โรคเอ็นฝ่า เท้าอักเสบ (รองช้ำ) คือภาวะที่มีการอักเสบของพังผืดใต้ฝ่าเท้า เป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะผู้หญิง หรือผู้ที่มีน้ำหนักมาก ในรายที่เป็นมานาน หรือไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอาการจะเรื้อรังมากขึ้น และมักเอกซเรย์พบหินปูนงอกบริเวณกระดูกส้นเท้าด้วย
ใครที่เสี่ยง…โรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ
คนสูงอายุ เนื่องจากพังผืดฝ่าเท้ามีความยืดหยุ่นน้อยลง
คนที่มีน้ำหนักเกิน ทำให้พังผืดฝ่าเท้ารับแรงกระแทกมากขึ้น
คนที่มีอาชีพยืนหรือเดินมาก ทำให้พังผืดผ่าเท้าตึงเครียด
คนที่มีอุ้งเท้าสูง หรือแบนผิดปกติก็อาจมีปัจจัยเสี่ยงมากขึ้น
คนที่ใส่รองเท้าพื้นแข็งหรือพื้นบางเป็นประจำ
วิธีรักษาให้ลาขาด จากโรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ
– การพักและใช้ยาลดอาการอักเสบการลดการ เดิน (ใช้ไม้เท้าพยุง) การประคบความเย็นหรือน้ำแข็งประมาณ 20 นาที 3-4 ครั้งต่อวัน ในตอนเย็นจะช่วยลดอาการเจ็บปวดได้ดี
– การรับประทานยาลดอาการอักเสบควรพิจารณาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และไม่ควรรับประทานต่อเนื่องนานเกิน 2-3 สัปดาห์
– การบริหาร การบริหารอ็นร้อยหวายและพังผืดฝ่าเท้าที่เหมาะสม จะช่วยทั้งรักษาและป้องกันการเกิดโรคนี้ได้ดีที่สุด
การบริหาร เพื่อยืดเอ็นร้อยหวาย
ยืนหันหน้าเข้าข้างฝาผนัง แล้วยืนดันมือกับผนัง ก้าวขาที่ต้องการยืดไปด้านหลัง ส้นเท้าติดพื้นย่อเข่าหน้าจนรู้สึกตึงขาหลัง ทำค้างไว้ประมาณ 20-30 วินาที ทำซ้ำ 20 ครั้งต่อวันหรืออาจจะนั่งกับพื้นราบแล้วใช้ผ้าเช็ดตัวช่วยดึงปลายเท้าก็ได้
การบริหาร เพื่อยืดพังผืดฝ่าเท้า
การยืดพังผืดฝ่าเท้าทำได้โดยการนั่ง ไขว่ห้าง แล้วใช้มือดัดฝ่าเท้าขึ้นสุด จนรู้สึกดึงที่เอ็นฝ่าเท้า แล้วใช้นิ้วโป้งมืออีกข้างกดนวดตลอดแนวพังผืดผ่าเท้า นวดขึ้น-ลง หรือนวดเป็นวงกลม ให้นวดนานประมาณ 2-3 นาที ต่อครั้ง นวด 3-5 ครั้งต่อวัน หากมีอาการปวดให้ประคบน้ำแข็งหลังนวด
การใช้แผ่นรองส้นเท้า
การใช้แผ่นรองเท้าที่อ่อนนุ่ม หรือสวมรองเท้าที่เหมาะสม ก็ช่วยบรรเทาอาการปวดได้ดี และการใส่เฝือกอ่อนจะช่วยลดการเคลื่อนไหวที่ข้อเท่า อาจเป็นอีกทางเลือกที่ช่วยลดอาการอักเสบในช่วงแรกได้ดี
การรักษาด้วยความถี่ (Shockwave)
เป็นการกระตุ้นเอ็นพังผืดฝ่าเท้าให้มี เส้นเลือดมาเลี้ยงซ่อมแซมตัวเอง ได้ผลการรักษาใกล้เคียงการผ่าตัด แต่เป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
การผ่าตัด
หากรับการรักษาแล้วแต่ยังมีอาการไม่หายขาด จึงมีความจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อผ่าตัดพังผืดเท้าบางส่วนและนำหินปูที่เกาะพังผืดออก
การฉีดยาลดอาการอักเสบ
ไม่ควรใช้ยาสเตียรอยด์เข้าบริเวณส้น เท้า เนื่องจากจะทำให้รักษาได้ยากขึ้น และมีความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกติดเชื้อ ไขมันฝ่าเท้าฝ่อ หรือเอ็นฝ่าเท้าฉีกขาดซึ่งยากต่อการรักษามาก
*** ระวัง!! ***
ในบางกรณี การบาดเจ็บส้นเท้าอาจไม่ได้เกิดจากโรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบเพียงอย่างเดียวบาง ครั้งการบาดเจ็บส้นเท้า อาจไม่ได้เกิดจากโรคพังผืดฝ่าเท้าอักเสบเพียงอย่างเดียว ดังนั้นหากทำการบริหารแล้วยังมีอาการเจ็บอีก ผู้ป่วยควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาและประมาณ 90 % ของผู้ป่วยส่วนพังผืดฝ่าเท้าอักเสบ มักจะดีขึ้นหลังจาก 2 เดือน หลังการรักษาที่เหมาะสม