ที่มา: voicetv

งานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน Journal of Communication ชี้พบผู้ใช้ทวิตเตอร์บนสมาร์ทโฟน มองโลกในแง่ร้ายและมักหลงตัวเอง

01

งานวิจัยล่าสุดตีพิมพ์ใน Journal of Communication พบว่าผู้ใช้ทวิตเตอร์ในสมาร์ทโฟน มีแนวโน้มเป็นคนที่มองโลกในแง่ร้ายและหลงตัวเอง มากกว่าผู้ใช้ทวิตเตอร์ในคอมพิวเตอร์ ถึง 25 % การศึกษาครั้งนี้ค้นพบโดย ธิรัช เมอร์ธี นักสังคมวิทยาด้านการสื่อสาร ของมหาวิทยาลัยแห่งลอนดอน ซึ่งทดลองใช้ทวิตเตอร์ครั้งแรก ตั้งแต่เริ่มเปิดให้ใช้งานในปี 2009

เมอร์ธีและเพื่อนร่วมทีมวิจัยรวบรวมทวีตกว่า 235 ล้านทวีตในช่วง 6 สัปดาห์ของปี 2013 ครอบคลุมผู้ใช้ทวิตเตอร์ในทวีปอเมริกาเหนือ จากนั้นก็นำทวีตที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์ในเชิงจิตวิทยา และวิเคราะห์การใช้คำในทวีตว่าสะท้อนตัวตนและอารมณ์อย่างไรบ้าง?

พบว่าผู้ใช้ทวิตเตอร์มักใช้คำว่า ฉัน , ของฉัน , ของของฉัน , ของตัวเอง ที่สะท้อนว่าผู้ใช้ชีวิตมักพูดเรื่องของตัวเอง หลงตัวเองและยึดเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง นอกจากนี้ยังพบกลุ่มคำอื่นๆที่สะท้อนอารมณ์แง่ลบมากกว่า เช่น เจ็บปวด หมองเศร้าและโกรธเคือง ทั้งทวีตที่มาจากสมาร์ทโฟนและคอมพิวเตอร์

อย่างไรก็ตามสาเหตุที่ทีมวิจัยพบว่า ผู้ใช้ทวิตเตอร์ในสมาร์ทโฟนจะมีอารมณ์ที่ค่อนข้างดาร์ก มากกว่าถึง 25% เพราะว่า อารมณ์เหล่านี้มักจะเกิดขึ้น ขณะทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน แล้วใช้เครื่องมือสื่อสารในมือเป็นเครื่องมือระบายอารมณ์จริงๆ ณ ขณะนั้น

นอกจากนี้เวลาที่ทวีตก็มีผลต่ออารมณ์ด้วย เช่น เช้าวันทำงานและเวลาหลังเลิกงาน มักจะพบทวีตที่หงุดหงิด มากกว่า เช้าในวันพักผ่อน

เรื่องน่าสนใจ