ที่มา: voicetv

อย. ร่วมบก.ปคบ. บุกจับครั้งใหญ่ แหล่งขายยาลดน้ำหนักผ่านทางเฟซบุ๊ก อันตรายต่อผู้บริโภค พร้อมยึดของกลางมูลค่ากว่า 5 ลบ.

914694

จากที่ปรากฏเป็นข่าวใหญ่ทางสื่อมวลชน กรณีพริตตี้สาวกระโดดตึกจากคอนโดชั้น 16 ย่านสุขุมวิท ซึ่งคาดว่าสาเหตุอาจเกิดจากการกินยาลดความอ้วนแล้วทำให้เกิดอาการประสาทหลอน นั้น อย. ไม่รอช้าจับมือกับ ตำรวจ บก.ปคบ.สืบสวนหาที่มาของการซื้อขายยาลดน้ำหนัก จนพบมีการขายเป็นยาชุดผ่านทางเฟซบุ๊ก และขยายผลต่อพบว่าแหล่งจำหน่ายอยู่ที่ จ.มหาสารคาม จึงลงพื้นที่ และประสานไปยัง สสจ.มหาสารคาม , กองบังคับการปราบปราม , ตำรวจท่องเที่ยว , ตำรวจทางหลวง และตำรวจปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี(ปอท.) เข้าจับกุมร้านขายยาลดน้ำหนัก 4 ร้าน

ทั้งนี้ พบยาลดน้ำหนักจำนวนมหาศาล คิดเป็นมูลค่ากว่า 5 ล้านบาท พร้อมเตือนหญิงสาวอย่าหลงเชื่อโฆษณาขายยาลดน้ำหนัก ผ่านทางโซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ต่าง ๆ และซื้อยามากินเอง เพราะ ยาลดน้ำหนักมักเป็นวัตถุออกฤทธิ์มีผลข้างเคียงสูงทั้งต่อหัวใจ และ หลอดเลือด อาจถึงแก่ชีวิตได้ พร้อมเตือนผู้ที่โพสต์ขายยาลดน้ำหนักผ่านทางเฟซบุ๊ก ไลน์ เว็บไซต์ ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ขอให้คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้ยา ควรมีคุณธรรมจริยธรรม หากตรวจพบจะถูกดำเนินคดีขั้นสูงสุด

12107081_969428716457624_5245401476973032643_n

เจ้าหน้าที่ อย. ภายใต้การอำนวยการของ นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา , นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ รองเลขาธิการฯ อย. , นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม รองเลขาธิการฯ อย. และ ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการฯ อย. ร่วมกับ ตำรวจ บก.ปคบ. กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง นำทีมโดย พล.ต.ต.นรบุญ แน่นหนา รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง รักษาราชการ ผบก. บก.ปคบ. , พ.ต.อ.ไพฑูรย์ คุ้มสระพรหม รอง ผบก.ปคบ. และ พ.ต.อ.ทรงโปรด สิริสุขะ ผกก.4 บก.ปคบ. แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า จากการที่มีข่าวพริตตี้สาวกระโดดตึกจากคอนโดชั้น 16 ย่านสุขุมวิท ซึ่งคาดว่าสาเหตุอาจเกิดจาก การกินยาลดความอ้วนแล้วทำให้เกิดอาการประสาทหลอน

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) รู้สึกห่วงใยเป็นอย่างยิ่ง และไม่อยากเห็นผู้บริโภคตกเป็นเหยื่อผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย สอดคล้องกับนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในการคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภค จึงร่วมกับตำรวจ บก.ปคบ. สืบสวนแหล่งที่มาของยาลดน้ำหนักที่ พริตตี้นำมากิน พบเป็นยาชุด ซื้อขายผ่านทางเฟซบุ๊ก และได้ขยายผลต่อถึงแหล่งจำหน่ายยาลดน้ำหนักดังกล่าว พบว่าแหล่งจำหน่ายอยู่ที่ จ.มหาสารคาม ดังนั้น เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2558 ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ อย. , สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม , ตำรวจ บก.ปคบ. , ตำรวจกองบังคับการปราบปราม , ตำรวจท่องเที่ยว , ตำรวจทางหลวง และตำรวจปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ลงพื้นที่ไปยังสถานที่เป้าหมายเพื่อตรวจค้นและจับกุม จำนวน 4 แห่ง

