ที่มา: khaosod

บีบีซี รายงานว่า คณะนักวิจัยนานาชาติค้นพบดาวแปลกปลอมดวงหนึ่งโคจรเข้ามาในระบบสุริยจักรวาล เมื่อ 70,000 ปีก่อน เป็นการเข้ามาใกล้ระบบสุริยจักรวาลในระยะห่าง 0.8 ล้านปีแสง ใกล้มากกว่ากาแล็กซี่ Proxima Centauri ที่เป็นเพื่อนบ้านกันในระยะห่าง 4.2 ล้านปีแสง ถึง 5 เท่า

07

ผลการศึกษาดังกล่าวตีพิมพ์ในวารสารดาราศาสตร์ Astrophysical Journal Letters ระบุว่า ดาวดังกล่าวเป็นดาวแคระสีแดง มีชื่อว่า “ดาวโชลซ์” เดินทางผ่านภูมิภาคที่เรียกว่า Oort Cloud เข้ามาในระบบสุริยจักรวาล หรือ โซลาร์ ซิสเต็ม และไม่ได้มาดวงเดียวยังมีวัตถุขนาดเล็กสีน้ำตาล เดินทางมาด้วยกัน

เอริก มามาเจก นักดาราศาสตร์ ประจำมหาวิทยาลัยร็อกเชสเตอร์ ในนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ที่ร่วมการศึกษาชิ้นนี้ กล่าวว่า ทีมงานมั่นใจร้อยละ 98 ว่าดาวดวงนี้ต้องผ่านบริเวณที่เรียกว่า อูร์ต คลาวด์ ซึ่งเป็นชายขอบจักรวาล ในบริเวณดังกล่าวนั้นเต็มไปด้วยดาวหาง ดาวเคราะห์น้อยหลายล้านล้านดวง ในจังหวะที่วงโคจรถูกรบกวน จึงทำให้ดาวเคราะห์น้อยมีแรงเหวี่ยงกระเด็นออกมา

ปัจจุบันดาวโชลซ์อยู่ห่างออกไป 20 ปีแสง ค่อนข้างใกล้ระบบสุริยจักรวาล มีแนวโน้มทั้งที่จะโคจรออกห่างไกลไปจากโลก หรือทั้งที่อาจจะเข้ามาชนในระบบสุริยจักรวาลก็เป็นได้

ป้ายกำกับ:

เรื่องน่าสนใจ