ที่มา: TNN 24

จากกรณีที่กลายเป็นกระแสสังคมบนโลกออนไลน์ ทำให้มีผู้ตนต่างแชร์เรื่องราวนี้ออกไปกันเป็นจำนวนมาก หลังมีการทดสอบว่า ปลาดิบที่เรานิยมรับประทาน ไม่ว่าจะเป็น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า-ปลาโอ มีการปนเปื้อนของสารเคมีที่ทำให้เนื้อปลาสีแดงสดขึ้น ซึ่งหลังจากมีผู้ใช้วิธีทดสอบด้วยการแช่ปลาดิบทิ้งไว้ในน้ำเปล่า และกลับพบว่ามีน้ำสีแดงออกมาจากเนื้อปลา ซึ่งคาดว่าเป็นสารเคมีปนเปื้อน สามารถทำให้เกิดอันตรายกับร่างกายตามมาได้หลายประการแก่ผู้บริโภคได้ โดยผู้สื่อข่าวได้สอบถามข้อมูลไปยังคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อค้นหาข้อเท็จจริงเรื่องนี้มาให้ทราบกัน โดยเนื้อปลาดิบสามารถแบ่งออกได้ดังนี้ 

38

เนื้อปลาดิบ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
1. เนื้อปลาดิบปกติ (มีสีแดงตามธรรมชาติ)
2. เนื้อปลาดิบอัดก๊าซ (สีจะแดงขึ้น และสีจะแดงคงทนไว้ได้นาน แต่ไม่เป็นอันตรายและมีสารปนเปื้อน)
3. เนื้อปลาดิบแต่งสีผสมอาหาร (สีจะแดงขึ้น ไม่เป็นอันตราย แต่ผิดกฎหมายเข้าข่ายหลอกลวงผู้บริโภค)

วิธีการเลือกซื้อปลาดิบ
1. แหล่งซื้อที่ได้มาตราฐาน
2. สังเกตเครื่องหมาย อย.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า จากการตรวจสอบ ไม่พบว่ามเคยมีผู้ที่บริโภคปลาดิบแล้วเป็นอันตราย เพราะการจัดจำหน่ายปลาดิบน้อยมากที่จะมีการใช้สารเคมีหรือสีผสมอาหาร เพราะต้นทุนสูงไม่คุ้มค่ารวมถึงทางด้านผู้เชี่ยวชาญท่านอื่นก็ออกมาบอกว่า แท้จริงแล้วน้ำสีแดงที่ละลายออกมาเป็นเพียงแค่ไขมันไมโอโกลบินเท่านั้น ไม่ได้อันตรายอย่างที่เป็นกระแสกันแต่อย่างใด

39

เรื่องน่าสนใจ