12109330_969428729790956_2265868236293606312_n

โดยตรวจพบ

1. ยาชุดลดน้ำหนัก บรรจุในซอง ประกอบด้วยยาหลายชนิด เช่นวัตถุออกฤทธิ์ ยานอนหลับ
2. ยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา
3. พบวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2 ลักษณะเป็นแคปซูล สีน้ำเงินใส ชื่อยา เฟนเตอร์มีน
4. พบวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 4 คือ ยาแคปซูล สีส้ม-ดำ ไออาซีแพม
5. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแสดงฉลากไม่ถูกต้อง
6. เครื่องสำอางแสดงฉลากไม่ถูกต้อง
โดยยาที่พบจะมีทั้งใส่ในกระปุกยา และยาใส่อยู่ในซอง จัดเป็นชุด ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ได้ยึดของกลางและส่งตรวจวิเคราะห์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รวมมูลค่าของกลางกว่า 5 ล้านบาท

12118768_969428723124290_2333700560752389065_n

ในเบื้องต้นได้แจ้งข้อหา ดังนี้
1. ขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 5,000 บาท
2. ขายยาโดยไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3. ขายยาชุด มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
4. ขายวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2 มีโทษจำคุกตั้งแต่ 5-20 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000 – 400,000 บาท
5. ขายวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 4 มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 100,000 บาท
6. ขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแสดงฉลากไม่ถูกต้อง มีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท
7. ขายอาหารปลอม มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน – 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 บาท – 100,000 บาท
8. ขายเครื่องสำอางที่แสดงฉลากไม่ถูกต้อง มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

12122693_969428719790957_1215134401910105620_n

นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวต่อไปว่า อย. ขอเตือนหญิงสาวที่อยากลดน้ำหนัก อย่าได้คิดที่จะซื้อยาลดน้ำหนักมากินเด็ดขาด ขอให้ระลึกเสมอว่า ยาที่โฆษณาชวนเชื่ออวดสรรพคุณ ในการลดน้ำหนักที่ขายผ่านทางโซเชียลมีเดีย ส่วนใหญ่ที่ตรวจพบจะเป็นยาปลอม ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ไม่ได้ผ่านการวินิจฉัยจากแพทย์ และไม่มีผลวิจัยรับรองสรรพคุณจากการใช้ยาตามหลักการแพทย์ที่ถูกต้อง

ผู้ที่ได้รับยาปลอมดังกล่าว เสี่ยงต่ออันตรายถึงชีวิต หากบริโภคเกินขนาด หรือมีโรคประจำตัวแทรกซ้อน ตามที่มีข่าวจากผู้ได้รับผลกระทบจากการใช้ยาลดน้ำหนักอยู่เป็นระยะ ๆ ดังนั้น ก่อนใช้ยาใด ๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง พร้อมทั้งขอปรามมายังผู้ขายยาผ่านทาง Social Media หรือ ร้านขายยาต่าง ๆ อย่าได้กระทำผิดกฎหมาย โดยเฉพาะการขายวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท เพราะอาจเกิดผลร้ายต่อผู้บริโภค หาก อย. ตรวจพบจะดำเนินคดีขั้นเด็ดขาด

นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลดน้ำหนักว่า ที่จริงการลดน้ำหนักที่ถูกต้อง คือ การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย พักผ่อนในสัดส่วนที่เหมาะสม และต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคด้วยการใช้ยาลดน้ำหนักอย่างไม่ถูกต้องจะไม่สามารถทำให้หายจากโรคอ้วนได้ เพราะหากใช้ติดต่อกันระยะหนึ่ง น้ำหนักจะกลับขึ้นได้อีก (yo-yo effect) และเสี่ยงจากผลข้างเคียงของยา หากผู้บริโภคพบการขายยาลดน้ำหนักผ่านทางสื่อต่าง ๆ สามารถร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือรองเรียนผาน Oryor Smart Application หรือ สายด่วน บก.ปคบ. 1135 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ร่วมมือกับ อย.ในการเฝ้าระวังตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยให้ผู้บริโภค ทั่วประเทศ

บุกจับครั้งใหญ่ แหล่งขายยาลดน้ำหนักผ่านทางเฟซบุ๊ค อันตรายต่อผู้บริโภค ยึดของกลางมูลค่ามหาศาลจากที่ปรากฏเป็นข่าวใหญ่ทาง…

Posted by Fda Thai on 16 ตุลาคม 2015

เรื่องน่าสนใจ