ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์

กรณีปัญหาขยะเชียงใหม่ที่มีมากกว่า 1,000 ตันต่อวัน ไร้การจัดการอย่างถูกต้อง ถูกนำไปทิ้งไว้ตามป่าดอยและบ่อดินร้างที่มีการขุดหน้าดินขายจนเป็นบ่อขนาดยักษ์เนื้อที่หลายสิบไร่ในแต่ละแห่ง จนนายทุนหัวใสนำมาเป็นที่ทิ้งขยะราคาถูก เป็นเหตุให้เทศบาลที่ใช้ระบบการจ้างบริษัทกำจัดขยะต้องหันมาใช้บริการบ่อดินที่ไม่ถูกต้องเป็นที่ทิ้งขยะ สร้างปัญหาความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านไปทั่วอยู่ในขณะนี้

จนทางจังหวัดเชียงใหม่จะมีการนำเสนอปัญหาขยะเมืองเชียงใหม่เข้าเสนอสู่การประชุม ครม.สัญจร ที่จัดจะขึ้นที่ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จ.เชียงใหม่ วันที่ 29-30 มิ.ย.นี้ตามข่าวที่ได้เสนอไปแล้วนั้น

EyWwB5WU57MYnKOuXxvgKrikUTBRYUuHqFCY4t2KbsOitT0kbIabir

เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 22 มิ.ย. ผู้สื่อข่าวได้สัมภาษณ์ ดร.วสันต์ จอมภักดี ประธานคณะกรรมการประสานงานอนุรักษ์แม่ปิงและสิ่งแวดล้อม และประธานโครงการวิศวกรรมเพื่อชุมชนและการพัฒนาที่ยั่งยืน อดีตรองคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งติดตามปัญหาขยะของเมืองเชียงใหม่ที่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม เผยว่า การแก้ปัญหาขยะเมืองเชียงใหม่ขณะนี้แค่ส่วนภาคเอกชนเท่านั้น แต่ขาดการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน

ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในสังคม ควรมีวิธีการจัดการขยะในครัวเรือน โดยการคัดแยกขยะ แต่เมื่อถึงระดับท้องถิ่นที่จะจัดการขยะกลับมีมาตรการจัดการที่ไม่สอดคล้องกัน นำขยะกลับไปรวมกันอีก ถือเป็นปัญหาพื้นที่ฐานที่ถูกมองข้ามไป มัวแต่มองเทคโนโลยี แต่กลับลืมสร้าง ฐานความมีวินัยตั้งแต่บุคคล ครอบครัว ไปถึงระดับชุมชน ตัวอย่างที่แก้ไขปัญหาขยะได้เช่นญี่ปุ่น เขาจะจัดระเบียบ เข้มงวดในครอบครัวก่อนขยะออกจากบ้าน จะมีน้อยมากการจัดการจึงทำได้ในภาครัฐของเขา

“ส่วนการจัดการขยะทิ้งในบ่อดิน ตามที่ตนติดตามมาเป็นขยะที่ปะปนกันหมด จัดการเพียงพ้นพื้นที่ของตัวเอง แต่ไปสร้างปัญหาพื้นที่รวมถึงสร้างปัญหาสิ่งแวดล้อม ยิ่งเมื่อนำขยะไปทิ้งในบ่อดินและบนดอย จะเป็นอันตรายมากเมื่อน้ำฝนไหลชะลงน้ำใต้ดินจะทำให้ดินและน้ำใต้ดินเป็นมลพิษ ยิ่งบ่อดินขนาดใหญ่ที่ไร้การจัดการ ยิ่งอันตรายมาก แก๊สมีเทนที่เกิดขึ้นจากการหมักหมมเมื่อทำปฏิกิริยากับชีวเคมี ทำให้เกิดไฟลุกไหม้ได้ดังตัวอย่างในหลายพื้นที่” ดร.วสันต์กล่าวเตือน

เรื่องน่าสนใจ