h01

คุณเคยไหมกับอาการปวด รู้สึกฝืดขัดตามข้อเข่า หรือพ่อแม่เคยบ่นให้ฟังว่ารู้สึกปวดขัดตามข้อ คุณอาจจะคิดว่าเป็นอาการปวดเมื่อยของผู้สูงอายุทั่วไป แต่รู้หรือไม่ว่านั่นอาจเป็นสัญญาณของโรคข้อเสื่อม

โรคข้อเสื่อม เกิดจากการเสื่อมสลาย และสึกหรอของกระดูกอ่อนบริเวณข้อ เมื่อกระดูกอ่อนลดลงจนกระดูกแข็งเสียดสีกัน ทำให้เกิดอาการปวด บวม อักเสบ และไม่สามารถใช้งานข้อได้ มีผลต่อการดำเนินชีวิตเป็นอย่างมาก โดยอัตราการเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่า และเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นอายุที่เพิ่มขึ้น หรือผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก ผู้ที่ออกกำลังกายหรือใช้ร่างกายส่วนที่เป็นข้อเป็นประจำ เช่น นั่งยอง นั่งขัดสมาธิ นอกจากนี้พันธุกรรมก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่สามารถทำให้ข้อเสื่อมได้

ซึ่งคุณสามารถสำรวจตัวเอง และคนรอบข้างได้ว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมหรือไม่ตามลักษณะดังนี้

  • อายุ 40 ปีขึ้นไป
  • น้ำหนักตัวมาก โดยมีค่าดัชนีมวลกาย BMI มากกว่า 25
  • ทำงานหรือกิจกรรมที่ต้องเดินตลอดเวลา
  • อาการข้อยึด ข้อติด ซึ่งเป็นบ่อยในช่วงเช้า
  • รู้สึกปวดเรื้อรังตามข้อ และปวดมากขึ้นเมื่อมีการลงน้ำหนัก เดินลงบันได แม้กระทั่งเวลานอน
  • ขาโก่งผิดรูป เดินไม่สะดวก เดินโยกตัว
  • ขณะเคลื่อนไหวข้อเข่ามีเสียงดังก๊อบแกร๊บ

การรักษา และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคสามารถทำได้หลายวิธีคือ

  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยเมื่อรู้สึกถึงความผิดปกติคือมีอาการปวด เจ็บ ของข้อ ต้องลดการทำกิจกรรมที่ต้องลงน้ำหนักมาก เช่น การเดินบ่อยๆ การกระโดด ซึ่งถ้าเป็นผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากควรลดน้ำหนักร่วมด้วย
  • ทานยา หรือฉีดยาแก้ปวด รับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการปวด อักเสบ ซึ่งเป็นการแก้ที่ปลายเหตุและอาจจะส่งผลในระยะยาวต่อการทำงานของตับ
  • ฉีดน้ำไขข้อ โดยมีค่าใช้จ่ายสูง (ค่าใช้จ่ายประมาณ 20,000 – 25,000 บาท)
  • ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม โดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อ ซึ่งมีความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อน และมีค่าใช้จ่าย
    ค่อนข้างสูง (ค่าใช้จ่ายประมาณ 100,000-200,000 บาท)
  • ปลูกถ่ายเซลล์กระดูกอ่อน
  • เสริมสารอาหารดูแลกระดูกอ่อนบริเวณข้อ โดยสารอาหารที่จะช่วยเสริมสร้างกระดูกอ่อนของข้อ และช่วยดูแลสุขภาพกระดูกเช่น กลูโคซามีนซัลเฟต คอนดรอยตินซัลเฟต หรือนวัตกรรมใหม่ที่ช่วยลดการสลายตัวของกระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อ อย่างคอลลาเจนชนิดที่ 2 (Collagen Type II) เป็นต้น

h02

โดยปกติกระดูกอ่อนบริเวณข้อของคนเรามีองค์ประกอบหลัก 3 ส่วนได้แก่ เซลล์กระดูกอ่อน (Chondrocytes),คอลลาเจน (ชนิดที่ 2 และอื่นๆ), โปรติโอกลัยแคนส์ (Proteoglycans) และส่วนที่เป็นของเหลว ปริมาณเปอร์เซ็นต์สัดส่วนตามภาพด้านบน

ซึ่งเมื่ออายุมากหรือออกกำลังกายหนักจะทำให้กระดูกอ่อน (Cartilage) บริเวณข้อเสียหาย และส่วนประกอบหนึ่งที่มีปริมาณอยู่มากในกระดูกอ่อน เกิดความเสียหายและต้องได้รับการฟื้นฟูคือ Collagen Type II ซึ่งเป็นหนึ่งสาเหตุที่สำคัญ ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ ปวด บวม และอักเสบ ดังนั้นเราควรจะต้องรับประทาน Collagen Type II ซึ่งจะเข้าไปช่วยดูแลกระดูกอ่อนในข้อต่อ

