ผ่าตัดฝังรากฟันเทียม วิวัฒนาการเพื่อทดแทนฟันที่หายไป ซึ่งตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน การบูรณะช่องปากให้แก่ผู้ป่วยไร้ฟัน มักจะใส่ฟันปลอมทั้งปากแบบธรรมดา (Conventional Complete Denture) แต่ทว่า ผู้ป่วยบางรายเกิดปัญหาในการปรับตัวให้เคยชินกับฟันปลอมทั้งปากแบบธรรมดา บางส่วนก็ประสบปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพของเนื้อเยื่อซึ่งรองรับฟันปลอมแบบถอดได้นี้
อีกทั้งการศึกษาและพัฒนาความรู้ทางด้านทันตกรรมรากฟันเทียม มีความก้าวหน้ามากขึ้น ทําให้การนํารากฟันเทียมมาใช้เพื่อใส่สะพานฟันปลอมชนิดติดแน่นให้แก่ผู้ป่วยไร้ฟัน มีความปลอดภัย และประสบความสําเร็จอย่างสูง จึงมีการใช้วิธีผ่าตัดฝังรากฟันเทียมกันอย่างแพร่หลาย
👨⚕️ การทําสะพานฟันปลอมคร่อมทับรากฟันเทียม ต้องมีการฝังรากฟันเทียม 6 ตัวในขากรรไกรล่าง ที่ด้านหน้าของรูเปิดเส้นประสาทเมนทัล หรือต้องฝังรากฟันเทียมจํานวน 6-8 ตัวในขากรรไกร บนที่ตําแหน่งระหว่างผนังด้านหน้าของโพรงอากาศแมกซิลา ภายหลังจากการฝังรากฟันเทียมตามตําแหน่งดังกล่าวแล้ว จะต้องเย็บแผลเพื่อปิดรากฟันเทียมเอาไว้ในกระดูก รอจนกระทั่งแผลหายดี และกระดูกรอบๆ รากฟันเทียมเข้ามาประชิดยึดติดกับรากฟันเทียม ในระหว่างนั้นจะต้องระวังไม่ให้มีแรงบดเคี้ยวกระทําบนรากฟันเทียม จนกระทั่งถึงเวลาที่รากฟันเทียมยึดติดแน่นกับรากฟันเทียมได้อย่างสมบูรณ์ดีแล้ว
👨⚕️ เราจะต้องผ่านการผ่าตัดสองครั้ง ได้แก่การผ่าตัดครั้งแรก เพื่อฝังรากฟันเทียมในกระดูก และการผ่าตัดครั้งที่สอง เพื่อเชื่อมต่อส่วนหลักยึดสําหรับฟันปลอม (Abutment) หลังจากการยึดติดของกระดูก และรากฟันเทียมเกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ดีแล้ว ซึ่งวัสดุที่เหมาะสําหรับทํารากฟันเทียม ได้แก่ไททาเนียมบริสุทธิ์ เพราะจะมีการตอบสนองของเนื้อเยื่อได้เป็นอย่างดี โดยไททาเนียมจะกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์กระดูกรอบรากฟันเทียม จนสามารถสร้างกระดูกเข้ามาประชิดผิวรากฟันเทียมได้
👨⚕️ การผ่าตัดรากฟันเทียม ได้รับการยอมรับกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งตัวบ่งชี้ถึงการยึดติดของรากฟันเทียมกับกระดูกได้อย่างสมบูรณ์ ก็คือปริมาณการยึดติดของกระดูกรอบๆ รากฟันเทียม และความสูงของกระดูกสันเหงือก (Marginal Bone Height) ซึ่งสามารถสังเกต ปริมาณการยึดติดของกระดูกได้จากภาพถ่ายรังสี โดยภาพถ่ายรังสี จะแสดงให้เห็นถึงการเจริญของกระดูก ที่เข้าประชิดพื้นผิวของรากฟันเทียม ภาพถ่ายรังสีนี้ ยังแสดงถึงลักษณะและความหนาแน่นของเส้นใยกระดูกรอบรากฟันเทียมทางด้านความสูงของกระดูกสันเหงือก ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการกระจายของความเค้นบริเวณกระดูกสันเหงือก (Marginal Stress Distribution) และความสูงของกระดูกสันเหงือก ยังมีความสัมพันธ์กับความแข็งแรงของเนื้อเยื่อที่ปกคลุมอยู่โดยรอบ (Marginal Soft Tissue)
👨⚕️ ข้อดีของการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม
👨⚕️ ปัญหาที่พบบ่อยจากการรักษาด้วยรากเทียม
👨⚕️ ปัญหาเหล่านี้ เกิดจากการที่รากฟันเทียมได้รับแรงเค้นบดเคี้ยวมากเกินไป ดังนั้น จึงควรมีแผนการรักษาที่ดี เพื่อลดแรงเค้นที่กระทําต่อฟันปลอม รากฟันเทียม และกระดูก ซึ่งทําได้โดยเพิ่มพื้นผิวสัมผัสระหว่างกระดูกและรากฟันเทียม ซึ่งสามารถทําได้สองกรณี คือการเพิ่มจํานวนรากฟันเทียม เท่ากับเป็นการลดจํานวนซี่ฟันปลอมที่ไม่มีรากฟันเทียมรองรับ และช่วยลดความเครียดที่เกิดขึ้นบนชิ้นฟันปลอม และยังช่วยเพิ่มการกระจายแรงบดเคี้ยวไปสู่กระดูกล้อมรอบได้มากขึ้น กรณีที่สอง เพิ่มขนาดและรูปร่างของรากฟันเทียม ในกรณีที่ไม่สามารถเพิ่มจํานวนรากฟันเทียมได้ สามารถช่วยเพิ่มการกระจายแรงไปสู่กระดูกล้อมรอบได้เช่นกัน
…………………………………………………………
และสิ่งที่สำคัญ คือการทำทันตกรรมรากเทียม มีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงมาก เนื่องจากต้องนําเข้าเทคโนโลยีทั้งหมดจากต่างประเทศ ตั้งแต่รากเทียม รวมถึงเครื่องมือที่ใช้ในการผ่าตัดฝังรากเทียม ตลอดจนทันตแพทย์ที่ทํางานด้านนี้ ก็จําเป็นที่จะต้องเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญ หรือผ่านการฝึกอบรมจากต่างประเทศ เพื่อให้การฝังรากเทียม สามารถทํางานได้ดี มีความปลอดภัยสูง เพราะฉะนั้น หมั่นดูและรักษาความสะอาดในช่องปากให้ดี เข้าพบทันตแพทย์ทุกๆ 6 เดือน เพื่อดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีอยู่เสมอนะคะ
เนื้อหาโดย Dodeden.com