น้ำอัดลม โฆษณาชวนเชื่อ ซ้ำเติมสุขภาพผู้บริโภค

bottle-of-cola

การ แข่งขันทางการตลาดของน้ำอัดลมหลากหลายยี่ห้อนับวันยิ่งเพิ่มสูงขึ้น กระแสการโฆษณาเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่น และเชื่อถือในตัวสินค้า รวมถึงเป็นตัวเลือกใหม่ ๆ ที่นำไปสู่การบริโภคเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

อาจารย์สง่า ดามาพงษ์ ผู้จัดการโครงการโภชนาการสมวัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และกรมอนามัย อุปนายกสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย ได้แสดงมุมมองเกี่ยวกับกระแสการบริโภคน้ำอัดลมที่เพิ่มมากขึ้นว่า น้ำอัดลมเป็นเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมน้ำตาลในปริมาณที่สูง รองลงมาคือ เครื่องดื่มประเภทชาเขียว นมปรุงแต่งรส นมเปรี้ยว ตามลำดับ เครื่องดื่มเหล่านี้มีปริมาณน้ำตาลมากกว่ากำหนด ซึ่งปกติแล้วควรบริโภคน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน ตามมาตรฐานที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้

อาจารย์ สง่า บอกอีกว่า น้ำอัดลมนั้น 1 กระป๋อง ขนาด 200 ซีซี มีส่วนผสมของน้ำตาลอยู่ 8-9 ช้อนชา ส่วนน้ำอัดลมขวดเล็กมีน้ำตาลอยู่ประมาณ 10-15 ช้อนชา ซึ่งเกินมาตรฐาน เห็นได้ว่า ในแต่ละวันเราบริโภคน้ำอัดลม แค่ 1 กระป๋อง ก็เกินมาตรฐานที่กำหนดไว้แล้ว และยังบริโภคน้ำตาลจากแหล่งอื่น ๆ อีก ทำให้คนไทยบริโภคน้ำตาลถึงวันละ 20 ช้อนชา ซึ่งสูงกว่าที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดถึง 3 เท่า และยังสูงมากเป็นลำดับต้น ๆ ของโลกอีกด้วย

“น้ำอัดลมมีความหวานและมีสภาวะความเป็นกรด เนื่องจากมีน้ำตาลและกรดฟอสฟอริกเป็นส่วนประกอบสำคัญ นอกจากนี้ยังมีกาเฟอีนผสมอยู่ด้วย เมื่อบริโภคในปริมาณมาก กาเฟอีนจะไปป้องกันการดูดซึมแคลเซียม ทำให้ร่างกายนำแคลเซียมไปใช้ได้ไม่เต็มที่ เมื่อบริโภคน้ำอัดลมมากจนเกินไป ทำให้เนื้อกระดูกบางและฟันผุได้”

“สำหรับน้ำอัดลม 0% หรือ น้ำอัดลมไดเอตเป็นน้ำอัดลมที่มีส่วนผสมของน้ำตาลเทียม ซึ่งน้ำตาลเทียมเป็นอาหารควบคุมและต้องได้รับการอนุญาตจากสำนักงานคณะ กรรมการอาหารและยา(อย.) ในการนำมาจำหน่ายในประเทศด้วย แม้น้ำตาลเทียมจะ เป็นสารทดแทนความหวานที่ไม่ให้พลังงาน สามารถบริโภคได้ก็จริง แต่ว่าน้ำตาลเทียมไม่มีคุณค่าทางโภชนาการใด ๆ และให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลปกติหลายสิบเท่า แม้ว่าจะกินแล้วไม่อ้วน แต่น้ำตาลเทียมมีผลทำให้ต่อมรับรส เกิดความต้องการกินหวาน ทำให้เป็นคนติดหวาน และส่งผลให้อยากกินอาหารพวกแป้ง หรือของหวานอย่างอื่นมากขึ้น” ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการอธิบาย

ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการให้ความรู้เพิ่มเติมว่า จริง ๆ แล้วน้ำตาลเป็นอาหารที่ให้พลังงาน แต่นักโภชนาการจัดว่า น้ำตาลเป็นพลังงานสูญเปล่า ไม่มีประโยชน์ทางโภชนาการอื่น ๆ เลย เพราะ การบริโภคน้ำตาลที่มากเกินกว่าที่กำหนดไว้ เมื่อร่างกายนำไปใช้ไม่หมด ก็แปรสภาพจากน้ำตาลเป็นไขมันสะสมในร่างกาย คนที่กินน้ำตาลเยอะ หรือติดหวาน จะกินอาหารพวกแป้ง ไขมัน ในปริมาณที่สูง ทำให้เกิดความอ้วนตามมา แต่ถ้าบริโภคปริมาณที่พอดี ก็จะให้พลังงานในปริมาณร่างกายต้องการ

