นักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ของอเมริกา ได้พบพยาธิตัวจิ๋ว ซึ่งเป็นตัวอ่อนของแมลงปีกแข็ง ชอบกินพลาสติกแบบต่างๆเป็นอาหาร สามารถทำลายพลาสติกให้สลายตัวได้เองตามธรรมชาติ
นักวิจัยคนหนึ่งถึงกับบอกอย่างยินดีว่า “เราได้ค้นพบหนทางที่จะแก้ปัญหามลพิษพลาสติกทั่วโลกวิธีใหม่ได้แล้ว พวกมันอาศัยอยู่ในลำไส้ของหนอนและพยาธินี่เอง”
นิตยสารของ “สถาบันยามเฝ้าโลก” ได้เปิดเผยว่า ทุกวันนี้มีขยะพลาสติกทับถมกันอยู่บนโลกมากเกือบ 300 ล้านตัน แต่ในทวีปยุโรปสามารถเอากลับนำมาใช้ได้อีกประมาณร้อยละ 26 หรือ 6.6 ล้านตัน และเผาทำลายได้ร้อยละ 36 ที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 38 ถูกนำไปถมที่ ส่วนที่อเมริกาสามารถนำเอาไปใช้ใหม่ได้อีก แค่ร้อยละ 9 เหลืออีก 32 ล้านกว่าตัน ก็โยนทิ้งเป็นขยะเช่นกัน.