บาดทะยัก เป็นโรคที่รู้จักในประเทศไทยมานาน ซึ่งในอดีตมีการเสียชีวิตจากโรคค่อนข้างสูง โดยเฉพาะในทารกแรกเกิด (Tetanus neonatorum) ในปัจจุบัน ก็ได้ลดลงอย่างมากทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย เนื่องจากการใช้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพ และการรณรงค์ให้มีการฉีดวัคซีนตามกําหนดขององค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งถือเอาการกําจัดโรคบาดทะยัก โดยเฉพาะในเด็ก เป็นเป้าหมายสําคัญของโปรแกรมการฉีดวัคซีน ซึ่งได้มีการพัฒนาวัคซีนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การฉีดมีความสะดวกมากขึ้น ทั้งการเก็บรักษา (Heat stable vaccine) และการรวมวัคซีนหลายชนิดเข้าด้วยกัน ในรูปของวัคซีนคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก (DTP)
สําหรับประเทศไทย ได้เริ่มมีการฉีดวัคซีนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ทําให้มีอัตราการเสียชีวิตลดลง โดยในปี พ.ศ. 2538 พบผู้ป่วยบาดทะยัก จํานวน 502 ราย เสียชีวิตจํานวน 62 ราย และช่วงอายุที่พบผู้ป่วยเสียชีวิตมากที่สุด คือช่วงอายุมากกว่า 55 ปี และช่วงฤดูที่มีจํานวนของโรคมาก ที่สุดคือช่วงฤดูร้อน และฤดูฝน ระหว่างเดือนเมษายน ถึงสิงหาคม
บาดทะยัก (Tetanus) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อ Clostridium tetani ซึ่งเป็นเป็นเชื้อที่พบได้ทั่วโลก มักพบเชื้อปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ดิน โคลน แหล่งน้ำสกปรก ทางเดินอาหาร และอุจจาระของสัตว์และคน เชื้อสามารถทนต่อสภาวะแวดล้อมต่างๆ ได้ดี เช่น การต้มนาน 20 นาที หรือน้ำยาฆ่าเชื้อต่างๆ แต่ไม่สามารถทนต่อการอบนึ่ง ซึ่งเชื้อโรคตัวนี้ จะทําให้เกิดโรคได้จากสารพิษที่ผลิตออกมาโดยการย่อยสลายเซลล์ตัวเอง ได้สารพิษ 2 ชนิด คือ tetanalysis และ tetanospasmin โดย tetanalysis มีฤทธิ์เป็น hemolysis ทําให้มีผลเฉพาะที่แผล และเพิ่มโอกาสในการปนเปื้อนเชื้อที่แผลมากขึ้น ส่วน tetanospasmin เป็นสารพิษสําคัญ ที่ทําให้เกิดโรคบาดทะยัก และเป็นสารพิษที่รุนแรง
ระยะฟักตัวของโรคบาดทะยัก
ประมาณ 2-14 วัน อาการแรกที่พบ มักเป็นอาการของการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อสําหรับเคี้ยว (increased tone of masseter muscles) ทําให้มีอาการที่เรียกว่า trismus หรือ lockijaw ร่วมกับอาการปวดศีรษะ, กระสับกระส่าย ต่อมามีอาการของการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อทั่วไป เป็นไข้, คอแข็ง, เคี้ยวลําบาก, กลืนลําบาก, หุบ ยิ้มไม่ได้จากกล้ามเนื้อใบหน้าหดเกร็งตัว หลังแอ่นจากกล้ามเนื้อหลังหดเกร็งตัว และชัก
นอกจากนี้ หากเกิดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ อาจทําให้เกิดการปิดกั้นทางเดินหายใจ มีการขาดอากาศได้ เนื่องจากพิษของบาดทะยัก มีผลเฉพาะต่อเส้นประสาทที่ควบคุมและรับความรู้สึก ซึ่งเป็นระบบประสาทควบคุมการทํางานของกล้ามเนื้อ จึงไม่มีผลต่อความรู้สึก ดังนั้น ในคนที่มีอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ แม้จะมีอาการมาก แต่ก็จะยังมีความรู้สึกรับรู้ถึงความเจ็บปวดได้
การรักษา
โรคบาดทะยัก เป็นโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง และส่วนใหญ่พบในผู้ที่มีอายุมาก โดยเฉพาะอายุมากกว่า 60 ปี เนื่องจากอายุระหว่าง 60-69 ปี จะมีระดับภูมิคุ้มกันที่สูงกว่าระดับป้องกันน้อยกว่า 50% และน้อยกว่า 30% ในผู้ที่มีอายุกว่า 70 ปี
…………………………………………………….
ดังนั้น การฉีดวัคซีนตามเกณฑ์ตารางการฉีดวัคซีนขององค์การอนามัยโลก ยังคงมีความเหมาะสมในปัจจุบัน และการฉีดวัคซีนกระตุ้นเมื่อเกิดบาดแผลที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อบาดทะยัก ยังคงมีความสําคัญ เนื่องจากสามารถเพิ่มระดับภูมิคุ้มกันได้อย่างรวดเร็ว และเพียงพอในการป้องกันการเกิดโรคบาดทะยักได้
เนื้อหาโดย Dodeden.com