เนื้อหาโดย : โดดเด่นดอทคอม
เคยตื่นนอนตอนเช้าแล้วรู้สึกปวดเมื่อยต้นคอหรือปวดต้นคอจนเอี้ยวหรือก้มเงยไม่ได้ไหม? นี่เป็นอาการที่เกิดจากการ “นอนตกหมอน” ในสมัยโบราณมักให้นำหมอนไปตากแดดเพื่อแก้เคล็ด วันนี้โดดเด่นพามารู้จักกับสาเหตุ และวิธีแก้อาการปวดคอจากการนอนตกหมอนกัน
สาเหตุการนอนตกหมอน
สาเหตุโดยทั่วไปมักเกิดจากการที่ลำคอและศีรษะอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลา นาน ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นท่าทางที่ทำให้ “คอเอียงตะแคง” หรือหันหน้าไปทางใดทางหนึ่ง มักเกิดจากการนอนหนุนหมอนที่ไม่เหมาะสม เช่น หมอนแบนเกินไป ทำให้ศีรษะแหงนเงยเล็กน้อยเมื่อนอนหงาย และทำให้คอเอียงเมื่อนอนในท่าตะแคง หรือหนุนหมอนที่หนาเกินไป ไม่ยุบตัวรองรับลำคอและบ่า จะทำให้คออยู่ในท่าก้มเมื่อ นอนหงาย และเอียงมาด้านตรงข้าม เมื่อนอนตะแคง เกิดการตึงตัวของกล้ามเนื้อรอบลำคอ
อาการ
มีอาการปวดต้นคออย่างรุนแรง, คอแข็ง ไม่สามารถหันซ้าย-ขวาได้ รวมไปถึงการก้มหรือเงย โดยส่วนมากมักจะเป็น 2-3 วัน แต่มักทำให้การใช้ชีวิตประจำวันนั้นลำบาก
วิธีการรักษา
ข้อควรระวัง
ไม่ควรกดบีบ หรือยืดกล้ามเนื้อจนรู้สึกเจ็บ เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวมากขึ้น และไม่ควรให้ผู้อื่นดัดคอเด็ดขาด หลายคนมักคิดว่า เมื่อมีอาการปวดจะต้องเข้านวดเสมอ โดยเฉพาะการนวดแผนไทย วิธีนี้อาจทำให้เกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อได้
หากปฏิบัติตามที่แนะนำแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษานักกายภาพบำบัดจะดีกว่า อย่าไปมัวเสียเงินให้อาการปวดต้นคอย่ำแย่ไปมากกว่านี้
สำหรับคนที่เกิดอาการปวดคอ เพราะตกหมอนบ่อยๆ
1.ปรับพฤติกรรม ถ้าเป็นบ่อย สาเหตุมักจะเป็นเรื่องเดิมๆ คือความเคยชินหรือพฤติกรรมการนอนที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ท่านอนที่เหมาะสมศีรษะและก้านคอควรอยู่ในแนวตรงทั้งท่านอนหงายหรือตะแคง หลีกเลี่ยงการนอนตะแคงทับข้างที่มีอาการเป็นประจำ อีกทั้งไม่ควรนอนคว่ำอ่านหนังสือ หรือนอนดูโทรทัศน์เป็นเวลานาน
2.หมอนและที่นอนเป็นตัวช่วย เรื่องนี้ง่ายมาก ไม่จำเป็นต้องราคาแพง หมอนควรเลือกให้เหมาะทั้งขนาดและความแข็ง ทดลองก่อนก็ดี โดยดูจากเวลานอนระดับคางไม่เงยหรือก้มมากไป ขนาดใหญ่พอที่จะหนุนมาถึงหัวไหลเล็กน้อยกันคอตกหมอน หลีกเลี่ยงหมอนที่นุ่มมาก เลือกระดับแข็งปานกลาง ที่นอนก็เช่นกัน เพราะถ้านุ่มมากพลิกตัวแต่ละทีกระดูกสันหลังทั้งคอและเอวจะกระเพื่อม
3.เดินทางไกล ปลอดภัยไว้ก่อน ถ้าจะต้องนั่งหลับ ควรใส่ปลอกคอหรือหมอนลมประคองก้านคอ เนื่องจากเวลาหลับกล้ามเนื้อจะคลายตัวไม่สามารถปกป้องพยุงต้นคอได้เต็มที่ อีกทั้งการเดินทางบางครั้งยังมีการกระแทก กระชาก สั่น หรือเหวี่ยง
4.บริหารกล้ามเนื้อคอสม่ำเสมอ เพื่อคงไว้ซึ่งความยืดหยุ่นโดยหมุนคอเบาๆ และเพิ่มความแข็งแรงด้วยการเกร็งกล้ามเนื้อคอทีละด้านต้านแรงดันจากฝ่ามือ ของเรา
ที่มา : oknation, โรงพยาบาลสินแพทย์,