ผลข้างเคียงของยาสลบ หลังผ่าตัดทำไมเราถึงรู้สึกมึนๆ กันนะ? นี่คงเป็นคำถามที่ค้างคาใจหลายๆ คน หลังจากที่เข้ารับการผ่าตัด จนอยากหาคำตอบให้รู้แจ้งกันไปสักที! บทความนี้เราจะพาคุณไปไขความลับกันค่ะ
การผ่าตัดใหญ่ที่ต้องใช้เวลานาน และทำให้เราเกิดการเจ็บปวดได้มาก เราก็มักจะต้องโดนให้ยาสลบ โดยจะมีวิสัญญีแพทย์ที่เชี่ยวชาญคอยดูแลอยู่ ซึ่งการให้ยาสลบนั้น ส่วนใหญ่ก็จะเป็นการฉีดยาเข้าสู่เส้นเลือด หรือให้เราดมยาในรูปแบบก๊าซ แล้วเราก็จะรู้สึกง่วงนอน และหมดสติไปในที่สุด (ไม่เกิน 10 วินาที)
เราจะต้องและแจ้งประวัติทางการแพทย์ให้วิสัญญีแพทย์ทราบก่อน จะได้วางแผนการใช้ยาสลบที่ถูกต้อง และเหมาะสมกับการผ่าตัดของเรา ซึ่งจะมีการซักถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัจจัยความเสี่ยง และปัญหาสุขภาพอื่นๆ ด้วย เช่น เราเคยมีประวัติแพ้ยาสลบหรือไม่ หรือมีคนในครอบครัวเคยแพ้ยาสลบมั้ย มีประวัติการป่วย หรือกำลังป่วยหรือไม่ สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์หรือไม่ กำลังตั้งครรภ์อยู่หรือไม่
คนประเภทใดบ้างที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียง
– คนที่สูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์
อาจจะเกิดผลข้างเคียง และภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย
– คนที่อยู่ในภาวะน้ำหนักเกิน หรือภาวะอ้วน ควรทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อลดน้ำหนักตัว
ก่อนผ่าตัด คุณหมอจะให้เรางดดื่มน้ำ หรือทานอาหารใดหลังเที่ยงคืน ของคืนก่อนหน้าวันผ่าตัด เพราะระหว่างการผ่าตัด เราอาจเกิดการอาเจียนหลังจากที่ดมยาสลบได้ ซึ่งถ้าหากเราทานอาหารมา อาหารที่อยู่ในช่องท้องก็อาจสำลักเข้าสู่ปอด จนเกิดปัญหาการหายใจได้ค่ะ และในระหว่างที่ทำการผ่าตัดนั้น วิสัญญีแพทย์ก็จะคอยอยู่ดูแลเราอย่างใกล้ชิด
นั่นเป็นเพราะ ร่างกายของเราถูกกระตุ้น chemoreceptor trigger zone ซึ่งจะหลั่งสารสื่อประสาทไปกระตุ้นศูนย์การอาเจียน ส่งแรงกระตุ้น ไปกระตุ้นน้ำลาย ส่วนควบคุมการหายใจ คอหอย ระบบทางเดินอาหาร และกล้ามเนื้อหน้าท้อง ทำให้เกิดการคลื่นไส้อาเจียน นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยที่ดูเหมือนจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัดได้ด้วย นั่นก็คือเพศหญิง(จากฮอร์โมนเอสโตรเจน) ซึ่งพบมากกว่าเพศชาย 2-4 เท่า , คนอ้วน , ผู้ป่วยอายุน้อย , เคยมีประวัติคลื่นไส้อาเจียน , มีภาวะความดันโลหิตต่ำ หรือภาวะน้ำตาลในกระแสเลือดสูง เป็นต้น
แพทย์สามารถให้ยาป้องกันได้ ซึ่งวิสัญญีแพทย์จะต้องประเมินความเสี่ยงของผู้ป่วยก่อน นับตั้งแต่การซักประวัติ การพูดคุย และประสานกับแพทย์ เพื่อสั่งการใช้ยาในการป้องกันได้
ขอขอบคุณข้อมูลส่วนนี้จากหนังสือ : วิสัญญีพยาบาลกับการปฏิบัติงาน
••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••
การใช้ยาสลบ เป็นวิธีการที่ค่อนข้างปลอดภัย แต่ถึงอย่างไรก็ตาม โอกาสในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายนั้น ส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของเราเองด้วย เพราะฉะนั้น หมั่นสังเกตตัวเอง และปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างตรงไปตรงมา เพียงเท่านี้ เราก็จะผ่านมันมาได้อย่างปลอดภัยแล้วค่ะ
เรียบเรียงบทความโดย โดดเด่นดอทคอม