เนื้อหาโดย Dodeden.com

ตั้งแต่เด็ก เราเองได้เห็นภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชหฤทัยอย่างแน่วแน่ ในการลงพื้นที่ต่างๆ ทั่วแผ่นดินไทย ภาพหนึ่งที่มองเห็นก็คือ พระราชกรณียกิจด้าน “น้ำ” 

ครั้งหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงพระราชดํารัสไว้เกี่ยวกับน้ำว่า “น้ำคือชีวิต” เพราะน้ำมีความสําคัญต่อทุกชีวิต จากการที่ทรงลงพื้นที่ทั่วแผ่นดินไทย สิ่งที่พระองค์ได้พบเจอ คือปัญหาเรื่องน้ำ หลากหลายพื้นที่ที่เสด็จฯ มีทั้งปัญหาน้ำท่วม ปัญหาความแห้งแล้ง ไร้ฝน ทรงเล็งเห็นความสําคัญของปัญหาเหล่านี้เป็นอย่างมาก และได้ทรงทุ่มเทแรงกายในการวิเคราะห์ปัญหา จนกระทั่งหาทางแก้ไขปัญหาให้พสกนิกรชาวไทยได้สําเร็จ

manpattanalibrary

ฝนหลวง
จากพระราชบันทึกเรื่อง “THE RAINMAKING STORY” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 บอกเล่าถึงเหตุการณ์เมื่อครั้งเสด็จฯไปทรงเยี่ยมราษฎร 15 จังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2498 พระองค์ตรัสไว้ว่า

“…ณ ที่นั้น ข้าพเจ้าได้สอบถามราษฎรเกี่ยวกับผลิตผลข้าว ข้าพเจ้าคิดว่าความแห้งแล้งต้องทําลายผลิตผลของพวกเขา แต่ข้าพเจ้าต้องประหลาดใจเมื่อราษฎรเหล่านั้น กลับรายงานว่าพวกเขาเดือดร้อนเพราะน้ำท่วม สําหรับข้าพเจ้าเป็นการแปลก เพราะพื้นที่แถบนั้นมองดูคล้ายทะเลทราย ซึ่งมีฝุ่นดินฟุ้งกระจายอยู่ทั่วไป แท้จริงแล้ว พวกเขามีทั้งน้ำท่วมและฝนแล้ง นั่นคือ ทําไมประชาชนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือถึงยากจนนัก...ข้าพเจ้าครุ่นคิดถึงปัญหาที่ดูเหมือนว่าแก้ไม่ตกและขัดแย้งกันเองอยู่ในตัว เมื่อเวลามีน้ำ น้ำก็มากเกินไป ทําให้ท่วมพื้นที่ เมื่อน้ำลดก็แห้งแล้ง น้ำท่วมบ่าลงมาจากภูเขา เพราะไม่มีสิ่งใดหยุดน้ำเอาไว้…”

welovethaiking

หลังจากทรงพิจารณาสภาพพื้นที่ จึงมีพระราชดําริให้สร้างเขื่อนเล็กๆ ขึ้นตามทางน้ำบนภูเขา ช่วยชะลอน้ำในฤดูฝน และให้มีน้ำใช้ในฤดูแล้ง หากแต่วิธีนี้ก็ยังเป็นเพียงการแก้ไขที่ปลายเหตุ ไม่สามารถแก้ปัญหาความแห้งแล้งในพื้นที่ได้

นี่เอง คือที่มาของโครงการพระราชดําริฝนหลวง อันเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 ฝนแรกจากการทดลองทําฝนหลวงได้เกิดขึ้นในโครงการ “เพาะเมฆและบังคับให้เกิดฝน” ที่บริเวณเหนืออุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ หลังจากนั้นได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องยาวนานหลายสิบปี สามารถช่วยเหลือราษฎรให้พ้นจากภัยแล้งได้สําเร็จ ชื่อของโครงการพระราชดํารินี้ จึงเริ่มเป็นที่รู้จักในหมู่ประชาชนว่า “ฝนในหลวง” บ้าง “ฝนพระราชทาน” บ้าง “ฝนหลวง” บ้าง แต่ชื่อสุดท้าย เป็นชื่อที่ใช้กันแพร่หลายที่สุด จึงเป็นคําเรียกอย่างเป็นทางการ

คําว่า “ฝนหลวง” จึงเป็นคําเรียกที่มาจากประชาชน นอกจากนี้ยังได้กําหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายน เป็นวันพระบิดาแห่งฝนหลวงอีกด้วย

เรื่องน่าสนใจ