เกริ่นนำโดย โดดเด่นดอทคอม
หลังจากมีรายงานศึกษาวิจัยในปี 1997 จนทำให้เกิดกระแสลดการบริโภคไขมันลง แต่ปัจจุบันได้มีนักวิจัยรือรายงานดังกล่าวขึ้นมาอีกครั้ง เนื่องจากเห็นว่ารายงานเรื่องการบริโภคไขมันครั้งนั้นไม่ได้แสดงหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสม ขณะที่ นักโภชนาการเตือนว่าอย่าเพิ่งด่วนสรุปนัยของผลการศึกษาชิ้นใหม่นี้มากนักในตอนนี้ จึงทำให้เรื่องความเชื่อเรื่องอันตรายจากการบริโภคไขมันจึงมีข้อกังขาเกิดขึ้น
ทีมนักวิทยาศาสตร์ด้านโภชนาการจากสกอตแลนด์และสหรัฐอเมริกา ร่วมกันสืบค้นรายงานการศึกษาวิจัยเมื่อปี 1977 ซึ่งนำไปสู่การออกคำแนะนำให้ประชาชนทั้งในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ลดการบริโภคไขมันลง …เมื่อตรวจวิเคราะห์รายงานชิ้นดังกล่าวแล้วพบว่า ผลการศึกษาวิจัยในรายงานชิ้นดังกล่าวไม่ได้แสดงหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสมไว้แต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม มีคำแนะนำเป็นแนวทางออกมาเมื่อปี 1983 ที่ระบุเอาไว้ว่า ประชาชนสามารถลดการเกิดโรคหลอดเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงหัวใจลงได้ด้วยการจำกัดการบริโภคไขมันลง โดยคำแนะนำดังกล่าวระบุว่า ควรลดการบริโภคไขมันรวมทุกชนิดลงให้เหลือเพียง 30% ของปริมาณพลังงานที่บริโภคเข้าไปทั้งหมด และให้ลดการบริโภคไขมันอิ่มตัวลงเหลือเพียง 10% ของพลังงานที่บริโภคทั้งหมด คำแนะนำดังกล่าวมีผลกระทบต่อพลเมืองสหรัฐอเมริกา 220 ล้านคน และพลเมืองของสหราชอาณาจักอีก 56 ล้านคน ก่อนที่จะกลายเป็นแนวปฏิบัติที่อ้างอิงถึงกันมาโดยตลอดในหลายๆ ประเทศทั่วโลก
งานวิจัยชิ้นใหม่ กลับพบว่า การศึกษาวิจัยชิ้นเดิมที่เป็นที่มาของคำเตือนดังกล่าวนั้น ไม่ได้รับการสนับสนุนจากผลการทดลองเพื่อพิสูจน์สมมุติฐานดังกล่าว เพราะจากการทดลอง ไม่ปรากฏความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในความควบคุม (คือให้ลดการบริโภคไขมันลงในระดับที่เหมาะสม) กับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้อยู่ในการควบคุม (ซึ่งบริโภคไขมันตามปกติไม่จำกัดปริมาณ)
โซ ฮาร์โคมบ์ หนึ่งในทีมวิจัยใหม่ที่เป็นผู้เขียนรายงานผลวิจัยใหม่นี้ กล่าวว่า ผลจากการทดลองไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างว่าการบริโภคไขมันโดยไม่จำกัด นั้นนำไปสู่ภาวะการเสียชีวิตสูงกว่าแต่อย่างใด ผลการทดลองปรากฏออกมาว่า ทั้งกลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในความควบคุมและไม่ได้ควบคุม มีสัดส่วนการเสียชีวิตเท่าๆ กัน คือ กลุ่มละ 370 คน ทั้งยังไม่ปรากฏความแตกต่างในเชิงสถิติของการป่วยเป็นโรคหัวใจในกลุ่ม ตัวอย่างทั้งสองกลุ่มอีกด้วย
นอกจากนี้ เมื่อต้องลดการบริโภคไขมันลง คนเราก็หันไปเพิ่มการบริโภคคาร์โบไฮเดรตเป็นการทดแทน ผลลัพธ์จากการบริโภคคาร์โบไฮเดรตมากขึ้นนี้มีอะไรบ้างยังไม่มีผลการศึกษาชี้ ชัด แต่ฮาร์โคมบ์ตั้งข้อสังเกตว่า หลังจากมีการเผยแพร่คำแนะนำเรื่องจำกัดการบริโภคไขมันลงเมื่อ 30 ปีก่อน อัตราการเกิดภาวะโรคอ้วน และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ก็เพิ่มขึ้นอย่างน่าสนใจในช่วงเวลาดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ดร.อลิสัน เทดสโตน หัวหน้านักโภชนาการประจำสำนักงานสาธารณสุขสหราชอาณาจักร เตือนว่าอย่าเพิ่งด่วนสรุปนัยของผลการศึกษาชิ้นใหม่นี้มากนักในตอนนี้
นักโภชนาการรายนี้ชี้ว่า ผลศึกษาวิจัยใหม่ไม่ได้วิพากษ์วิจารณ์ว่าคำแนะนำเรื่องการบริโภคไขมันผิดพลาด เพียงแต่ชี้ว่าการออกคำแนะนำดังกล่าวเมื่อ 30 ปีก่อนเป็นการด่วนสรุปมากเกินไปในเวลานั้น แต่ตอนนี้มีหลักฐานบ่งชี้มากมายไปในทิศทางเดียวกันนั้น
เทดสโตนชี้ ว่า เมื่อปี 1991 คณะกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติทางวิทยาศาสตร์ของนโยบายด้านอาหาร ก็ให้คำแนะนำที่เป็นการยืนบันว่าการบริโภคไขมันอิ่มตัวมากเกินไปทำให้ระดับ คอเรสเตอรอลสูงขึ้นได้ ซึ่งเท่ากับเป็นการเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจให้มากขึ้นนั่นเอง