง หรือ การจราจรที่คับคั่งบนถนน

Father and his little cute son having fun in forest. Funny kid boy climbing on tree. Family leisure outdoors, on warm summer day.

จากทฤษฎีดังกล่าว ที่มักมีการทดลองกับ ผู้ใหญ่ และ เด็กที่มีอาการไฮเปอร์แอกทีฟ ส่งผลให้นักวิจัยของมหาวิทยาลัยทรอย สหรัฐฯ ศึกษาประโยชน์ของต้นไม้ในเมืองต่อเด็กอายุระหว่าง 4 ถึง 8 ขวบ ซึ่งยังมีพัฒนาการพฤติกรรม และ ด้านสิ่งแวดล้อม อย่างต่อเนื่อง

เริ่มต้นด้วยการแบ่งเด็กเป็น 2 กลุ่ม จากนั้นให้ทั้ง 2 กลุ่มเล่นต่อจิ๊กซอว์ เพื่อให้สมองได้ทำงานอย่างหนักก่อน จากนั้นปล่อยให้เด็กทั้ง 2 กลุ่มเดินไปตามทางเดิน 20 นาที กลุ่มที่ 1 เดินบนทางที่เต็มไปด้วยต้นไม้ อีกกลุ่มเดินบนทางที่สองฟากฝั่งมีแต่อาคาร จากนั้น ให้ทุกคนกลับมาทำแบบทดสอบมากมาย จากนั้นอีก 1 อาทิตย์ ให้ทั้ง 2 กลุ่มทำเหมือนเดิม แต่สลับทางเดินกัน

ผลกรากฎว่า เด็กที่เดินไปตามทางที่เต็มไปด้วยต้นไม้ ทำคะแนนได้ดีกว่า นักวิจัยสรุปว่า ต้นไม้มีผลที่ดีต่อพัฒนาการสมองของเด็ก

ผลวิจัยดังกล่าวมีผลต่อโดยตรงต่อการสร้างพื้นที่สาธารณะเพื่อเด็ก ในเฉพาะในเขตเมืองที่หนาแน่นไปด้วยอาคาร ด้วยการเพิ่มเติมต้นไม้ในสวนสาธารณะ โรงเรียน หรือทางเดินระหว่างอาคาร โดยสำนักข่าวซิตีแลบคาดว่า หากผู้บริหารเมืองสามารถทำได้จริงๆ เด็กที่ได้ประโยชน์มากที่สุดคือกลุ่มที่มีปัญหาด้านสมอง และกลุ่มสมาธิสั้น

เรื่องน่าสนใจ