Collagen Type II เป็นคอลลาเจนที่พบได้ในกระดูกอ่อนที่ข้อต่อต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งทำหน้าที่รองรับน้ำหนัก และให้ความแข็งแรงขณะที่ร่างกายเคลื่อนไหว การศึกษาพบว่าในผู้ที่น้ำหนักตัวมาก และผู้สูงอายุ ซึ่งความทนต่อแรงกระแทกจะเริ่มเสื่อมลง โดยเฉพาะข้อต่อที่รับน้ำหนัก เช่น ข้อเข่า และสะโพก จึงมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับภาวะการเกิดข้อเสื่อม ข้ออักเสบ

Collagen Type II ที่พบในกระดูกอ่อนบริเวณข้อต่อ แตกต่างจากคอลลเจนที่พบในเซลล์ผิวหนัง ซึ่งจะเป็นคอลลาเจนชนิดที่ 1, 3 และ 4 โดยคอลลาเจนชนิดที่2 (Collagen Type II) จะช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอในข้อ
ช่วยเพิ่มระดับของกรดไฮยาลูโรนิค (Hyaluronic acid) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของน้ำหล่อเลี้ยงในข้อ(น้ำไขข้อ) และปรับสมดุลการทำงานของเอนไซม์ที่ย่อยสลาย Collagen Type II บริเวณข้อ

Collagen Type II ที่มีจำหน่ายในบ้านเราขณะนี้ แบ่งได้ 2 ประเภทคือ Undenatured Collagen Type II (UC-II) และ Denatured ซึ่งกระบวนการผลิต UC-II ที่พิเศษและแตกต่างจาก Denatured จึงทำให้ได้ Collagen Type II ที่มีคุณสมบัติ และโครงสร้างเหมือนกับที่ร่างกายสร้างขึ้น คือมีลักษณะเป็น Triple Helix Structure จึงสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจำเพาะบริเวณข้อต่อ ซึ่งต่างกับกระบวนการผลิตแบบ Denatured เช่น ไฮโดรไลซ์คอลลาเจนชนิดที่ 2 (Hydrolyzed Collagen Type II) ที่จะมีโครงสร้างเล็กและแตกย่อยไม่เป็น Triple Helix Structure

h03

ภาพลักษณะโครงสร้างคอลลาเจนชนิดที่ 2 ในกระดูกอ่อนบริเวณข้อในร่างกาย มีลักษณะ
Triple Helix Structure

 

h04

ภาพเปรียบเทียบความแตกต่าง ระหว่าง Collagen Type II ทั้งสองแบบเมื่อส่องด้วยกล้องไมโครสโคป (Microscope)

ซึ่งมีผลงานวิจัยจาก KGK Synergize Inc.,Canada และ Corunna Medical Research โดยแบบประเมินอาการของ
ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมซึ่งใช้วัดระดับอาการปวด อาการข้อฝืด และการใช้งานของข้อ พบว่าสามารถลดอาการปวดข้อเข่าลง 40%, ลดอาการติดขัดบริเวณข้อเข่าลง 33% และสามารถลดอาการปวดข้อเข่าขณะทำกิจกรรมในแต่ละวันได้ถึง 20% ซึ่งสามารถเข้าไปอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Interhealth (http://www.interhealthusa.com/Ingredients/UC-II.aspx)

h05

7 คุณสมบัติ Undenatured Collagen Type II (UC-II)

h06

เมื่อรู้ถึงอันตรายของโรคข้อเสื่อมที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตอย่างนี้แล้ว คุณคงต้องลองกลับไปสังเกตทั้งตัวเอง และคนรอบข้างแล้วล่ะว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคข้อเสื่อมหรือไม่ จะได้เริ่มดูแลตัวเองและคนที่คุณรักตั้งแต่วันนี้ แต่สำหรับคนที่รู้ตัวว่าเริ่มมีอาการเป็นโรคข้อเสื่อม ลองหาอาหารเสริมที่มี Collagen Type II (UC-II) มารับประทานดูนะคะ จะได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขไม่ต้องทนกับอาการเจ็บปวด

 

ขอขอบคุณ ข้อมูลวิชาการ จากบริษัท หาญไทยฟาร์มา (2508) จำกัด

Website: http://www.harnthai.com/supplement/?product=j-care-primero

Call Center: 0888-515-666

Line ID: @harnthai

h07

ป้ายกำกับ:

เรื่องน่าสนใจ