ปวดเต้า ต้องพบแพทย์

500_12

เป็นอาการที่พบได้บ่อยจนอาจจะเป็นเรื่องปกติในผู้หญิงส่วนมาก จะต่างกันก็ตรงที่ความรุนแรงของอาการปวดเท่านั้น เชื่อว่า 2 ใน 3 ของผู้หญิงทั่วไปมักจะเคยมีอาการปวดอย่างน้อยสักครั้งในชีวิต และก็มักจะสร้างความกังวลใจกับคุณผู้หญิงว่า มันจะเป็นอาการของโรคมะเร็งเต้านมหรือเปล่า แต่สำหรับในขั้นตอนทางการแพทย์แล้วนั้นเราสามารถตรวจเพื่อแยกว่าเป็นการเจ็บ ที่บริเวณกล้ามเนื้อ หรือผนังหน้าอก

ทั้งนี้อาการปวดบริเวณเต้านมสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้

1.อาการปวดที่มีสาเหตุสัมพันธ์กับรอบเดือน โดยเฉพาะในช่วงหลังไข่ตก (ช่วงกลางรอบเดือน) โดยจะมีอาการปวดทั้ง 2 ข้าง เจ็บแบบตึง ๆ จากอาการเจ็บ ๆ เพียงเล็กน้อยถึงปวดคล้ายถูกของแหลมแทง

2.อาการปวดที่ไม่สัมพันธ์กับรอบเดือน ซึ่งอาการเจ็บเต้านมมักจะสามารถระบุตำแหน่งที่เจ็บได้ โดยมักจะเป็นบริเวณใต้หัวนม ข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้างก็ได้ อาการเจ็บมักจะรู้สึกแสบ ๆ คัน ๆ หรือตึง ๆ

3. เจ็บเต้านมกับรอบเดือน อาการ เจ็บในลักษณะนี้เกิดจากขณะที่มีการตกไข่ ฮฮร์โมนเพศหญิงจะมีการเปลี่ยนแปลงทำให้กรดไขมันตัวหนึ่งที่มีชื่อว่า กาโมลีนิก (Gamolenic Acid) ลดต่ำลง จึงทำให้คุณผู้หญิงรู้สึกปวดที่บริเวณเต้านม โดย จะเจ็บแบบตึง ๆ ทั้ง 2 ข้าง ซึ่งหากคุณผู้หญิงท่านใดเกิดความกังวล หรือสงสัยที่มันเป็นอาการของโรคมะเร็งเต้านมหรือไม่ ก็สามารถมาพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการดังกล่าว ซึ่งรายละเอียดในการตรวจของแพทย์จะเริ่มจากการซักประวัติอาการปวดดังกล่าว ว่า คุณปวดตรงบริเวณใด ปวดสัมพันธ์กับรอบเดือนหรือไม่ และจะตรวจร่างกายดูว่ามีก้อนที่เต้านมหรือมีน้ำออกจากหัวนมหรือไม่

4.  ถ้าตรวจพบว่ามีก้อนที่เต้านม แพทย์ก็จะส่งตรวจอัลตร้าซาวด์ดูว่า ก้อนนั้นเป็นถุงน้ำหรือก้อนเนื้อ

5. ถ้าตรวจพบว่ามีน้ำออกจากหัวนม ก็จะต้องดูสีน้ำที่ออกมาว่า เป็นเลือดหรือเป็นสีน้ำนมธรรมดา และแพทย์จะส่งตัวอย่างน้ำที่ออกมานั้นไปตรวจเพื่อหาเซลล์มะเร็งเต้านม และจะให้ผู้รับบริการตรวจแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์

6.  ถ้าพบตรวจพบว่า มีแผลหรือตุ่มน้ำใสที่ผิวหนังของเต้านมอาจจะเป็นงูสวัดได้

7. ถ้าตรวจไม่พบความผิดปกติ แพทย์จะแนะนำให้ทำแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์ ถ้าผลไม่มีความผิดปกติก็จะอธิบายเรื่องปวดที่เต้านมให้ผู้รับบริการเข้าใจ ต่อไป

Credit : faceup.co.th

เรื่องน่าสนใจ