การ แข่งขันทางการตลาดของน้ำอัดลมหลากหลายยี่ห้อนับวันยิ่งเพิ่มสูงขึ้น กระแสการโฆษณาเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่น และเชื่อถือในตัวสินค้า รวมถึงเป็นตัวเลือกใหม่ ๆ ที่นำไปสู่การบริโภคเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

อาจารย์สง่า ดามาพงษ์ ผู้จัดการโครงการโภชนาการสมวัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และกรมอนามัย อุปนายกสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย ได้แสดงมุมมองเกี่ยวกับกระแสการบริโภคน้ำอัดลมที่เพิ่มมากขึ้นว่า น้ำอัดลมเป็นเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมน้ำตาลในปริมาณที่สูง รองลงมาคือ เครื่องดื่มประเภทชาเขียว นมปรุงแต่งรส นมเปรี้ยว ตามลำดับ เครื่องดื่มเหล่านี้มีปริมาณน้ำตาลมากกว่ากำหนด ซึ่งปกติแล้วควรบริโภคน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน ตามมาตรฐานที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้

อาจารย์ สง่า บอกอีกว่า น้ำอัดลมนั้น 1 กระป๋อง ขนาด 200 ซีซี มีส่วนผสมของน้ำตาลอยู่ 8-9 ช้อนชา ส่วนน้ำอัดลมขวดเล็กมีน้ำตาลอยู่ประมาณ 10-15 ช้อนชา ซึ่งเกินมาตรฐาน เห็นได้ว่า ในแต่ละวันเราบริโภคน้ำอัดลม แค่ 1 กระป๋อง ก็เกินมาตรฐานที่กำหนดไว้แล้ว และยังบริโภคน้ำตาลจากแหล่งอื่น ๆ อีก ทำให้คนไทยบริโภคน้ำตาลถึงวันละ 20 ช้อนชา ซึ่งสูงกว่าที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดถึง 3 เท่า และยังสูงมากเป็นลำดับต้น ๆ ของโลกอีกด้วย

“น้ำอัดลมมีความหวานและมีสภาวะความเป็นกรด เนื่องจากมีน้ำตาลและกรดฟอสฟอริกเป็นส่วนประกอบสำคัญ นอกจากนี้ยังมีกาเฟอีนผสมอยู่ด้วย เมื่อบริโภคในปริมาณมาก กาเฟอีนจะไปป้องกันการดูดซึมแคลเซียม ทำให้ร่างกายนำแคลเซียมไปใช้ได้ไม่เต็มที่ เมื่อบริโภคน้ำอัดลมมากจนเกินไป ทำให้เนื้อกระดูกบางและฟันผุได้”

“สำหรับน้ำอัดลม 0% หรือ น้ำอัดลมไดเอตเป็นน้ำอัดลมที่มีส่วนผสมของน้ำตาลเทียม ซึ่งน้ำตาลเทียมเป็นอาหารควบคุมและต้องได้รับการอนุญาตจากสำนักงานคณะ กรรมการอาหารและยา(อย.) ในการนำมาจำหน่ายในประเทศด้วย แม้น้ำตาลเทียมจะ เป็นสารทดแทนความหวานที่ไม่ให้พลังงาน สามารถบริโภคได้ก็จริง แต่ว่าน้ำตาลเทียมไม่มีคุณค่าทางโภชนาการใด ๆ และให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลปกติหลายสิบเท่า แม้ว่าจะกินแล้วไม่อ้วน แต่น้ำตาลเทียมมีผลทำให้ต่อมรับรส เกิดความต้องการกินหวาน ทำให้เป็นคนติดหวาน และส่งผลให้อยากกินอาหารพวกแป้ง หรือของหวานอย่างอื่นมากขึ้น” ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการอธิบาย

ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการให้ความรู้เพิ่มเติมว่า จริง ๆ แล้วน้ำตาลเป็นอาหารที่ให้พลังงาน แต่นักโภชนาการจัดว่า น้ำตาลเป็นพลังงานสูญเปล่า ไม่มีประโยชน์ทางโภชนาการอื่น ๆ เลย เพราะ การบริโภคน้ำตาลที่มากเกินกว่าที่กำหนดไว้ เมื่อร่างกายนำไปใช้ไม่หมด ก็แปรสภาพจากน้ำตาลเป็นไขมันสะสมในร่างกาย คนที่กินน้ำตาลเยอะ หรือติดหวาน จะกินอาหารพวกแป้ง ไขมัน ในปริมาณที่สูง ทำให้เกิดความอ้วนตามมา แต่ถ้าบริโภคปริมาณที่พอดี ก็จะให้พลังงานในปริมาณร่างกายต้องการ

 

ขอบคุณที่มาจาก สสส.

เรื่องน่าสนใจ