ในงานเสวนา “วิกฤตขยะบก สู่แพขยะในทะเล จะแก้อย่างไร” ซึ่งจัดโดยจุฬาลงกรณ์มหางวิทยาลัย นายธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณะบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บอกว่าขณะนี้ไทยได้ขยับอันดับปัญหาขยะทะเลจากอันดับ 6 ขึ้นมาเป็นอันดับ 5 ของโลกที่ทิ้งขยะลงทะเลมากที่สุด แซงประเทศศรีลังกาแล้ว นับเป็นสถานการณ์ที่ไม่ดีนักและยังเป็นปัญหาระดับประเทศอีกด้วย เนื่องจากไทยมีประชากรน้อยกว่าหลายๆประเทศแต่กลับมีปริมาณขยะในทะเลมากกว่า 1 ล้านตัน ทำให้เสี่ยงต่อการถูกกลุ่มประเทศยุโรป (อียู) กดดันไทยในลักษณะเช่นเดียวกับ ไอยูยู
อาจารย์ธรณ์บอกว่าการรณรงค์ให้ประเทศไทยลดใช้ถุงพลาสติกให้ได้ร้อยละ 30 เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก โดยปัจจุบันสามารถลดการใช้ได้ไม่ถึง ร้อยละ 10 ดังนั้นหากประชาชนไม่ช่วยกัน ขยะทะเลเป็นปัญหาสะสมในอีก 10 ปีข้างหน้า ที่ต้องใช้เวลาย่อยสลายถึง 450 ปี
นักวิชาการเสนอให้ใช้ 2 แนวทางจัดการขยะทะเลคือ สนับสนุนให้ผู้ที่ใช้ถุงพลาสติกต้องซื้อใช้ เพราะในระยะยาวขยะทะเลจะสลายตัวกลายเป็นพลาสติกจิ๋วหรือ “ไมโครพลาสติก” โดยเฉพาะพลาสติกที่ลอยในน้ำนานๆ จะเกิดการสลายตัวกลายเป็นเศษพลาสติกลดขนาดลงเรื่อยๆ จนเข้าสู่ระดับไมโครพลาสติก ซึ่งไมโครพลาสติกในทะเลมีผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์ นอกจากนี้่ ให้ทำเป็นผลิตภัณฑ์อะไรก็ได้ แทนการนำไปรีไซเคิล เพราะพลาสติกจะกลับคืนสู่ทะเลอีก