เนื้อหาโดย Dodeden.com

ประโยชน์ของนมผึ้ง
venomhoneyco

นมผึ้ง เป็นอาหารที่ผึ้งงานในช่วงที่เป็นผึ้งพี่เลี้ยงอายุ 6-12 วัน (young worker bees) สร้างขึ้นในระหว่างการย่อยเกสรและน้ำผึ้งที่ต่อมไฮโปฟารินเจียล (hypopharyngeal) และต่อมแมนดิบู ลาร์ (mandibular) ซึ่งอยู่บริเวณส่วนหัวของผึ้งงาน โดยที่ต่อมไฮโปฟารินเจียลจะสร้างนมผึ้งใน ปริมาณที่มากกว่าต่อมแมนดิบูลาร์ ซึ่งนมผึ้ง จะทําให้ผึ้งนางพญามีพัฒนาการทางด้านรูปร่างและหน้าที่แตกต่างไปจากผึ้งงานทั่วไป นมผึ้งมีลักษณะเป็นของเหลวข้น สีครีม กลิ่นหอมอ่อน ๆ และรสขมเล็กน้อย จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับฤดูกาล และพื้นที่ ส่วนปริมาณการผลิตนมผึ้งของผึ้งงาน จะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพืช อาหาร และสภาพแวดล้อม 

กระบวนการทางธรรมชาติที่ก่อให้เกิดการผลิตนมผึ้ง นั่นคือการสร้างผึ้งนางพญา ซึ่งจะเกิดจากสาเหตุ 3 ประการ คือ เปลี่ยนผึ้งนางพญาตัวเดิมที่หมดสภาพ เพื่อขยายเผ่าพันธุ์ผึ้งออกไป และเพื่อทดแทนผึ้งนางพญาตัวเดิมที่สูญหาย หรือตายโดยอุบัติเหตุ การผลิตที่เกิดจากทั้ง 3 กระบวนการนี้ จะได้ปริมาณนมผึ้งเพียงเล็กน้อย ไม่สม่ำเสมอ ขึ้นอยู่กับสภาพภายในรังผึ้งแต่ละรังว่าจะมีสภาพภายในเอื้ออํานวยมากน้อยแค่ไหน ในการผลิตแบบอุตสาหกรรมจึงต้องจัดสภาพภายในรังผึ้งให้เหมาะสมต่อการผลิตด้วย 

ประโยชน์ของนมผึ้ง ขุมทรัพย์จากธรรมชาติ กับการต้านเชื้อแบคทีเรียบางชนิด

 

ประโยชน์ของนมผึ้ง

ในธรรมชาติ นมผึ้งจะช่วยเร่งการเจริญเติบโตของตัวอ่อนผึ้ง และช่วยบํารุงให้ผึ้งนางพญามีอายุยืนกว่าผึ้งชนิดอื่น เพราะนมผึ้งประกอบด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์เป็นจํานวนมาก มนุษย์จึงนํานมผึ้งมาใช้ประโยชน์ทั้งในแง่การบํารุงร่างกาย บรรเทาความเจ็บปวด และการรักษาโรค ซึ่งเราจะแบ่งบทบาทและหน้าที่ของนมผึ้งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ หน้าที่ทางชีวภาพ และบทบาทในการรักษาโรคค่ะ

ประโยชน์ของนมผึ้ง
dvrnn.goge.pro

หน้าที่ทางชีวภาพ
ใช้บํารุงสติปัญญา บํารุงสมองไม่ให้เฉื่อยชา สร้างความต้องการและความกระตือรือร้นในการบริโภคอาหาร ทําให้ร่างกายที่ซูบผอมกลับอุดมสมบูรณ์ และแข็งแรงขึ้น ช่วยให้เด็กที่เจ็บป่วย ร่างกายไม่แข็งแรง หรือเด็กอ่อนที่เติบโตช้ากว่าปกติให้เจริญเติบโตไปตามวัยของเด็ก ช่วยบํารุงร่างกายและจิตใจของหญิงที่อยู่ในช่วงการหมดประจําเดือน บรรเทาความเหนื่อยอ่อนเพลียของร่างกายให้สดชื่นและแข็งแรง ช่วยให้มนุษย์มีอายุยืนยาว และช่วยชลอความแก่ กระตุ้นต่อมต่างๆ ของร่างกายให้กลับมาทํางานได้ดีเหมือนเดิม ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกบางชนิด เช่น เชื้อ Streptococcus cremoris และ Corynebacterium pyogenes ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้ในรูปของแคปซูล

กรด 10-HDA ในส่วนสกัดไขมันของนมผึ้ง ที่ได้จากผึ้งพันธุ์ พบว่าเป็นองค์ประกอบที่สําคัญ ที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด นอกจากคุณสมบัติในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ของกรค 10-HDA ในส่วนสกัดไขมันของนม ผึ้งยังมีคุณสมบัติอื่นๆ อีก เช่น มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง ยับยั้งการสังเคราะห์ส่วนประกอบไขมันในกระบวนการ lipogenesis (การสร้างไขมันของตับจากพลังงานส่วนเกิน) ได้อีกด้วย

ปัจจุบันมีรายงานการนํานมผึ้งมาใช้รักษาโรคได้หลายชนิค และโรคบางชนิดก็อยู่ในขั้นตอนของการทดลองวิจัยที่ยังไม่สรุปแน่ชัด ซึ่งส่วนใหญ่เเล้วจะใช้ในการรักษาโรคขาดสารอาหาร โรคความดันโลหิตสูง โรคความจําเสื่อม โรคกระดูกผุ ข้ออักเสบ โรคเบาหวาน โรคโลหิตจาง โรคพาร์กินสัน โรคหอบหืด ช่วยรักษาบาดแผลติดเชื้อ และการอักเสบจากเชื้อบางชนิด อีกทั้งยังใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีระบบฮอร์โมนผิดปกติ ผู้ป่วยที่มีระดับของ cholesterol สูงในกระแสเลือด ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางจิต และผู้ป่วยที่มีระบบต่อมไร้ท่อผิดปกติอีกด้วย

ป้ายกำกับ: |

เรื่องน่าสนใจ