งานวิจัยจากวารสารวิชาการ American Journal of Public Health เผยว่า คนอ้วนมีโอกาสที่จะมีน้ำหนักปกติเพียงแค่ 1 ใน 210 เท่านั้นสำหรับผู้ชาย และ 1 ใน 124 เท่านั้นสำหรับผู้หญิง ส่วนคนที่อ้วนมากนั้นโอกาสที่จะมีน้ำหนักปกติเหลือเพียงแค่ 1 ใน 1,290 เท่านั้นสำหรับผู้ชาย และ 1 ใน 677 เท่านั้นสำหรรับผู้หญิง
งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันวิจัยสุขภาพแห่งชาติ แห่งสหราชอาณาจักร นักวิจัยได้ศึกษาตัวอย่าง 278,982 คน (ชาย 129,194 คน หญิง 149,788 คน) จากข้อมูลสถิติอิเล็กทรอนิกส์ที่เก็บข้อมูลตั้งแต่ปี 2004 จนถึงปี 2014 งานวิจัยนี้ได้ดูที่ความน่าจะเป็นที่คนอ้วนจะมีน้ำหนักผิดปกติหรือคิดเป็นลดน้ำหนักได้ 5 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่มีการคิดรวมผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดเพื่อลดไขมัน ส่วนการประเมินการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักนั้นใช้ค่าดัชนีมวลกายในการประเมิน
โดยรวมแล้ว มีผู้ชายเพียง 1,283 คน และผู้หญิง 2,245 ที่มีดัชนีมวลกาย 30-35 สามารถลดน้ำหนักได้จนถึงระดับปกติ หรือเทียบได้เป็นความน่าจะเป็น 1 ใน 210 เท่านั้นสำหรับผู้ชาย และ 1 ใน 124 เท่านั้นสำหรับผู้หญิง ส่วนคนที่มีดัชนีมวลกาย 40 นั้น โอกาสที่จะกลับมามีน้ำหนักปกติเหลือเพียงแค่ 1 ใน 1,290 เท่านั้นสำหรับผู้ชาย และ 1 ใน 677 เท่านั้นสำหรรับผู้หญิง
นักวิจัยพบว่าราว 1 ใน 3 ของบรรดาคนที่เป็นโรคอ้วนนั้นมีวงจรการเพิ่มขึ้นและลดลงของน้ำหนัก การศึกษาครั้งนี้ได้สรุปว่า การรักษาโรคอ้วนในปัจจุบันนั้นอาจจะไม่ได้ผลในระดับประชากรศึกษา ดร.อลิซอน ฟิลเดส นักวิจัยแห่งคิงส์คอลเลจลอนดอน นักวิจัยหลักในการศึกษาครั้งนี้ชี้ว่า “การลดน้ำหนัก 5-10 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักร่างกายนั้นมีความหมายต่อสุขภาพอย่างมาก และแพทย์มักจะแนะนำให้ลดน้ำหนักให้ได้ระดับเป้าหมายนี้อยู่เสมอ การศึกษาครั้งนี้ชี้ว่าคนเราหายจากโรคอ้วนได้ยากเพียงใด”
ทั้งนี้ วิธีการรักษาในสหราชอาณาจักรมักจะเป็นรูปแบบของการเข้าโปรแกรมควบคุมน้ำหนักโดยมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำ หลักฐานการวิจัยนี้ชี้ว่าระบบในปัจจุบันไม่ได้ผลในระดับประชากรคนอ้วนกลุ่มใหญ่ๆ
และเมื่อผู้ใหญ่เริ่มอ้วน โอกาสที่จะกลับมามีน้ำหนักร่างกายที่พอเหมาะนั้นเป็นไปได้ยาก เราต้องมีวิธีการใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ การรักษาโรคอ้วนควรจะเน้นไปที่การป้องกันไม่ให้เกิดความอ้วนเสียมากกว่า และผู้ป่วยที่อ้วนไปแล้วก็ไม่ควรจะทำให้อ้วนมากขึ้นไปอีกในขณะที่พยายามจะลดน้ำหนักลง ที่สำคัญกว่านั้น จะต้องมีการป้องกันไม่ให้น้ำหนักเพิ่มตั้งแต่แรก
ทางด้านศาสตราจารย์มาร์ติน กุลลิฟอร์ด นักวิจัยอาวุโสในการศึกษาครั้งนี้เผยว่า “ยุทธศาสตร์ที่จะต่อกรกับโรคอ้วนในปัจจุบันนั้นไม่สามารถที่จะช่วยคนกลุ่มใหญ่ๆที่เกิดโรคอ้วนได้ เพราะมักจะเน้นไปที่การลดแคลอรีและเพิ่มกิจกรรมทางกายภาพ วิธีที่น่าจะดีที่สุดในการไม่ให้เกิดการระบาดของโรคอ้วนในระดับสาธารณสุขศาสตร์ตอนนี้น่าจะเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดโรคอ้วนตั้งแต่แรก”