น้ำหนักตัวเยอะ สาเหตุความดันโลหิตสูง ภัยร้ายที่หลายคนมองข้าม ซึ่งโรคนี้ ถึงแม้ว่าจะเป็นโรคไม่ติดต่อ แต่ก็ก่อปัญหารุนแรงอันดับต้นๆ ของปัญหาสาธารณสุขในประชากรโลก รวมทั้งประเทศไทย เพราะเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองและกล้ามเนื้อหัวใจตาย โดยพบว่า อัตราการตายด้วยโรคความดันโลหิตสูงเท่ากับ 3.3 – 5.6 ต่อประชากรแสนคน และอัตราการตายด้วยโรคหัวใจขาดเลือด เท่ากับ 3.6 – 10.4 ต่อประชากรแสนคน
เป้าหมายของการรักษาคือ ควบคุมระดับความดันโลหิตให้สูงระดับปกติ หรือใกลเคียงปกติอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ให้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข โดยถ้าหากว่าโรคนี้เกิดขึ้นกับเรา เราก็จะต้องปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง ในเรื่องการควบคุมอาหาร การควบคุมน้ำหนักตัว การออกกําลังกาย และการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ตลอดจนการมาพบแพทย์ผู้รักษาอย่างสม่ำเสมอตามนัด
กลไกของการเปลี่ยนแปลงระดับความดันโลหิต
ความดันโลหิต คือแรงดันที่กระทําต่อผนังของหลอดเลือด ที่บ่งบอกถึงความดันในหลอดเลือดแดง จะแสดงออกเป็น 2 ค่า ซึ่งค่าของระดับความดันโลหิตที่ได้ สามารถเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือต่ำลงได้ ขึ้นอยู่กับสภาวะของระบบไหลเวียนเลือดในขณะนั้น ระบบไหลเวียนประกอบด้วยหัวใจ (Heart) หลอดเลือดแดง (Artery) หลอดเลือดดํา (Vein) และหลอดเลือดฝอย (Blood capillary)
ระบบไหลเวียน
จะทําหน้าที่นําออกซิเจน และสิ่งจําเป็นในการดํารงชีวิตไปเลี้ยงเซลล์ที่ประกอบเป็นอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย และนําของเสียกลับออกมาเพื่อขับออก ในแต่ละวัน หัวใจซึ่งมีหน้าที่บีบไล่เลือดไปเลี้ยงร่างกาย จะต้องบีบตัววันละนับแสนครั้ง เพื่อไล่เลือดไปตามหลอดเลือดทั่วร่างกาย ดังนั้น ถ้ามีเหตุที่ทําให้ระบบไหลเวียนผิดปกติ เช่น หัวใจเต้นผิดปกติ หยุดเต้น ปริมาณเลือดลดลง หรือเส้นเลือดไม่สามารถรับเลือดที่ส่งมาได่ เช่น เกิดการฉีกขาด หรือที่พบมากที่สุด คือ เกิดการอุดตันของหลอดเลือด จากสาเหตุต่างๆ มากมาย ยอมทําให้ระดับของควาความดันโลหิตที่วัดได้ มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งสามารถรู้ระดับความเปลี่ยนแปลงของควาความดันโลหิตได้ โดยใช้การวัดความดันโลหิต
การวัดความดันโลหิต (Blood pressure)
เป็นการวดแรงดันของเลือดในหลอดเลือด โดยใช้เครื่องวัดความดัน ซึ่งประกอบด้วยถุงยาง มีผ้าหุ้มพันต้นแขนเหนือข้อศอก อัดอากาศเข้าไปในถุงแล้วปล่อยออกช้าๆ ส่วนของถุงจะมีท่อยางต่อกับหลอดแก้ว ที่บรรจุปรอทอยู่ มีตัวเลขบอกค่าความดัน เมื่อใช้หูฟังวางลงไปบนหลอดเลือดแดงเบรเคียล (Brachial artery) ที่ข้อพับแขน จะได้ยินเสียง ตุบ เสียงที่ได้ยินครั้งแรก จะเป็นแรงดันซิสโตลิค (Systolic) และเสียงที่ค่อยหรือหายไปจะเป็นแรงดันไดแอสโตลิค (Diastolic)
น้ำหนักตัวนั้นถือว่ามีความสัมพันธฺกับการกินอาหารและการออกกําลังกาย ดังนั้น อาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จึงต้องมีไขมันและแคลอรี่ต่ำ การกําหนดแคลอรี่ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง และมีภาวะอ้วน จะต้องลดน้ำหนักตัว เพราะพบว่าเมื่อน้ำหนักตัวลดลง ความดันโลหิตก็ลดลงด้วย ซึ่งหลักการควบคุมน้ำหนักตัว ใช้หลักการโดยทั่วไป คือ ผู้ป่วยควรได้รับพลังงานแคลอรี่ให้เหมาะสมกับการใช้พลังงานในแต่ละวัน และควรรู้ถึงน้ำหนักตัวที่ควรเป็น เพื่อที่จะลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติสําหรับคนไทย ต้องควบคุมอาหารเพื่อลดน้ำหนักตัว
………………………………………………….
เพราะฉะนั้น เมนูอาหารจึงควรประกอบดวยเนื้อสัตว์ นม ไข่ ข้าว หรืออาหารที่ทําจากแป้ง ไขมัน ผัก และผลไม้ เช่นเดียวกับคนทั่วไป แตเนื่องจากอาหารประเภทที่มีไขมันอิ่มตัว โคเลสเตอรอล เกลือโซเดียม แอลกอฮอล์ และอาหารที่ให้พลังงานเป็นจํานวนมากเหล่านี้เป็นอาหารที่ส่งเสริมให้เกิดความดันโลหิตสูง และความอ้วน ดังนั้น อาหารของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ควรเป็นอาหารประเภท เค็มน้อย มีไขมันและแคลอรี่ต่ำค่ะ
เนื้อหาโดย Dodeden.com